ภูเขาไฟในกาลาปากอสปะทุครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์หวั่น ‘สัตว์’ บนเกาะสูญพันธุ์

5 มี.ค. 2567 - 04:33

  • ภูเขาไฟลากุมเบรเป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่จำนวนมากในกาลาปากอส ซึ่งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่เอกวาดอร์เกือบ 1,000 กม. (600 ไมล์)

  • กระทรวงสิ่งแวดล้อมยืนยันว่า “ไม่มีอันตรายเกิดขึ้นทันที เนื่องจากเกาะแห่งนี้ซึ่งเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟนี้ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่”

fear-for-endangered-species-as-volcano-on-tiny-uninhabited-island-erupts-SPACEBAR-Hero.jpg

ภูเขาไฟลากุมเบร (La Cumbre volcano) หรือภูเขาไฟรูปโล่บนเกาะเฟอร์นันดินาในหมู่เกาะกาลาปากอสซึ่งเป็นพื้นที่ที่ ‘ไม่มีคนอาศัยอยู่’ ได้เริ่มปะทุขึ้นจนเกิดเป็นประกายสีแดงส้มส่องสว่างไปทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืน ขณะที่ลาวาไหลลงสู่ทะเลเมื่อประมาณเที่ยงคืนวันเสาร์ (2 มี.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น 

รัฐบาลเอกวาดอร์รายงานเมื่อวันอาทิตย์ (3 มี.ค.) ว่า “ภูเขาไฟลากุมเบรของเอกวาดอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอสเริ่มปะทุแล้ว” ขณะที่กระทรวงสิ่งแวดล้อมยืนยันว่า “ไม่มีอันตรายเกิดขึ้นทันที เนื่องจากเกาะแห่งนี้ซึ่งเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟนี้ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่” 

“การปล่อยก๊าซและความผิดปกติทางความร้อนถูกตรวจพบผ่านระบบดาวเทียม” กระทรวงระบุในแถลงการณ์ พร้อมเสริมว่าพวกเขาจะยังคงจับตาดูภูเขาไฟลูกนี้ต่อไป “การปะทุจะไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไปยังเกาะอื่นๆ ”

ลากุมเบรเป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่จำนวนมากในกาลาปากอส ซึ่งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่เอกวาดอร์เกือบ 1,000 กม. (600 ไมล์) 

เจ้าหน้าที่สถาบันธรณีฟิสิกส์ของเอกวาดอร์ระบุว่า “ภูเขาไฟความสูง 1,476 เมตร (4,842 ฟุต) แห่งนี้ปะทุครั้งล่าสุดเมื่อปี 2020 หลังจากปะทุมาหลายปี การปะทุครั้งนี้น่าจะใหญ่กว่าที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้นับตั้งแต่ปี 2017”

แม้ว่าการปะทุจะไม่เกิดความเสี่ยงต่อมนุษย์ แต่เกาะแห่งนี้ก็เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด รวมถึงอีกัวน่า นกเพนกวิน และนกกาน้ำกาลาปากอส (flightless cormorants) โดยในปี 2019 นักวิทยาศาสตร์ก็พบเต่ายักษ์บนเกาะแห่งนี้ซึ่งไม่มีใครพบเห็นมานานกว่าศตวรรษและเกรงว่าจะสูญพันธุ์ด้วย

Photo by Handout / Galapagos Ecological Airport / AFP

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์