ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้แล้ว มาดูประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชากันบ้างว่าผู้นำประเทศอย่าง ‘ฮุน เซน’ วัย 70 ปีที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันและอยู่ในวาระมานานกว่า 38 ปี อยู่มาจนถึงวันนี้ได้อย่างไร
ขนาดตัว ฮุน เซน เองก็พูดว่าเขาเป็น ‘นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลก’ และกล่าวว่า “หากรวมเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศและรองนายกรัฐมนตรีด้วย ช่วงชีวิตของเขาในฐานะผู้นำประเทศก็ยาวนานถึง 44 ปี…มันนานเกินไปแล้ว”
การเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ในกัมพูชาจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีนี้น่าจับตามองอย่างมากว่า ฮุน เซน จะทำตามที่พูดไว้เป็นนัยๆ ว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งหรือไม่
SPACEBAR พาไปย้อนดูว่าช่วงเวลาเกือบครึ่งชีวิตของฮุน เซนในฐานะรัฐบาลเขาชนะเลือกตั้งและเป็นนายกฯ มากี่สมัยแล้ว?
ในปี 1979 ที่รัฐบาลเวียดนามจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เขาก็เดินทางกลับกัมพูชา และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งในปี 1985 ฮุน เซน ก็ก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ ด้วยวัย 33 ปี
อย่างไรก็ดี ในปี 1993 เขากลับแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคฝ่ายสนับสนุนสมเด็จเจ้านโรดม รณฤทธิ์ โอรสของกษัตริย์นโรดม สีหนุประมุขแห่งรัฐ ซึ่งแซงหน้าพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party / CPP) ของฮุน เซน แต่เขาก็ปฏิเสธที่จะสละอำนาจ และบีบบังคับให้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น โดยเจ้าชายได้รับเลือกให้เป็นนายกฯ คนที่ 1 และฮุน เซนเป็นนายกฯ คนที่ 2
จากนั้นในปี 1997 ฮุน เซน ได้ก่อรัฐประหารครั้งรุนแรงจนเกิดการนองเลือดขึ้น และปลดเจ้าชายรณฤทธิ์ พร้อมทั้งจัดการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกรกฎาคม 1998 ซึ่งครั้งนั้นฮุน เซนเอาชนะเจ้าชายและได้จัดตั้งรัฐบาลแบบที่มีนายกฯ คนเดียว
ขนาดตัว ฮุน เซน เองก็พูดว่าเขาเป็น ‘นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลก’ และกล่าวว่า “หากรวมเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศและรองนายกรัฐมนตรีด้วย ช่วงชีวิตของเขาในฐานะผู้นำประเทศก็ยาวนานถึง 44 ปี…มันนานเกินไปแล้ว”
การเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ในกัมพูชาจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีนี้น่าจับตามองอย่างมากว่า ฮุน เซน จะทำตามที่พูดไว้เป็นนัยๆ ว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งหรือไม่
SPACEBAR พาไปย้อนดูว่าช่วงเวลาเกือบครึ่งชีวิตของฮุน เซนในฐานะรัฐบาลเขาชนะเลือกตั้งและเป็นนายกฯ มากี่สมัยแล้ว?
