หากพูดถึง ‘รัฐสภา’ คุณจะนึกถึงอะไร…? ‘นายกฯ สส. สว. ฝ่ายค้าน หรือแม้แต่ประธานสภา?’ และแน่นอนว่าหลายคนคงนึกถึงการโหวตนายกฯ การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ รวมไปถึงการประชุมสภาสุดดุเดือด แต่นอกเหนือจากคนเหล่านี้ หรือเหตุการณ์เหล่านี้ล่ะ มันมีบางอย่างที่น่าสนใจอยู่นะในตัวตึกรัฐสภาน่ะ
คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่ารูปแบบแผนผังที่นั่งสภาในแต่ละประเทศเป็นอย่างไร? สร้างเหมือนกันไหม? รูปแบบเหมือนกันหรือเปล่า? ว่ากันว่าการออกแบบสภาพแวดล้อมจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา ซึ่งมันรวมถึงรัฐสภาด้วยเปล่าล่ะ?
ใครจะไปรู้ว่าพื้นที่ทางการเมืองอย่างรัฐสภาจะถูกจัดระเบียบผ่าน ‘สถาปัตยกรรม’ ซึ่งกลายเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการทำกิจกรรมทางการเมืองระหว่าง สส. สว. ในสภา ไม่ว่าจะเป็นแปลนที่นั่งในสภา เช่น แบบครึ่งวงกลม แบบเกือกม้า แบบเก้าอี้ประชันหน้า เป็นต้น ก็สามารถสื่อถึงความเป็นประชาธิปไตยได้? หรือแม้แต่ตัวตึกสภาในบางประเทศก็โยงและแฝงถึงประชาธิปไตยด้วยเหมือนกัน
ต่อไปนี้คืออิทธิพลทาง ‘สถาปัตยกรรมแปลนที่นั่งรัฐสภา’ ซึ่งถูกมองว่ามีผลต่อกิจกรรมทางการเมือง
คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่ารูปแบบแผนผังที่นั่งสภาในแต่ละประเทศเป็นอย่างไร? สร้างเหมือนกันไหม? รูปแบบเหมือนกันหรือเปล่า? ว่ากันว่าการออกแบบสภาพแวดล้อมจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา ซึ่งมันรวมถึงรัฐสภาด้วยเปล่าล่ะ?
ใครจะไปรู้ว่าพื้นที่ทางการเมืองอย่างรัฐสภาจะถูกจัดระเบียบผ่าน ‘สถาปัตยกรรม’ ซึ่งกลายเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการทำกิจกรรมทางการเมืองระหว่าง สส. สว. ในสภา ไม่ว่าจะเป็นแปลนที่นั่งในสภา เช่น แบบครึ่งวงกลม แบบเกือกม้า แบบเก้าอี้ประชันหน้า เป็นต้น ก็สามารถสื่อถึงความเป็นประชาธิปไตยได้? หรือแม้แต่ตัวตึกสภาในบางประเทศก็โยงและแฝงถึงประชาธิปไตยด้วยเหมือนกัน
ต่อไปนี้คืออิทธิพลทาง ‘สถาปัตยกรรมแปลนที่นั่งรัฐสภา’ ซึ่งถูกมองว่ามีผลต่อกิจกรรมทางการเมือง
1. รัฐสภาแบบครึ่งวงกลม

