เสาร์ที่ 6 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ จะเป็นอีกวันหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ในพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ใจกลางกรุงลอนดอน ซึ่งหากเทียบกับพระราชพิธีราชาภิเษกก่อนหน้าในรัชสมัยสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 พระราชพิธีของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 จะใช้ระยะเวลาสั้นและงบประมาณที่น้อยกว่าตามบริบทของรัฐและสังคมสมัยใหม่
ย้อนไปช่วงวันที่ 10 กันยายน 2022 เวลา 10.00 น มีพิธีการสำคัญหนึ่งคือ ประกาศการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (Proclamation of accession of Charles III) ในวันที่มีประกาศการสืบราชย์ดังกล่าว ธงยูเนียนแจ็ค หรือธงชาติอังกฤษที่ถูกลดครึ่งเสาทั่วประเทศเพื่อไว้อาลัยต่อการสวรรคต จะถูกกลับมาชักขึ้นสู่ยอดเสาอีกครั้งพร้อมกับการบรรเลงเพลงชาติเวอร์ชั่นใหม่ God save the King แทนที่เพลง God save the Queen ที่ถูกใช้มาตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของควีนเมื่อปี 1952
นับตั้งแต่สิ้นรัชสมัยสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อ 8 กันยายน 2022 สหราชอาณาจักรมีการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานหลายประการ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การเปลี่ยนธนบัตรที่มีพระฉายาลักษณ์ของกษัตริย์องค์ใหม่ ตลอนจนการเปลี่ยนเพลงชาติจาก God Save the Queen ที่ใช้มาตลอดรัชการควีนเอลิซาเบธที่ 2 มาสู่ God Save the King ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกใช้ในรัชสมัยกษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดาของควีน หรือพระอัยกา (ปู่) ของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3
สำหรับเพลงชาติ God Save the King นับเป็นเพลงชาติที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก (เพลงชาติเก่าแก่ที่สุดในโลกคือ Wilhelmus เพลงชาติเนเธอร์แลนด์) โดยเวอร์ชั่นที่ร้องในปัจจุบันนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1745 หรือตรงกับพุทธศักราช 2288 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอยุธยา
นอกจากเป็นหนึ่งในเพลงชาติที่เก่าแก่ของโลกแล้ว ทำนองเพลง God Save The King ยังคงมีอิทธิพลแพร่หลายในการฐานะเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีให้กับหลายชาติทั้งในยุโรป รวมถึงครั้งหนึ่งประเทศไทยก็เคยใช้ทำนองเพลงดังกล่าวเป็นเพลงชาติด้วย
เนื่องในโอกาสพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร สเปซบาร์ขอพาย้อนรอยเบื้องหลังประวัติศาสตร์และบทบาทของ ‘God Save the King’ เพลงสรรเสริญและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร
ย้อนไปช่วงวันที่ 10 กันยายน 2022 เวลา 10.00 น มีพิธีการสำคัญหนึ่งคือ ประกาศการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (Proclamation of accession of Charles III) ในวันที่มีประกาศการสืบราชย์ดังกล่าว ธงยูเนียนแจ็ค หรือธงชาติอังกฤษที่ถูกลดครึ่งเสาทั่วประเทศเพื่อไว้อาลัยต่อการสวรรคต จะถูกกลับมาชักขึ้นสู่ยอดเสาอีกครั้งพร้อมกับการบรรเลงเพลงชาติเวอร์ชั่นใหม่ God save the King แทนที่เพลง God save the Queen ที่ถูกใช้มาตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของควีนเมื่อปี 1952