รัฐบาลเผด็จการภายใต้ร่มเงา ‘ฮุน เซน’
ย้อนกลับไปในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ซึ่งฮุนในขณะนั้นเป็นทหารก็ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (เขมรแดง) และต่อมาในปี 1970 กัมพูชาซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ พล พต ที่นับว่าเป็นช่วงเวลาที่โหดร้าย เนื่องจากชาวกัมพูชาถูกสังหารไปราว 2 ล้านคน ช่วงเวลานั้นเองฮุน เซนก็หนีไปเวียดนามเพื่อเข้าร่วมกองกำลังที่นั่นในการต่อต้านเขมรแดงในปี 1979 ที่รัฐบาลเวียดนามจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เขาก็เดินทางกลับกัมพูชา และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งในปี 1985 ฮุน เซน ก็ก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ ด้วยวัย 33 ปี
อย่างไรก็ดี ในปี 1993 เขากลับแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคฝ่ายสนับสนุนสมเด็จเจ้านโรดม รณฤทธิ์ โอรสของกษัตริย์นโรดม สีหนุประมุขแห่งรัฐ ซึ่งแซงหน้าพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party / CPP) ของฮุน เซน แต่เขาก็ปฏิเสธที่จะสละอำนาจ และบีบบังคับให้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น โดยเจ้าชายได้รับเลือกให้เป็นนายกฯ คนที่ 1 และฮุน เซนเป็นนายกฯ คนที่ 2
จากนั้นในปี 1997 ฮุน เซน ได้ก่อรัฐประหารครั้งรุนแรงจนเกิดการนองเลือดขึ้น และปลดเจ้าชายรณฤทธิ์ พร้อมทั้งจัดการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกรกฎาคม 1998 ซึ่งครั้งนั้นฮุน เซนเอาชนะเจ้าชายและได้จัดตั้งรัฐบาลแบบที่มีนายกฯ คนเดียว

ในการเลือกตั้งระดับชาติปี 2003 พรรค CPP ได้อันดับ 1 อีกครั้ง ส่งผลให้ฮุน เซนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกวาระในเดือนกรกฎาคม 2004
เริ่มไม่โปร่งใส…?
ส่วนการเลือกตั้งรัฐสภาในปี 2008 นั้นพรรค CPP ได้รับชัยชนะอีกครั้งด้วยที่นั่ง 3 ใน 4 ของที่นั่งในสภา และฮุน เซน กลับเข้าสู่ตำแหน่งนายกฯ กัมพูชาอีกครั้งท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคณะผู้สังเกตการณ์นานาชาติถึงเรื่องความไม่โปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนี้
ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch / HRW) องค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศระบุว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาถดถอยลงอย่างมาก และพบว่าในปี 2012 ปัญหาความรุนแรงดังกล่าวได้พุ่งสูงขึ้นในช่วงที่พรรค CPP เตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2013
ทว่าการเลือกตั้งปี 2013 พรรค CPP แทบไม่ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ในสภาเลย เนื่องจากฝ่ายค้านอย่างพรรคกู้ชาติกัมพูชา (CNRP) ที่ตั้งขึ้นใหม่จากการรวมตัวของพรรค Sam Rainsy Party (SRP) และพรรคฝ่ายค้านเก่าแก่ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะพรรครัฐบาลเก่าได้ท่ามกลางข้อกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่ารัฐบาลโกงการเลือกตั้ง จนเกิดการประท้วงในกรุงพนมเปญเป็นเวลากว่า 11 เดือน
เริ่มไม่โปร่งใส…?
