ในที่สุด! สหรัฐฯ ค้นพบวิธีแก้เจ็ทแล็ก เริ่มง่ายๆ ด้วยการกิน!

6 ก.ย. 2566 - 06:24

  • เป็นที่ทราบกันดีว่า สายเดินทางมักจะมีอาการเจ็ทแล็กอยู่เป็นประจำ แต่ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ หาวิธีแก้ได้แล้ว! ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับว่าเรากินอะไร และกินเมื่อไหร่

finally-have-solution-for-jet-lag-SPACEBAR-Thumbnail
เป็นที่ทราบกันดีว่า สายเดินทางมักจะมีอาการเจ็ทแล็กอยู่เป็นประจำ แต่ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ หาวิธีแก้ได้แล้ว! ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับว่าเรากินอะไร และกินเมื่อไหร่  

ว่ากันว่า การกินมื้อใหญ่มื้อเดียวในตอนเช้าเป็นเวลา 3 วันหลังจากเครื่องลงอาจทำให้ไม่มีอาการเจ็ทแล็ก และไม่ปวดหัวได้ แม้ว่ายิ่งอายุเยอะขึ้นเท่าไหร่โอกาสหายจากเจ็ทแล็กจะช้าลงก็ตาม ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องกันว่าการเดินเล่นท่ามกลางแสงแดดเป็นเคล็ดลับที่ดีอีกประการหนึ่ง ดังนั้นเมื่อรวมคำแนะนำใหม่นี้ จะช่วยให้นักเดินทางมีแนวทางที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูร่างกาย 

อีถง หวง (Yitong Huang) ผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นกล่าวว่า การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ขึ้นในตอนเช้าตรู่ของเขตเวลาใหม่สามารถช่วยเอาชนะอาการเจ็ตแล็กได้ การปรับเปลี่ยนตารางมื้ออาหารอย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้เราต้องเปลี่ยนเวลากินอาหาร อาจนำไปสู่ความไม่สอดคล้องกับนาฬิการ่างกายได้  

เจ็ทแล็กเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของนาฬิกามนุษย์ แต่การวิจัยใหม่แสดงให้เห็นว่านาฬิกามนุษย์นี้มีอยู่ในเกือบทุกเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกาย และมีผลต่างกันออกไปในแต่ละอวัยวะ  เช่น นาฬิกาสมองคือกลุ่มเซลล์ประสาทประมาณ 20,000 เซลล์ ที่ก่อตัวเป็นโครงสร้างชื่อว่า นิวเคลียสซูปราเชียสมาติก (SCN) ซึ่งมีผลโดยตรงกับดวงตา  

อย่างไรก็ตามนาฬิกาสมองสามารถรีเซ็ตได้โดยการสัมผัสแสงแดด นักเดินทางที่มีอาการเจ็ทแล็กนี้ควรออกไปเดินเล่นรับแดดแทนการนอนอุดอู้อยู่ในห้องพัก ซึ่งแสงแดดส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่าเมลาโทนิน (ผลิตโดยต่อมไพเนียลในสมอง) ซึ่งช่วยควบคุมการนอนหลับ เมื่อเราสัมผัสกับแสงแดด การผลิตเมลาโทนินจะถูกระงับ ซึ่งช่วยให้เราตื่นตัวในระหว่างวัน  

ขณะที่อวัยวะส่วนปลาย เช่น กระเพาะอาหารและตับ มีนาฬิกาแยกจากกันซึ่งจะแสดงผลต่างกันออกไปจากการทานอาหารอะไร และตอนไหน ทีมวิจัยกล่าวว่าอาการเจ็ทแล็กอาจเกิดขึ้นได้เมื่อนาฬิกาเหล่านี้เคลื่อนไปไม่ประสานกัน 

“สัญญาณที่ขัดแย้งกัน เช่น อากาศอบอุ่นในช่วงเวลาสั้นๆ ของแสง หรือแม้แต่การรับประทานอาหารในช่วงเวลาที่เป็นตอนกลางคืนซึ่งเป็นช่วงที่สมองกำลังจะได้พัก สามารถสร้างความสับสนให้กับนาฬิกาภายในและทำให้ไม่ประสานกันได้” หวงกล่าว 

สำหรับการศึกษานี้ ผู้เขียนใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างนาฬิกาภายในหลายส่วน ที่เชื่อมโยงกับอาการเจ็ทแล็ก และผลกระทบจากความชราเพิ่มเติม โดยการสร้างแบบจำลองที่ประกอบด้วย 'ออสซิลเลเตอร์' 2 ตัวซ้อนกัน โดยอันหนึ่งเป็นตัวแทนของนาฬิกาที่ควบคุมโดยแสงแดด และอีกอันคือนาฬิกาที่ควบคุมโดยอาหาร ซึ่งผลลัพธ์ชี้ชัดว่าผู้สูงอายุที่เดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานานอาจต้องใช้เวลาหลายวันในการฟื้นตัวจากอาการเจ็ทแล็ก 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์