รายงานล่าสุดจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิชิพบว่า ปลาที่อาศัยอยู่ใกล้กับทางระบายน้ำของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวมีระดับของสารกัมมันตรังสีซีเซียมสูงกว่าขีดจำกัดความปลอดภัยของญี่ปุ่นถึง 180 เท่าเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
‘ปลาร็อคฟิชสีดำ’ (black rockfish) ที่จับได้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมาโดยเจ้าหน้าที่โรงงานบริษัท Tokyo Electric Power Company (Tepco) ซึ่งพบว่ามีซีเซียม-137 ประมาณ 18,000 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดตามกฎหมายที่ 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม
ก่อนหน้านี้ที่มีประกาศแผนการของญี่ปุ่นออกมาที่จะปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจำนวน 1.3 ล้านตันจากโรงงานฟุกุชิมะก็ได้จุดประกายความกังวลในภูมิภาคขึ้น แม้จะได้รับการอนุมัติจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ของสหประชาชาติก็ตาม ส่งผลให้เพื่อนบ้าน อาทิ ฮ่องกง ขู่ห้ามนำเข้าอาหารจาก 10 จังหวัดของญี่ปุ่นหากว่ามีการปล่อยน้ำดังกล่าวตามแผนที่วางไว้
ปลาจากฟุกุชิมะ (ยัง) ปลอดภัยอยู่ไหม?
เมื่อถามถึงข้อกังวลเกี่ยวกับการปล่อยน้ำ เจ้าหน้าที่ Tepco ก็ย้ำว่า “บริษัทมั่นใจว่าผลกระทบต่อสาธารณะและสิ่งแวดล้อมจะน้อยมาก”
“เนื่องจากน้ำปนเปื้อนไหลเข้าสู่ท่าเรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุเมื่อหลายปีก่อน Tepco จึงนำปลาออกจากท่าเรือเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปี 2012 โดยใช้แหที่ติดตั้งไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหนีออกจากท่าเรือ” เจ้าหน้าที่ Tepco กล่าว
ทั้งนี้ ปลาทั้งหมด 44 ตัวที่มีระดับซีเซียมสูงกว่า 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัมนั้นถูกพบในท่าเรือโรงงานฟุกุชิมะระหว่างเดือนพฤษภาคม 2022 ถึงพฤษภาคม 2023 ซึ่งทาง Tepco ยืนยันว่า 90% ของปลาที่จับได้นั้นอยู่ในบริเวณใกล้กับเขื่อนกันคลื่นด้านใน
แต่ปลาชนิดอื่นที่พบว่ามีกัมมันตรังสีสูงเป็นพิเศษ ได้แก่ ปลาไหลที่มีเบคเคอเรล 1,700 ตัวต่อกิโลกรัมซึ่งจับได้ในเดือนมิถุนายน 2022 และปลาเทราต์หินที่มีเบคเคอเรล 1,200 ตัวในเดือนเมษายน 2023
“อย่างไรก็ตาม เมื่อปลาร็อคฟิชสีดำที่มีความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีเกินมาตรฐานควบคุมถูกจับได้นอกชายฝั่งของนครโซมะ (ประมาณ 50 กม. ทางเหนือของโรงงาน) ในเดือนมกราคม 2022 และเราก็เริ่มสุ่มตัวอย่างอีกครั้งในพื้นที่นี้ร่วมกับการติดตั้งอวนเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาออกจากท่าเรือ” เจ้าหน้าที่ Tepco กล่าวเสริม
นอกจากนี้ การขนส่งปลาร็อคฟิชสีดำที่จับได้นอกจังหวัดฟุกุชิมะได้ถูกระงับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 หลังจากตรวจพบการแผ่รังสีและยังไม่ได้ดำเนินการต่อ ขณะเดียวกันระดับกัมมันตรังสีสูงที่พบในตัวอย่างทดสอบก็ทำให้ทางการเชื่อว่ามันหลุดออกจากท่าเรือของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากอาหารทะเลทุกชนิดจากพื้นที่รอบโรงงานได้รับการตรวจวัดกัมมันตรังสีเป็นประจำ
ในเดือนหน้า Tepco มีกำหนดจะเริ่มปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกว่า 1.3 ล้านตันจากโรงงานฟุกุชิมะซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาหลายทศวรรษจึงจะเสร็จสมบูรณ์ การดำเนินการดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศของสหประชาชาติ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากจีนและฝ่ายค้านในเกาหลีใต้ ทั้งยังทำให้เกิดความไม่สบายใจในหมู่เกาะแปซิฟิกบางแห่งอีกด้วย
‘ปลาร็อคฟิชสีดำ’ (black rockfish) ที่จับได้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมาโดยเจ้าหน้าที่โรงงานบริษัท Tokyo Electric Power Company (Tepco) ซึ่งพบว่ามีซีเซียม-137 ประมาณ 18,000 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดตามกฎหมายที่ 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม
ก่อนหน้านี้ที่มีประกาศแผนการของญี่ปุ่นออกมาที่จะปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจำนวน 1.3 ล้านตันจากโรงงานฟุกุชิมะก็ได้จุดประกายความกังวลในภูมิภาคขึ้น แม้จะได้รับการอนุมัติจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ของสหประชาชาติก็ตาม ส่งผลให้เพื่อนบ้าน อาทิ ฮ่องกง ขู่ห้ามนำเข้าอาหารจาก 10 จังหวัดของญี่ปุ่นหากว่ามีการปล่อยน้ำดังกล่าวตามแผนที่วางไว้
ปลาจากฟุกุชิมะ (ยัง) ปลอดภัยอยู่ไหม?