ส่วนการเลือกตั้งรัฐสภาในปี 2008 นั้นพรรค CPP ได้รับชัยชนะอีกครั้งด้วยที่นั่ง 3 ใน 4 ของที่นั่งในสภา และฮุน เซน กลับเข้าสู่ตำแหน่งนายกฯ กัมพูชาอีกครั้งท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคณะผู้สังเกตการณ์นานาชาติถึงเรื่องความไม่โปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนี้
ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch / HRW) องค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศระบุว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาถดถอยลงอย่างมาก และพบว่าในปี 2012 ปัญหาความรุนแรงดังกล่าวได้พุ่งสูงขึ้นในช่วงที่พรรค CPP เตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2013
ทว่าการเลือกตั้งปี 2013 พรรค CPP แทบไม่ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ในสภาเลย เนื่องจากฝ่ายค้านอย่างพรรคกู้ชาติกัมพูชา (CNRP) ที่ตั้งขึ้นใหม่จากการรวมตัวของพรรค Sam Rainsy Party (SRP) และพรรคฝ่ายค้านเก่าแก่ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะพรรครัฐบาลเก่าได้ท่ามกลางข้อกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่ารัฐบาลโกงการเลือกตั้ง จนเกิดการประท้วงในกรุงพนมเปญเป็นเวลากว่า 11 เดือน

ในเวลาต่อมาพรรคฝ่ายค้าน CNRP ออกมาประท้วงผลการเลือกตั้งและคว่ำบาตรการชุมนุมจนเกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รับการแก้ไขจนถึงกลางปี 2014 แต่ช่วงเวลานั้น ฮุน เซนก็ยังคงเป็นนายกฯ และดำรงตำแหน่งต่อไปกระทั่งบรรลุข้อตกลงระหว่างพรรค CPP และ CNRP
ต่อมาในปี 2018 ที่กัมพูชากลับเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งอีกครั้ง แต่ไร้วี่แววคู่แข่งสำคัญ หลังศาลพิพากษายุบพรรค CNRP ที่ถูกกล่าวหาวางแผนโค่นล้มรัฐบาลเมื่อปลายปี 2017 ซึ่งทำให้สมาชิกพรรคทั้งหมดถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
สาบานตนจะเป็นนายกฯ ถึงปี 2028!?
ในระหว่างการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2018 ฮุน เซนได้สาบานว่าจะอยู่ในตำแหน่งอีก 2 วาระจนถึงปี 2028 ทว่าช่วงปลายปี 2021 เขากลับประกาศอย่างชัดเจนว่าจะสนับสนุนให้ฮุน มาเนต ลูกชายคนโตวัย 45 ปีซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพเข้ารับตำแหน่งแทน แต่ต้องผ่านการเลือกตั้งเท่านั้น
ต่อมาในปี 2018 ที่กัมพูชากลับเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งอีกครั้ง แต่ไร้วี่แววคู่แข่งสำคัญ หลังศาลพิพากษายุบพรรค CNRP ที่ถูกกล่าวหาวางแผนโค่นล้มรัฐบาลเมื่อปลายปี 2017 ซึ่งทำให้สมาชิกพรรคทั้งหมดถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
สาบานตนจะเป็นนายกฯ ถึงปี 2028!?
ในระหว่างการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2018 ฮุน เซนได้สาบานว่าจะอยู่ในตำแหน่งอีก 2 วาระจนถึงปี 2028 ทว่าช่วงปลายปี 2021 เขากลับประกาศอย่างชัดเจนว่าจะสนับสนุนให้ฮุน มาเนต ลูกชายคนโตวัย 45 ปีซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพเข้ารับตำแหน่งแทน แต่ต้องผ่านการเลือกตั้งเท่านั้น

และในช่วงต้นปีนี้ 2023 ฮุน เซนก็กล่าวเป็นนัยอีกว่า “ตอนนี้เราพบคนรุ่นใหม่ที่จะมาแทนที่เราแล้ว เราควรมอบโอกาสให้พวกเขาและอยู่เคียงข้างพวกเขาดีกว่า…คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะแข็งแกร่งด้วยนักการเมืองที่เกษียณอายุมากประสบการณ์อย่างเขาที่ยืนอยู่เคียงข้าง”
ทั้งนี้ การเลือกตั้ง 2023 จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ และคาดว่าการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่นั้นจะมีขึ้นในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
ต้องมาดูกันว่าผู้นำเผด็จการที่อยู่ในอำนาจมานานกว่า 40 ปีอย่าง ฮุน เซน จะยอมลงจากตำแหน่งอย่างที่พูดไว้หรือไม่?
ทั้งนี้ การเลือกตั้ง 2023 จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ และคาดว่าการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่นั้นจะมีขึ้นในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
ต้องมาดูกันว่าผู้นำเผด็จการที่อยู่ในอำนาจมานานกว่า 40 ปีอย่าง ฮุน เซน จะยอมลงจากตำแหน่งอย่างที่พูดไว้หรือไม่?