‘สลัมกูรยอง’ สลัมกลางย่านหรูกังนัม สิ่งสุดท้ายที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำในเกาหลีใต้

18 พ.ย. 2565 - 10:22

  • หมู่บ้านกูรยองซึ่งเป็น ‘สลัม’ ที่สุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในกรุงโซล เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้

  • สลัมที่อยู่ท่ามกลางเมืองหลวงแสนศิวิไลซ์นี้ เป็นจุดที่เหล่าครีเอเตอร์และนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แม้จะมีชาวบ้านบางส่วนไม่เห็นด้วยก็ตาม

  • ทางการเกาหลีใต้เองก็พยายามหาจุดสมดุลของผู้ที่อาจได้รับผลกระทบในการไล่-ถอนพื้นที่ดังกล่าว

Guryong-Village-shantytown-in-Gangnam-wealth-divide-in-Seoul-SPACEBAR-Main

การค้นพบ ‘สลัม’ กลางย่านมหาเศรษฐีอย่างกังนัมในกรุงโซลนั้น เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสความนิยมทั่วโลกที่มีต่อละครและภาพยนตร์ของเกาหลี ซึ่งมักจะมีองค์ประกอบของการวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคม โดยมองว่าเกาหลีเป็นสังคมที่มีการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้ง ความอยุติธรรม และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย 

เรื่องราวอันมืดมนสะท้อนความเป็นจริงของสังคมเกาหลี ถูกถ่ายทอดผ่านซีรีส์ในแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งชื่อดัง ‘Netflix’  เช่น เรื่อง Squid Game ที่รวมเอาชาวเกาหลีที่ ‘สิ้นหวัง’ 456 คน ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อคว้าโชคจากการเล่นเกมโชว์ที่อาจต้องแลกด้วยชีวิต เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เท่าเทียมและการแข่งขันที่ดุเดือดของสังคมเกาหลีในปัจจุบัน 

นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์เรื่อง ‘Parasite’ ซึ่งไม่เพียงทำให้ภาพยนตร์เกาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แต่ยังเบนความสนใจของสื่อให้หันมามองปัญหาความยากจนและการแบ่งแยกระหว่างชนชั้นในเกาหลีอีกด้วย 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2ZX642jGlPrMaJ7h2lx1sh/3011b611cd2e055d3637a7144b575a1e/Guryong-Village-shantytown-in-Gangnam-wealth-divide-in-Seoul-SPACEBAR-Photo01
Photo: Photo by AFP/ED JONES

เจสัน บาซุลโต นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันวัย 27 ปี เดินทางมายังหมู่บ้านกูรยอง (Guryong) ซึ่งเป็น ‘สลัม’ ที่สุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในกรุงโซล เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยความสงสัยที่ว่า เกาหลีใต้จะยังมีด้านมืดเหมือนเราที่เห็นกันในภาพยนตร์ ‘Parasite’ อยู่หรือเปล่า?  

บาซุลโต ให้ความเห็นในการมาเยือนครั้งนี้ว่า สลัมที่อยู่ท่ามกลางเมืองหลวงแสนศิวิไลซ์นี้ ไม่เพียงแต่จะพบได้ในเกาหลีเท่านั้น เนื่องจากยังมีสลัมแบบนี้ในอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมันสะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น เช่น วิวทิวทัศน์ของหมู่บ้านนี้ที่อยู่ท่ามกลางตึกสูงระฟ้า มันน่าทึ่งมากจริงๆ  

นอกจากนี้ หมู่บ้านดังกล่าวยังเป็นที่สนใจของเหล่าครีเอเตอร์ ที่มุ่งไปทำคอนเทนต์พาทัวร์หมู่บ้านสลัมแห่งนี้ที่อยู่ตรงข้ามกับอาคารอพาร์ตเมนต์สูงระฟ้า บวกกับมีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจประเด็นเชิงสังคมก็ให้ความสนใจหมู่บ้านนี้ด้วยเช่นกัน ทำให้ปัจจุบันมันเปรียบเสมือนกับแหล่งท่องเที่ยว 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/76VHasv6yKbbpLz9blyU8e/c9ac35e765b9954ab14725bad695c1de/Guryong-Village-shantytown-in-Gangnam-wealth-divide-in-Seoul-SPACEBAR-Photo02
Photo: ตัวอย่างคลิปวิดีโอที่เหล่าครีเอเตอร์ลงใน Youtube

ในคลิปวิดีโอหนึ่งบน YouTube บรรยายว่า หมู่บ้านนี้เป็น ‘ความจริงที่น่าเศร้า’ ในเมืองที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก อีกทั้งยังมีคลิปที่ชาวต่างชาติพยายามสัมภาษณ์ผู้ที่อยู่อาศัยที่นั่นด้วยคำถามว่า พวกเขามีน้ำประปา หรือมีไฟฟ้าใช้หรือเปล่า  

