ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสถานการณ์การเมืองโลกในทุกวันนี้ เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้ง ทั้งการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยืดเยื้อยาวนาน และยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าความขัดแย้งนี้จะจบลง ทำให้ประเด็นความเสี่ยงด้านความขัดแย้งระหว่างประเทศเป็นที่จับตามอง เพราะจะส่งผลด้านลบต่อความสามารถในหลายๆ ด้านในปีนี้
นอกจากนี้ ความผันผวนในตลาดพลังงานและการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เศรษฐกิจเปราะบาง ไม่มั่นคง ซึ่งประเทศหรือภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือ กลุ่มประเทศแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) อียิปต์ เลบานอน ซึ่งความล้มเหลวในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจหรือการเมืองกระตุ้นให้ประชาชนไม่พอใจ และความไม่พอใจนี้จะขยายวงกว้าง ซึ่งประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่ ปากีสถาน ศรีลังกา เอกวาดอร์ เปรู และอิรัก
ขณะที่การแบ่งขั้วอำนาจในระดับโลกกำลังนำไปสู่การแบ่งขั้วอำนาจภายในประเทศมากขึ้น และจะกระตุ้นให้เกิดความไม่สงบทางสังคมจนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด จะกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงและอาชญากรรมในท้องถิ่นมากขึ้น ประเทศหรือภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ สหรัฐฯ และยุโรปตะวันตก
ส่วนปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เช่น เกิดโรคติดเชื้อชนิดใหม่ หรือทำให้โรคติดเชื้อที่มีอยู่เดิมกลับมาเกิดซ้ำเร็วขึ้น การระบาดของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และไข้ซิกา ในพื้นที่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ขณะที่สงครามตัวแทนระหว่างชาติตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งหนุนหลังยูเครนและชาติพันธมิตรที่หนุนหลังรัสเซียในการทำศึกสงครามกับยูเครนกำลังดำเนินอยู่ รัสเซียก็เพิ่มดีกรีความร้อนแรงของความขัดแย้งมากขึ้น ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าใกล้รัฐอลาสกาของสหรัฐ
รัสเซียส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด ‘ตู-95MS แบร์’ (Tu-95MS Bear) จำนวน 2 ลำ ที่บรรทุกหัวรบนิวเคลียร์ เข้าไปบินอยู่เหนือทะเลนอกชายฝั่งรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ แถมยังส่งเรือรบติดอาวุธนิวเคลียร์เข้าไปในทะเลบอลติกเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กำลังหารือเพื่อเตรียมส่งอาวุธไปช่วยยูเครนเพิ่มเติม โดยมีรายงานว่า เครื่องบิน ตู-95MS แบร์ ได้บินโฉบเหนือทะเลแบริ่งนาน 7 ชั่วโมง และยังมีเครื่องบินขับไล่ ซู-30 (Su-30) อีกหลายลำบินป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้กัน
หน่วยข่าวกรองของนอร์เวย์ ระบุในรายงานประจำปีว่า เรือรบจากกองเรือเหนือของรัสเซียที่ติดอาวุธนิวเคลียร์มุ่งหน้าสู่ทะเลบอลติก ซึ่งเป็นพฤติกรรมแบบเดียวกับสมัยสงครามเย็น และนี่เป็นครั้งแรกที่รัสเซียในยุคใหม่ทำแบบนี้
ขณะที่การส่งความช่วยเหลือแก่ยูเครนยังคงเพิ่มขึ้น โดยเมื่อวันพุธ (15 ก.พ.) รัฐบาลสวีเดนให้คำมั่นส่งความช่วยเหลือยูเครนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ระหว่างการเยือนกรุงเคียฟของ อูล์ฟ คริสเตอร์สัน นายกรัฐมนตรีสวีเดน รวมทั้งระบบปืนใหญ่อาร์เชอร์ ยานเกราะลำเลียงพล และระบบต่อต้านรถถัง แต่ก็เตือนว่าความช่วยเหลือด้านการทหารในอนาคตจะต้องเป็นไปอย่างสมดุลกับความต้องการในการป้องกันตนเอง ในฐานะประเทศที่จะก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกนาโต
ด้าน เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโต กล่าวในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมของชาติสมาชิกนาโตที่กรุงบรัสเซลส์ เรียกร้องชาติพันธมิตรเพิ่มการผลิตกระสุนปืนใหญ่และทุ่มงบประมาณด้านกลาโหมเพิ่มเติม
