ฮามาสเอาอาวุธมาจากไหนทั้งที่ชายแดนกาซาถูกคุมเข้ม

13 ต.ค. 2566 - 02:30

  • เกิดคำถามว่าฮามาสไปสรรหาอาวุธเหล่านี้มาจากไหน ทั้งๆ ที่พรมแดนกาซาถูกอียิปต์และอิสราเอลคุมเข้มทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ

how-hamas-gets-weapons-in-gaza-despite -strict-border-control-SPACEBAR-Hero.jpg

การบุกโจมตีชนิดที่อิสราเอลที่ขึ้นชื่อเรื่องหน่วยข่าวกรองเป็นเลิศไม่ทันได้ตั้งตัวของกลุ่มฮามาส ที่มาพร้อมกับอาวุธทันสมัยครบครัน ทำให้เกิดคำถามว่าฮามาสไปสรรหาอาวุธเหล่านี้มาจากไหน ทั้งๆ ที่พรมแดนกาซาถูกอียิปต์และอิสราเอลคุมเข้มทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศนับตั้งแต่ถอนตัวออกมาเมื่อปี 2005 

รายงานของ Co-operation of Worldwide Broadcast ระบุว่า การถอนตัวของอิสราเอลออกจากกาซาถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ฮามาสสร้างเส้นทางขนส่งอาวุธลับๆ กับอิหร่านและซีเรียขึ้นมา และแม้ว่าจะเคยถูกอิสราเอลสกัดการขนส่งจรวด Fajr-5 ที่มีต้นทางมาจากซูดานเมื่อปี 2007 แต่ฮามาสก็ยังมีช่องทางลักลอบขนอาวุธอีกหลายช่องทางดังนี้

ช่องทางชายฝั่ง

ฉนวนกาซาถูกล้อมรอบโดยอิสราเอลจาก 2 ด้านและมีพรมแดนติดกับอียิปต์ ส่วนฝั่งตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่ผ่านมาอาวุธส่วนใหญ่ของฮามาสจะถูกขนส่งมาทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยแคปซูลบรรจุอาวุธที่ผ่านการซีลอย่างดีจะถูกนำมาส่งไว้ตามชายฝั่งของกาซา เรียกวิธีนี้ว่า “ขนส่งจากเรือถึงชายฝั่ง” 

วิธีการนี้ แม้จะมีความเสี่ยงที่จะถูกกองทัพเรืออิสราเอลตรวจพบ แต่ก็ทำให้กลุ่มฮามาสสามารถเลี่ยงการควบคุมชายแดนอย่างอย่างเข้มงวดไปได้ และถือเป็นเส้นทางที่สะดวกในการจัดหาคลังอาวุธจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีรายงานว่ากองเรือรบยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์ ฟอร์ด ของสหรัฐที่ส่งไปประจำการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะช่วยอิสราเอลเฝ้าระวังตามแนวชายฝั่งของกาซาเพื่อสกัดเส้นทางขนส่งอาวุธ

เครือข่ายอุโมงค์ลับ

อุโมงค์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการลักลลอบขนอาวุธ กาซามีพรมแดนติดกับอียิปต์และมีการขุดอุโมงค์ไว้ใต้เส้นทางนี้เพื่อขนส่งอาวุธเข้ามาในภูมิภาคนี้ ที่ผ่านมาเคยถูกใช้เป็นเส้นทางขนส่งจรวด Fajr-3, Fajr-5 และ M-302 มาจากอิหร่านและซีเรีย

จรวด Fajr-3 ป็นจรวดหลายลำกล้องแบบยิงจากพื้นดินสู่พื้นดินที่ไม่นำวิถีของอิหร่าน มีพิสัยการยิง 43 กิโลเมตร และพบอยู่ในคลังอาวุธของกลุ่มฮิซบุลลอห์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอิหร่านและซีเรีย ส่วน Fajr-5 มีพิสัยการยิง 75 กิโลเมตร เช่นเดียวกับ M-302 หรือ Khaibar-1 ที่สร้างโดยอิหร่าน โดยมีรายงานว่ากลุ่มฮิซบุลลอห์เป็นคนจัดหาให้ฮามาส

แหล่งอาวุธจากต่างประเทศ

ฮามาสรักษาสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอิหร่านและซีเรียไปพร้อมๆ กับการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งจรวด Fajr-3, Fajr-5 และ M302 จากซีเรีย ซูดาน และตลาดมืด ด้วยความที่มีแหล่งให้ซื้ออาวุธมากมายทำให้ฮามาสแสดงแสนยานุภาพได้เต็มที่เมื่อต้องสู้รบ

คอนเนคชันกับตาลีบัน

รายงานหลายชิ้นระบุว่า กลุ่มฮามาสใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ ที่ได้มาจากกลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถาน โดยเมื่อปี 2021 สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานและทิ้งอาวุธไว้จำนวนมาก อาวุธเหล่านี้จึงตกไปอยู่ในมือของกลุ่มตาลีบันที่เข้ามาควบคุมอัฟกานิสถาน

ฮามาสพัฒนาเอง

หลายปีที่ผ่านมากลุ่มฮามาสได้พัฒนาเทคโนโลยีจรวดเพื่อขยายพิสัยการยิง รวมทั้งจรวดอาร์พีจี

Photo by AFP / SAID KHATIB

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์