ขณะที่มีชาวบ้านบางส่วนแสดงความไม่พอใจกับความสนใจที่เหล่ายูทูปเบอร์และนักท่องเที่ยวมอบให้ 

“หมู่บ้านของเราไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่ถ่ายทำ แต่เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับเรา ดังนั้นจึงไม่ควรนำวิถีชีวิตของเราไปใช้เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้คน” ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว 

ด้านชาวเน็ตเองก็ต่างตั้งคำถามด้วยความประหลาดใจว่ามีอะไรแบบนี้ในย่านกังนัมสุดหรูด้วยหรือ? 

หมู่บ้านกูรยอง หรือที่คนเกาหลีเรียกกันว่า ‘หมู่บ้านพระจันทร์’ สิ่งสุดท้ายที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำในเมืองหรู 

หมู่บ้านกูรยองตั้งอยู่ที่เชิงเขากูรยองซาน ซึ่งเป็นเนินเขาในเขตแกโพดงของกังนัม หมู่บ้านกูรยองเป็นสลัมแห่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ในกรุงโซล ซึ่งมักเรียกกันว่า ‘หมู่บ้านพระจันทร์’ หมู่บ้านดังกล่าวเริ่มก่อตัวขึ้นระหว่างการพัฒนาเมืองหลวงในยุค 70 – 80 ซึ่งเป็นช่วงเวลาแสนเลวร้ายที่คนจนจะถูกผลักออกไปจากตัวเมือง เพื่อนำพื้นที่เหล่านั้นไปทำอาคารสำนักงาน หรืออพาร์ตเมนต์ที่สูงระฟ้า 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4tXXG5j6ZwoyBnPGbEbF0T/b981e9bd8acbe54dc751776e22a5ca2e/Guryong-Village-shantytown-in-Gangnam-wealth-divide-in-Seoul-SPACEBAR-Photo04
Photo: Photo by AFP

ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านกูรยองส่วนใหญ่เป็นผู้บุกรุก ซึ่งถูกขับไล่ออกจากบ้านที่อยู่แบบผิดกฎหมายในย่านกังนัม ก่อนที่จะมีการสร้างตึกสูง และอาคารจำนวนมาก จนกระทั่งปัจจุบันมันเฟื่องฟูเทียบเท่าย่านเบเวอร์ลีฮิลส์ของฝั่งตะวันตก ทว่ามันอยู่ในโซล 

หมู่บ้านกูรยองมีเนื้อที่ประมาณ 320,000 ตารางเมตร และมีจำนวนครัวเรือนมากกว่า 1,100 ครัวเรือน โดยก่อนหน้านี้มี 454 ครัวเรือนย้ายออกไปอยู่ที่อื่นบ้างแล้ว ทำให้ปัจจุบันยังมีผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นราว 600 ครัวเรือน 

หลังจากที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในกังนัมพุ่งสูงขึ้น กูรยองก็ได้รับความสนใจอย่างมากว่าเป็นหนึ่งในที่ดินผืนสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่สำหรับสร้างบ้านใหม่ ทว่าแผนการสร้างบ้านใหม่ในกูรยองคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีข้อพิพาทเรื่องค่าชดเชยสำหรับเจ้าของที่ดินและชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในนั้น  

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลท้องถิ่นของเกาหลีใต้ได้อนุมัติแผนพัฒนาบ้านในเมืองเพื่อสร้างบ้านใหม่ 2,838 หลัง โดยจัดสรรบ้านจำนวน 1,107 หลังให้กับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย 

ขณะที่ Seoul Housing & Communities Corp. ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแผนบ้านในเมืองเคยเสนอบ้านเช่าสาธารณะสำหรับผู้ที่จะถูกไล่ที่ในกูรยอง แต่ชาวบ้านปฏิเสธและเรียกร้องการเยียวยาชดเชยเป็น ห้องพักจำนวน 1 ยูนิตของอพาร์ตเมนต์ที่จะสร้างใหม่ ซึ่งแต่ละแห่งมีแนวโน้มว่าจะมีมูลค่าสูงหลายล้านดอลลาร์ การร้องขอดังกล่าวเรียกได้ว่า ‘เป็นไปไม่ได้เลยที่จะสำเร็จ’ เพราะแม้อพาร์ตเมนต์คอมเพล็กซ์ที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามหมู่บ้านกูรยอง มีการซื้อขายครั้งล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้วอยู่ที่ 3.1 พันล้านวอน หรือราว 82 ล้านบาท 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์