โจเซพ บอร์เรลล์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) เรียกร้องนานาประเทศให้ร่วมมือกับเยอรมนีในการจัดส่งรถถังให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้แก่ยูเครน หลังจากสื่อรายงานว่า เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์ประกาศว่าจะไม่จัดส่งรถถังเลพเพิร์ด 2 ให้ยูเครนเหมือนกับรัฐบาลเบอร์ลิน
ด้าน ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวหลังการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ว่า ยูเครนมีโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกในปีนี้ และสหรัฐฯ จะฝึกทหารยูเครนในการใช้ระบบด้านการทหารใหม่ๆ ที่สมาชิกนาโตจัดหามาให้
ส่วนภูมิภาคเอเชียก็มีภัยคุกคามจากปัญหาความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลีให้กังวล เพราะเกาหลีเหนือทดสอบยิงขีปนาวุธพิสัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง สร้างความไม่สบายใจแก่ญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศในเอเชีย
นอกจากนี้ ความผันผวนในตลาดพลังงานและการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เศรษฐกิจเปราะบาง ไม่มั่นคง ซึ่งประเทศหรือภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือ กลุ่มประเทศแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) อียิปต์ เลบานอน ซึ่งความล้มเหลวในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจหรือการเมืองกระตุ้นให้ประชาชนไม่พอใจ และความไม่พอใจนี้จะขยายวงกว้าง ซึ่งประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่ ปากีสถาน ศรีลังกา เอกวาดอร์ เปรู และอิรัก
ขณะที่การแบ่งขั้วอำนาจในระดับโลกกำลังนำไปสู่การแบ่งขั้วอำนาจภายในประเทศมากขึ้น และจะกระตุ้นให้เกิดความไม่สงบทางสังคมจนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด จะกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงและอาชญากรรมในท้องถิ่นมากขึ้น ประเทศหรือภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ สหรัฐฯ และยุโรปตะวันตก
ส่วนปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เช่น เกิดโรคติดเชื้อชนิดใหม่ หรือทำให้โรคติดเชื้อที่มีอยู่เดิมกลับมาเกิดซ้ำเร็วขึ้น การระบาดของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และไข้ซิกา ในพื้นที่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ขณะที่สงครามตัวแทนระหว่างชาติตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งหนุนหลังยูเครนและชาติพันธมิตรที่หนุนหลังรัสเซียในการทำศึกสงครามกับยูเครนกำลังดำเนินอยู่ รัสเซียก็เพิ่มดีกรีความร้อนแรงของความขัดแย้งมากขึ้น ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าใกล้รัฐอลาสกาของสหรัฐ
รัสเซียส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด ‘ตู-95MS แบร์’ (Tu-95MS Bear) จำนวน 2 ลำ ที่บรรทุกหัวรบนิวเคลียร์ เข้าไปบินอยู่เหนือทะเลนอกชายฝั่งรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ แถมยังส่งเรือรบติดอาวุธนิวเคลียร์เข้าไปในทะเลบอลติกเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กำลังหารือเพื่อเตรียมส่งอาวุธไปช่วยยูเครนเพิ่มเติม โดยมีรายงานว่า เครื่องบิน ตู-95MS แบร์ ได้บินโฉบเหนือทะเลแบริ่งนาน 7 ชั่วโมง และยังมีเครื่องบินขับไล่ ซู-30 (Su-30) อีกหลายลำบินป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้กัน
หน่วยข่าวกรองของนอร์เวย์ ระบุในรายงานประจำปีว่า เรือรบจากกองเรือเหนือของรัสเซียที่ติดอาวุธนิวเคลียร์มุ่งหน้าสู่ทะเลบอลติก ซึ่งเป็นพฤติกรรมแบบเดียวกับสมัยสงครามเย็น และนี่เป็นครั้งแรกที่รัสเซียในยุคใหม่ทำแบบนี้
