‘โลกอีกใบ’ ของชาวฟินแลนด์
หากใครที่เคยดูซีรีย์ Stranger Things จะรู้ว่าโลกกลับด้านหรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘upside down’ ว่าเป็นโลกอีกใบที่น่ากลัวและน่าขนลุกแคไหน แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็มีเมืองใต้ดินที่ซ่อนอยู่เหมือนกันนะ โดยเมืองที่ว่านี้อยู่ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์นั่นเองใครจะไปรู้ว่าภายใต้เมืองหลวงที่น่าหลงใหลเช่นนี้จะมีเครือข่ายหลุมหลบภัยและอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่รองรับผู้คนได้ 900,000 คนซึ่งกระจายอยู่ทั่วทั้งเมืองมากกว่า 5,000 แห่งที่เพียงพอสำหรับกำบังประชากรมากกว่าประชากรทั้งหมดของเมืองเสียอีก (ประมาณ 650,000 คน)
นอกจากนี้ในรายงานของกระทรวงกลาโหมพลเรือนแห่งเฮลซิงกิยังระบุว่ามีหลุมหลบภัยทั่วประเทศรวมแล้วมากกว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ว่าอาคารทุกขนาดจะต้องมีบังเกอร์เป็นของตัวเองที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากนิวเคลียร์ ขณะเดียวกันก็ต้องคอยระแวดระวังการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นจากเพื่อนบ้านอย่างรัสเซียด้วย

หลุมหลบภัยที่ว่านี้เป็นบังเกอร์ที่มีความลึก 30 เมตร และมีพื้นที่ประมาณ 9 ล้านตารางเมตร โดยภายในประกอบด้วยที่พักอาศัย โรงยิม สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ พิพิธภัณฑ์ โบสถ์ สนามโกคาร์ท ลานฮอกกี้ และอุโมงค์จำนวนมาก นอกจากจะป้องกันภัยคุกคามจากนิวเคลียร์แล้ว ยังปกป้องอันตรายจากรังสีและสารเคมีอีกด้วย
เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ฟินแลนด์เลือกที่จะไม่เข้าร่วมพันธมิตรทางทหารใดๆ เพื่อพยายามบรรเทาความกังวลด้านความมั่นคงของรัสเซีย และเพื่อสามารถป้องกันตัวเองได้ที่ไม่ใช่แค่หลุมหลบภัยเท่านั้น ทว่าการเกณฑ์ทหารก็ยังคงเป็นข้อบังคับสำหรับผู้ชายอยู่ ซึ่งมีทหารกองหนุนอยู่ที่ประมาณ 900,000 นาย
ชาร์ลี ซาโลนิอุส-เพสเตอร์นัค นักวิจัยชั้นนำจากสถาบันวิจัย Finnish Institute for International Affairs กล่าวว่า “มีความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ว่าคุณควรเตรียมพร้อมอยู่เสมอ อาจไม่ใช่คนยุคนี้หรือรุ่นต่อๆ ไป แต่รัสเซียมีแนวโน้มที่จะโจมตีฟินแลนด์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง”
“เราต้องดูแลพลเมือง นั่นคือเหตุผลหลักที่เรามีระบบนี้” โทมี ราสค์ ผู้ฝึกสอนสำหรับแผนกู้ภัยจากกระทรวงป้องกันพลเรือนเฮลซิงกิกล่าว
แต่ทว่าสถานการณ์ที่ฟินแลนด์ใช้เวลาเตรียมการอยู่หลายปีกำลังเกิดขึ้นในยูเครนเวลานี้ ขณะที่การบุกรุกดังกล่าวก็เป็นจุดเปลี่ยนสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และรัสเซียด้วย ซึ่งเป็นผลให้การสนับสนุนของชาวฟินแลนด์ในการเข้าร่วม NATO พุ่งสูงขึ้นจากประมาณ 30% ก่อนสงครามเป็นมากกว่า 70% ในช่วงหลายสัปดาห์หลังการรุกราน จนท้ายที่สุดฟินแลนด์ก็ได้เข้าร่วม NATO เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา
แล้วทำไมต้องมีหลุมหลบภัยเยอะขนาดนี้?
เหตุผลก็เพราะว่าฟินแลนด์เป็นเพื่อนบ้านกับรัสเซียไงล่ะ ทั้งสองประเทศมีพรมแดนติดกันยาว 800 ไมล์ ทั้งยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและซับซ้อนอีกด้วยเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ฟินแลนด์เลือกที่จะไม่เข้าร่วมพันธมิตรทางทหารใดๆ เพื่อพยายามบรรเทาความกังวลด้านความมั่นคงของรัสเซีย และเพื่อสามารถป้องกันตัวเองได้ที่ไม่ใช่แค่หลุมหลบภัยเท่านั้น ทว่าการเกณฑ์ทหารก็ยังคงเป็นข้อบังคับสำหรับผู้ชายอยู่ ซึ่งมีทหารกองหนุนอยู่ที่ประมาณ 900,000 นาย
ชาร์ลี ซาโลนิอุส-เพสเตอร์นัค นักวิจัยชั้นนำจากสถาบันวิจัย Finnish Institute for International Affairs กล่าวว่า “มีความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ว่าคุณควรเตรียมพร้อมอยู่เสมอ อาจไม่ใช่คนยุคนี้หรือรุ่นต่อๆ ไป แต่รัสเซียมีแนวโน้มที่จะโจมตีฟินแลนด์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง”
“เราต้องดูแลพลเมือง นั่นคือเหตุผลหลักที่เรามีระบบนี้” โทมี ราสค์ ผู้ฝึกสอนสำหรับแผนกู้ภัยจากกระทรวงป้องกันพลเรือนเฮลซิงกิกล่าว
แต่ทว่าสถานการณ์ที่ฟินแลนด์ใช้เวลาเตรียมการอยู่หลายปีกำลังเกิดขึ้นในยูเครนเวลานี้ ขณะที่การบุกรุกดังกล่าวก็เป็นจุดเปลี่ยนสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และรัสเซียด้วย ซึ่งเป็นผลให้การสนับสนุนของชาวฟินแลนด์ในการเข้าร่วม NATO พุ่งสูงขึ้นจากประมาณ 30% ก่อนสงครามเป็นมากกว่า 70% ในช่วงหลายสัปดาห์หลังการรุกราน จนท้ายที่สุดฟินแลนด์ก็ได้เข้าร่วม NATO เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา

“เรามีเพื่อนบ้านที่น่ากลัวทางฝั่งตะวันออกของฟินแลนด์ เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเข้าร่วม NATO” คาเร วาร์ไทอาเนน พลเมืองฟินแลนด์ที่เคยใช้ชีวิตในเมืองใต้ดินกล่าว
หลังจากเป็นกลางมานานหลายปี เมื่อปีที่แล้วผู้นำฟินแลนด์ก็ประกาศว่าประเทศตนควรสมัครเข้าร่วม NATO อย่างไม่รีรอเสียที ซึ่งสวีเดนก็เข้าร่วมด้วยเช่นเดียวกัน
“ตอนนี้ NATO มีประเทศประชาธิปไตยเก่าแก่เพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศ ซึ่งทั้งสองประเทศมีกองทัพที่มีความสามารถ ดังนั้นยุโรปเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นภูมิภาคเดียวที่ควรปกป้อง” ซาโลนิอุส-เพสเตอร์นัคกล่าว
หลังจากเป็นกลางมานานหลายปี เมื่อปีที่แล้วผู้นำฟินแลนด์ก็ประกาศว่าประเทศตนควรสมัครเข้าร่วม NATO อย่างไม่รีรอเสียที ซึ่งสวีเดนก็เข้าร่วมด้วยเช่นเดียวกัน
“ตอนนี้ NATO มีประเทศประชาธิปไตยเก่าแก่เพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศ ซึ่งทั้งสองประเทศมีกองทัพที่มีความสามารถ ดังนั้นยุโรปเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นภูมิภาคเดียวที่ควรปกป้อง” ซาโลนิอุส-เพสเตอร์นัคกล่าว
‘เมืองใต้ดิน’ กลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กสำคัญ
“มันสะดวกสบายและปลอดภัย…หากฝนตก คุณสามารถขับรถเข้าไปในใจกลางเมืองเพื่อไปยังที่จอดรถใต้ดินและตรงไปยังห้างสรรพสินค้าได้จากลิฟต์ คุณสามารถแต่งตัวสบายๆ แทนเสื้อผ้ากันหนาวได้ หากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยผู้คนก็เลือกที่จะมาอยู่ที่เมืองใต้ดินแทน” เอยา กิวิลักโซ หัวหน้านักวางแผนเมืองใต้ดินของเฮลซิงกิกล่าว
นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ ‘Temppeliaukio’ ที่แกะสลักบนหินแข็งซึ่งสร้างเสร็จในปี 1969 ด้วยเอกลักษณ์อันน่าทึ่งจึงทำให้ที่นี่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของฟินแลนด์ โดยดึงดูดผู้เข้าชมมากกว่า 850,000 คนต่อปีเลยทีเดียว

และล่าสุดกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ‘Amos Rex’ ที่สร้างขึ้นโดยเอกชน ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมจาก BBC ว่าเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่ล้ำสมัยที่สุดของยุโรปในปี 2018 ซึ่งประกอบด้วยห้องโถงนิทรรศการขนาด 23,500 ตารางฟุต สำหรับจัดแสดงผลงานสมัยใหม่

“ชาวฟินแลนด์ส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึงหรือกังวลรัสเซียเลยด้วยซ้ำ พวกเขาไม่ได้คิดในแง่ที่ว่าตอนนี้ฉันกำลังเข้าไปในรถไฟใต้ดินและให้ฉันสังเกตสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดที่สร้างขึ้นที่นี่ เพราะมันต้องเป็นที่หลบระเบิดที่ยังใช้งานได้ แทนที่จะเป็นแค่รถไฟใต้ดินที่ยังใช้งานได้” ซาโลนิอุส-เพสเตอร์นัคกล่าว