เมื่อถามถึงข้อกังวลเกี่ยวกับการปล่อยน้ำ เจ้าหน้าที่ Tepco ก็ย้ำว่า “บริษัทมั่นใจว่าผลกระทบต่อสาธารณะและสิ่งแวดล้อมจะน้อยมาก”
“เนื่องจากน้ำปนเปื้อนไหลเข้าสู่ท่าเรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุเมื่อหลายปีก่อน Tepco จึงนำปลาออกจากท่าเรือเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปี 2012 โดยใช้แหที่ติดตั้งไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหนีออกจากท่าเรือ” เจ้าหน้าที่ Tepco กล่าว
ทั้งนี้ ปลาทั้งหมด 44 ตัวที่มีระดับซีเซียมสูงกว่า 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัมนั้นถูกพบในท่าเรือโรงงานฟุกุชิมะระหว่างเดือนพฤษภาคม 2022 ถึงพฤษภาคม 2023 ซึ่งทาง Tepco ยืนยันว่า 90% ของปลาที่จับได้นั้นอยู่ในบริเวณใกล้กับเขื่อนกันคลื่นด้านใน
แต่ปลาชนิดอื่นที่พบว่ามีกัมมันตรังสีสูงเป็นพิเศษ ได้แก่ ปลาไหลที่มีเบคเคอเรล 1,700 ตัวต่อกิโลกรัมซึ่งจับได้ในเดือนมิถุนายน 2022 และปลาเทราต์หินที่มีเบคเคอเรล 1,200 ตัวในเดือนเมษายน 2023
“อย่างไรก็ตาม เมื่อปลาร็อคฟิชสีดำที่มีความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีเกินมาตรฐานควบคุมถูกจับได้นอกชายฝั่งของนครโซมะ (ประมาณ 50 กม. ทางเหนือของโรงงาน) ในเดือนมกราคม 2022 และเราก็เริ่มสุ่มตัวอย่างอีกครั้งในพื้นที่นี้ร่วมกับการติดตั้งอวนเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาออกจากท่าเรือ” เจ้าหน้าที่ Tepco กล่าวเสริม
นอกจากนี้ การขนส่งปลาร็อคฟิชสีดำที่จับได้นอกจังหวัดฟุกุชิมะได้ถูกระงับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 หลังจากตรวจพบการแผ่รังสีและยังไม่ได้ดำเนินการต่อ ขณะเดียวกันระดับกัมมันตรังสีสูงที่พบในตัวอย่างทดสอบก็ทำให้ทางการเชื่อว่ามันหลุดออกจากท่าเรือของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากอาหารทะเลทุกชนิดจากพื้นที่รอบโรงงานได้รับการตรวจวัดกัมมันตรังสีเป็นประจำ
ในเดือนหน้า Tepco มีกำหนดจะเริ่มปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกว่า 1.3 ล้านตันจากโรงงานฟุกุชิมะซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาหลายทศวรรษจึงจะเสร็จสมบูรณ์ การดำเนินการดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศของสหประชาชาติ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากจีนและฝ่ายค้านในเกาหลีใต้ ทั้งยังทำให้เกิดความไม่สบายใจในหมู่เกาะแปซิฟิกบางแห่งอีกด้วย