นับตั้งแต่สิ้นรัชสมัยสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อ 8 กันยายน 2022 สหราชอาณาจักรมีการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานหลายประการ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การเปลี่ยนธนบัตรที่มีพระฉายาลักษณ์ของกษัตริย์องค์ใหม่ ตลอนจนการเปลี่ยนเพลงชาติจาก God Save the Queen ที่ใช้มาตลอดรัชการควีนเอลิซาเบธที่ 2 มาสู่ God Save the King ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกใช้ในรัชสมัยกษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดาของควีน หรือพระอัยกา (ปู่) ของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3
สำหรับเพลงชาติ God Save the King นับเป็นเพลงชาติที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก (เพลงชาติเก่าแก่ที่สุดในโลกคือ Wilhelmus เพลงชาติเนเธอร์แลนด์) โดยเวอร์ชั่นที่ร้องในปัจจุบันนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1745 หรือตรงกับพุทธศักราช 2288 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอยุธยา
นอกจากเป็นหนึ่งในเพลงชาติที่เก่าแก่ของโลกแล้ว ทำนองเพลง God Save The King ยังคงมีอิทธิพลแพร่หลายในการฐานะเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีให้กับหลายชาติทั้งในยุโรป รวมถึงครั้งหนึ่งประเทศไทยก็เคยใช้ทำนองเพลงดังกล่าวเป็นเพลงชาติด้วย
เนื่องในโอกาสพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร สเปซบาร์ขอพาย้อนรอยเบื้องหลังประวัติศาสตร์และบทบาทของ ‘God Save the King’ เพลงสรรเสริญและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร

เพลงชาติไม่ทราบแหล่งที่มา
แม้จะถูกใช้มาจนถึงปัจจุบันโดยมีการเปลี่ยนแปลคำร้องจาก God Save The Queen/King ขึ้นอยู่กับเพศขององค์พระประมุข แต่แท้จริงแล้วปัจจุบันก็ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเนื้อเพลงและทำนองของเพลงนี้มีที่มาจากไหนหรือใครเป็นผู้ประพันธ์อย่างไรก็ตาม มีนักประพันธ์หลายต่อหลายคนที่พยายามอ้างว่าเป็นผู้แต่งทำนองเพลงดังกล่าวขึ้นมา โดยเฉพาะนักประพันธ์ชาวอังกฤษในยุคกลางตั้งแต่ John Bull, Thomas Ravenscroft, Henry Carey และ Henry Purcell ซึ่งพบว่าหลายเพลงที่ศิลปินข้างต้นประพันธ์นั้นมีลักษณะทำนองคล้ายกับทำนองเพลง God Save the King ในปัจจุบัน
ข้อมูลจากสารานุกรมบริแทนิกา ระบุว่า ข้อมูลชัดเจนที่สุดของเพลงชาติ God Save the King/Quenn ปรากฏครั้งแรกเมื่อปี 1745 ในวารสาร Gentleman’s ซึ่งตรงกับข้อมูลในสำนักพระราชวังอังกฤษที่ระบุว่า เพลงนี้ถูกบรรเลงที่สาธารณะครั้งแรกในกรุงลอนดอนของปีดังกล่าว
โดยการบรรเลงครั้งแรกมีขึ้นหลังจากที่เจ้าชายเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สายจาโคไบต์ ซึ่งเป็นคาทอลิกและได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ฝรั่งเศส ทรงพ่ายแพ้ต่อการปราบกองทัพของกษัตริย์จอร์จที่ 2 ที่เป็นโปรแตสแตนท์
หลังทราบข่าวการพ่ายแพ้สงคราม วาทยากรวงดนตรีที่โรงละคร Dury Lane ก็เริ่มประพันธ์ทำนองและทำการบรรเลงเพลงดังกล่าวเพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์จอร์จที่ 2
“God save our gracious King! Long live our noble King! God save the King! Send him/her victorious, Happy and glorious, Long to reign over us, God save the King.
Thy choicest gifts in store On him be pleased to pour, Long may he reign. May he defend our laws, And ever give us cause, To sing with heart and voice, God save the King.”