ขณะที่การส่งความช่วยเหลือแก่ยูเครนยังคงเพิ่มขึ้น โดยเมื่อวันพุธ (15 ก.พ.) รัฐบาลสวีเดนให้คำมั่นส่งความช่วยเหลือยูเครนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ระหว่างการเยือนกรุงเคียฟของ อูล์ฟ คริสเตอร์สัน นายกรัฐมนตรีสวีเดน รวมทั้งระบบปืนใหญ่อาร์เชอร์ ยานเกราะลำเลียงพล และระบบต่อต้านรถถัง แต่ก็เตือนว่าความช่วยเหลือด้านการทหารในอนาคตจะต้องเป็นไปอย่างสมดุลกับความต้องการในการป้องกันตนเอง ในฐานะประเทศที่จะก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกนาโต
ด้าน เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโต กล่าวในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมของชาติสมาชิกนาโตที่กรุงบรัสเซลส์ เรียกร้องชาติพันธมิตรเพิ่มการผลิตกระสุนปืนใหญ่และทุ่มงบประมาณด้านกลาโหมเพิ่มเติม
โจเซพ บอร์เรลล์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) เรียกร้องนานาประเทศให้ร่วมมือกับเยอรมนีในการจัดส่งรถถังให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้แก่ยูเครน หลังจากสื่อรายงานว่า เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์ประกาศว่าจะไม่จัดส่งรถถังเลพเพิร์ด 2 ให้ยูเครนเหมือนกับรัฐบาลเบอร์ลิน
ด้าน ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวหลังการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ว่า ยูเครนมีโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกในปีนี้ และสหรัฐฯ จะฝึกทหารยูเครนในการใช้ระบบด้านการทหารใหม่ๆ ที่สมาชิกนาโตจัดหามาให้
ส่วนภูมิภาคเอเชียก็มีภัยคุกคามจากปัญหาความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลีให้กังวล เพราะเกาหลีเหนือทดสอบยิงขีปนาวุธพิสัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง สร้างความไม่สบายใจแก่ญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศในเอเชีย

ขณะที่การทำสงครามยืดเยื้อระหว่างรัสเซียและยูเครนก็เปิดช่องให้เกาหลีเหนือมีรายได้จากการขายอาวุธให้รัสเซียเพิ่มขึ้น โดย ยูสต์ โอลีมานส์ นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธและเป็นผู้เขียนหนังสือ ‘The Armed Forces of North Korea’ บอกว่า การที่รัสเซียเร่งหาอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับการสู้รบในสงครามยูเครน อาจเป็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับเกาหลีเหนือ เนื่องจากการทำข้อตกลงซื้อขายอาวุธกับรัสเซียจะช่วยให้เกาหลีเหนือมีรายได้ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและช่วยคลี่คลายวิกฤตการขาดแคลนเงินของประเทศได้
แม้ว่าเกาหลีเหนือจะออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเรื่องนี้มีมูลความจริง และการทำข้อตกลงค้าอาวุธเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคิมจองอึน เนื่องจากการปิดพรมแดนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือที่ย่ำแย่อยู่แล้วให้หดตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี
นอกจากนี้ ข้อมูลของธนาคารกลางเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานไม่กี่แห่งที่ทำการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของสองเกาหลีเหนืออย่างสม่ำเสมอ ระบุว่า เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือไม่มีการเติบโตเลยในปี 2021 และเผชิญกับกับความไม่แน่นอนในปี 2022
ทรัพยากรอย่างเดียวที่คิมมีอย่างมากมายคืออาวุธ โดยเฉพาะปืนใหญ่ยุคศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีประสิทธิภาพคล้ายคลึงกับปืนใหญ่ที่กองกำลังทหารแนวหน้าของยูเครนใช้ในการสู้รบ
สถาบันยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศประเมินว่า เกาหลีเหนือมีอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมหาศาล รวมทั้งคลังแสงปืนใหญ่ 21,600 กระบอก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกาหลีใต้ตกอยู่ภายใต้การคุกคามมาหลายทศวรรษว่าอาจเผชิญชะตากรรมเหมือนกับเมืองมาริอูโพลในยูเครน