เหตุการณ์นี้ยังนับเป็นจุดเริ่มต้นของธรรมเนียมการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีในสหราชอาณาจักรก่อนหน้าการแสดงมหรสพต่างๆ ที่ยังส่งผลกระทบในบ้านเราจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงศริสตศตวรรษที่ 17 อังกฤษยังคงเผชิญภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุโรปในฐานะรัฐคาทอลิกที่ได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระสันตะปาปา ทำให้จึงมีการร้องเพลง God Save the King เพื่อปลุกใจในโรงละครและเพื่อตอกย้ำความจงรักภักดีต่อกษัตริย์อังกฤษ
กระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย อิทธิพลของจักรวรรดิอังกฤษแผ่ขยายไปทั่วโลก ส่งผลให้เพลงชาติ God Save the Queen ถูกนำไปใช้ทั่วดินแดนอาณานิคมของเครือจักรภพ ตั้งแต่ทวีปอเมริกา แอฟริกา จนถึง เอเชีย โดยเฉพาะในอินเดียอดีตอาณานิคมสำคัญของสหราชอาณาจักร ที่มีการประเพณีการเปิดเพลงดังกล่าวในโรงภาพยนตร์และโรงละครมหรสพต่างๆ
ธรรมเนียมนี้ยังส่งผลให้ในยุคหลังที่อินเดียได้รับเอกราช ก็ได้ปรับเปลี่ยนการเปิดเพลง God Save the Queen มาเป็นเป็น 'ชนะ คณะ มนะ' หรือเพลงชาติอินเดียในปัจจุบัน กระทั่งปี 2018 ศาลสูงอินเดียมีคำตัดสินว่า การเปิดเพลงชาติก่อนฉายภาพยนตร์นั้นไม่จำเป็น โรงภาพยนตร์จะเปิดหรือไม่เปิดเพลงชาติก็ได้ และผู้ชมก็ไม่จำเป็นต้องยืนแสดงความเคารพเสมอไป เพราะอยู่ในพื้นที่เอกชนที่มีจุดประสงค์การชมภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงไม่ใช่เพื่อปลุกใจแฝงความรักชาติ ทำให้อิทธิพลของการเป็นเพลงชาติจากยุคอาณานิคมในอินเดียยุติไป

‘จอมราชจงเจริญ’
อิทธิพลของเพลง God Save the King ไม่ได้มีอยู่แค่ในเหล่าดินแดนอาณานิคมอังกฤษเท่านั้น แต่ประเทศที่เป็นรัฐเอกราชและไม่เคยถูกปกครองโดยอังกฤษมาก่อนหลายชาติ ต่างก็รับเอาธรรมเนียมเพลง God Save the King มาใช้เป็นเพลงสำคัญของชาติจนถึงปัจจุบันอย่างเช่นในประเทศไทย ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นยุคที่สยามเริ่มสานสัมพันธ์ไมตรีกับชาติมหาอำนาจในยุโรป ทั้งยังตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระราชินินาถวิคตอเรีย สยามในเวลานั้นได้ใช้เพลงจากเครื่องประโคม อาทิ มโหระทึก สังข์ แตรงอน ปี่ไฉน กลองชนะ ในการบรรเพลงเพื่อถวายพระเกียรติตามแบบโบราณราชประเพณี
ช่วงปี 1851 หรือ พ.ศ. 2394 ราชสำนักสยามได้ว่าจ้างครูฝึกสอนทหารชาวอังกฤษสองนายคือ ร้อยเอกน็อกซ์ (Knox) และร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) สองนายทหารบทชาวอังกฤษ เดินทางเข้ามาฝึกทหารในวังหลวงเพื่อให้ดูมีเกียรติและสง่าราศีเหมือนกับทหารตะวันตก ทั้งสองจึงเป็นผู้นำทำนองเพง God Save The Queen มาบรรเลงเพื่อใช้สำหรับการฝึกแถวของทหารกองเกียรติยศ
ต่อมาในรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการประพันธ์เนื้อร้องใหม่เป็นภาษาไทยแต่ยังคงทำนองเดิมโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เพื่อถวายพระเกียรติรัชกาลที่ 5 โดยมีคำร้องว่า “ความศุข สมบัติทั้ง บริวาร เจริญพละปฏิภาณ ผ่องแผ้ว จงยืนพระชนม์นาน นับรอบ ร้อยแฮ พระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์เพี้ยงจันทร์”
และนี่จึงได้กลายเป็นที่มาหมุดหมายเริ่มต้นของพัฒนาการเพลงชาติไทย
ปี 1871 หรือ พ.ศ.2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จเยือนสิงคโปร์และเกาะชวา ขณะที่ทรงประทับอยู่สิงคโปร์ซึ่งเป็นอาณานิคมอังกฤษในเวลานั้น ทหารอังกฤษได้บรรเลงเพลง God Save the Queen ซึ่งเป็นทำนองเดียวกับเพลงสรรเสริญพระบารมีของไทย ในการรับเสด็จรัชกาลที่ 5
ครั้นเมื่อทรงเสด็จถึงเกาะชวา ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมดัตช์ ทหารเนเธอร์แลนด์นายหนึ่งจึงทูลถามว่าเหตุใดสยามจึงใช้ทำนองเพลงชาติอังกฤษ มาเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีกษัตริย์สยาม ทั้งที่สยามไม่ได้เป็นเมืองขึ้นอังกฤษ
เมื่อได้ยินเช่นนั้น รัชกาลที่ 5 ก็ทรงรับสั่งให้ยุติการใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ในการบรรเลงเพื่อถวายพระเกียรติทันที เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร จึงรับสั่งให้ใช้ทำนองเพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มาเป็นเพลงบรรเลงเพื่อถวายพระเกียรติไปพลางก่อน โดยให้ครูดนตรีชาวดัตช์ที่รับราชการในกรมมหาดเล็ก เรียบเรียงแนวดนตรีใหม่ตามแบบตะวันตก
แต่ด้วยทำนองเพลงบุหลันลอยเลื่อน เป็นเพลงช้าทำนองไทยเดิม จึงไม่ได้ให้ความรู้สึกปลุกใจหรือถวายพระเกียรติอย่างที่ควร ภายหลังจึงมีการประพันธ์เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับใช้บรรเลงในวาระที่รัชกาลที่ 5 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตามเพลงก็ยังคงทำนองช้าแบบเพลงไทยเดิม ต่อมาได้มีการว่าจ้างให้ ปิออตร์ ชูรอฟสกี นักประพันธ์ชาวรัสเซีย แต่งทำนองเพลงแบบตะวันตกขึ้น ในตอนนั้นเมื่อได้โน็ตเพลงแบบตะวันตกมา ไม่มีนักดนตรีไทยคนไทยอ่านโน้ตเพลงดังกล่าวได้
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงให้นายทหารครูดนตรีชาวดัตช์ที่รับราชการในกรมมหาดเล็ก อ่านโน้ตและบรรเลงเพลงดังกล่าวให้ฟัง กระทั่งกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงประพันธ์เนื้อร้องเข้าไป
ต่อมาเพลงก็มีการปรับคำร้องของเพลงสรรเสริญพระบารมีในรัชกาลที่ 6 โดยเพลงทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีดังกล่าวยังเคยถูกใช้เป็นเพลงชาติไทยระหว่างปี พ.ศ. 2431–2475 จนถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร ที่มีแนวคิดแบบรัฐชาติสมัยใหม่จึงได้มีการใช้เพลงชาติไทยแยกต่างหากจากเพลงถวายพระเกียรติยศ
อิทธิพลของทำนองเพลง God Save the King ยังไม่หมดแค่นั้น เพราะในชาติที่แม้จะไม่ได้เป็นอาณานิคมอังกฤษอย่าง ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ ปัจจุบันก็ยังคงใช้ทำนองเพลงดังกล่าวเป็นเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีของกษัตริย์ในประเทศตัวเอง