ส่วนความขัดแย้งบริเวณช่องแคบไต้หวัน ล่าสุด พลตรีหวงเวิ่นฉี ผู้ช่วยรองประธานคณะเสนาธิการทหารด้านข่าวกรองของไต้หวัน กล่าวว่า ไต้หวันเตรียมพร้อมรับมือการรุกล้ำต่างๆ จากจีน แต่ยังไม่พบสิ่งใดที่ล่วงล้ำแนวป้องกันของไต้หวันในขณะนี้
นอกจากนี้ ยังระบุว่า “เราไม่เห็นบอลลูนสอดแนมที่ส่งมาจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนในน่านน้ำใกล้ไต้หวัน” แต่บอลลูนหลายลูกที่พบรอบไต้หวันใช้เพื่อการสำรวจด้านสภาพอากาศ ซึ่งมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสามารถระเบิดได้หลังจากขึ้นไปในที่สูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งจนถึงตอนนี้ไต้หวันยังไม่พบเป้าหมายที่ต้องใช้การรับมือขั้นรุนแรง
ขณะที่จีนอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนมาโดยตลอด และส่งเครื่องบินรบรวมทั้งจัดทำการซ้อมรบอื่นๆ ใกล้ๆ ไต้หวันเป็นประจำ
สถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองหลายคู่เดินหน้าไม่หยุดยั้ง จึงมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง สถานการณ์สุกงอม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นพัฒนาไปเป็นการสู้รบเต็มรูปแบบที่อาจนำไปสู่สงครามโลกได้ทุกเมื่อ
แม้ว่าเกาหลีเหนือจะออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเรื่องนี้มีมูลความจริง และการทำข้อตกลงค้าอาวุธเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคิมจองอึน เนื่องจากการปิดพรมแดนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือที่ย่ำแย่อยู่แล้วให้หดตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี
นอกจากนี้ ข้อมูลของธนาคารกลางเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานไม่กี่แห่งที่ทำการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของสองเกาหลีเหนืออย่างสม่ำเสมอ ระบุว่า เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือไม่มีการเติบโตเลยในปี 2021 และเผชิญกับกับความไม่แน่นอนในปี 2022
ทรัพยากรอย่างเดียวที่คิมมีอย่างมากมายคืออาวุธ โดยเฉพาะปืนใหญ่ยุคศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีประสิทธิภาพคล้ายคลึงกับปืนใหญ่ที่กองกำลังทหารแนวหน้าของยูเครนใช้ในการสู้รบ
สถาบันยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศประเมินว่า เกาหลีเหนือมีอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมหาศาล รวมทั้งคลังแสงปืนใหญ่ 21,600 กระบอก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกาหลีใต้ตกอยู่ภายใต้การคุกคามมาหลายทศวรรษว่าอาจเผชิญชะตากรรมเหมือนกับเมืองมาริอูโพลในยูเครน
ส่วนความขัดแย้งบริเวณช่องแคบไต้หวัน ล่าสุด พลตรีหวงเวิ่นฉี ผู้ช่วยรองประธานคณะเสนาธิการทหารด้านข่าวกรองของไต้หวัน กล่าวว่า ไต้หวันเตรียมพร้อมรับมือการรุกล้ำต่างๆ จากจีน แต่ยังไม่พบสิ่งใดที่ล่วงล้ำแนวป้องกันของไต้หวันในขณะนี้
นอกจากนี้ ยังระบุว่า “เราไม่เห็นบอลลูนสอดแนมที่ส่งมาจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนในน่านน้ำใกล้ไต้หวัน” แต่บอลลูนหลายลูกที่พบรอบไต้หวันใช้เพื่อการสำรวจด้านสภาพอากาศ ซึ่งมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสามารถระเบิดได้หลังจากขึ้นไปในที่สูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งจนถึงตอนนี้ไต้หวันยังไม่พบเป้าหมายที่ต้องใช้การรับมือขั้นรุนแรง
ขณะที่จีนอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนมาโดยตลอด และส่งเครื่องบินรบรวมทั้งจัดทำการซ้อมรบอื่นๆ ใกล้ๆ ไต้หวันเป็นประจำ
สถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองหลายคู่เดินหน้าไม่หยุดยั้ง จึงมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง สถานการณ์สุกงอม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นพัฒนาไปเป็นการสู้รบเต็มรูปแบบที่อาจนำไปสู่สงครามโลกได้ทุกเมื่อ