‘ครึ่งวงกลม’ มักเป็นรูปแบบทั่วไปของรัฐสภาและแบบแรกๆ ที่เรามักจะเห็นบ่อยๆ ในสภาหลายแห่งทั่วโลก ได้รับแรงบันดาลใจจากที่นั่งในโรงละครกรีกโรมันสมัยโบราณ แต่หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและการก่อตั้งสมัชชาแห่งชาติ (Assemblée Nationale) รูปแบบครึ่งวงกลมนี้ก็เป็นที่นิยมแพร่หลายในการสร้างรัฐสภาหลายแห่งทั่วโลก อีกทั้งตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 ก็ยังพบได้ทั่วไปโดยเฉพาะในรัฐสภายุโรปด้วย
อย่างไรก็ดี การอ้างอิงถึงสถาปัตยกรรมสมัยโบราณด้วยรูปแบบครึ่งวงกลมนั้นเพราะมีความเชื่อที่ว่า ‘ครึ่งวงกลมจะหลอมรวมสมาชิกรัฐสภาเข้าเป็นหนึ่งเดียว’ ในขณะที่รัฐประชาชาติในยุโรปจะใช้สถาปัตยกรรมรูปครึ่งวงกลมเพื่อส่งเสริมฉันทามติในหมู่ตัวแทนชนชั้นนำ ซึ่งตรงกันข้ามกับการชุมนุมของชาวกรีกที่พลเมืองทุกคนสามารถเข้าถึงประชาธิปไตยได้โดยตรง
อย่างไรก็ดี การอ้างอิงถึงสถาปัตยกรรมสมัยโบราณด้วยรูปแบบครึ่งวงกลมนั้นเพราะมีความเชื่อที่ว่า ‘ครึ่งวงกลมจะหลอมรวมสมาชิกรัฐสภาเข้าเป็นหนึ่งเดียว’ ในขณะที่รัฐประชาชาติในยุโรปจะใช้สถาปัตยกรรมรูปครึ่งวงกลมเพื่อส่งเสริมฉันทามติในหมู่ตัวแทนชนชั้นนำ ซึ่งตรงกันข้ามกับการชุมนุมของชาวกรีกที่พลเมืองทุกคนสามารถเข้าถึงประชาธิปไตยได้โดยตรง

ปัจจุบัน สถาปัตยกรรมแบบครึ่งวงกลมกลายเป็นรูปแบบที่โดดเด่นสำหรับพื้นที่ทางการเมืองในโลก เช่น รัฐสภาส่วนใหญ่ในยุโรป นอกจากนี้ยังแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของรัฐสภาอันสะท้อนถึงอุดมคติของการสร้างชาติในศตวรรษที่ 19 อย่างน่าประหลาดใจ ที่แม้แต่ห้องโถงรัฐสภายุโรปทั้งในกรุงบรัสเซลส์และเมืองสตราสบูร์กก็ยังใช้รูปแบบนี้เช่นกัน
ทั้งนี้ สัปปายะสภาสถานของไทยก็ใช้ผังแปลนที่นั่งสภาแบบครึ่งวงกลมด้วย
ทั้งนี้ สัปปายะสภาสถานของไทยก็ใช้ผังแปลนที่นั่งสภาแบบครึ่งวงกลมด้วย
2. รัฐสภาแบบม้านั่งประชันหน้า

หลายคนอาจคุ้นตามาบ้างแล้วกับผังที่นั่ง ‘สภาอังกฤษ’ ที่มีรูปแบบแปลกตาเป็นลักษณะม้านั่งตั้งอยู่ตรงข้ามกัน (opposing benches) ที่หลายคนเชื่อกันว่าเป็น ‘แปลนที่นั่งสภาที่ดูขัดแย้งกันที่สุดสำหรับแนวคิดประชาธิปไตย’ โดยรูปแบบนั้นมาจากพื้นฐานของระบบที่ต่อต้านประชาธิปไตย (anti-democratic system) นั่นเอง ซึ่งขั้วตรงข้ามอ้างถึงกลุ่มที่ให้คำแนะนำแก่กษัตริย์อังกฤษ ได้แก่ นักบวชและขุนนาง
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 13 ปี 1215 เมื่อมหากฎบัตร (Magna Carta) แบ่งอำนาจอย่างเป็นทางการระหว่างกษัตริย์และผู้ใต้บังคับบัญชา จากนั้นก็เกิดการประชุมครั้งแรกขึ้นที่โบสถ์เซนต์สตีเฟนซึ่งลักษณะที่นั่งเป็นแถวยาว 2 แถวตรงข้ามกัน โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลางในฐานะการรวมศูนย์ของอำนาจเบ็ดเสร็จ
อย่างไรก็ดี รูปแบบสภาแบบม้านั่งประชันหน้าที่มีรากฐานจากราชสำนักแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย ทั้งๆ ที่มีการกระจายอำนาจภายในระบบการเมือง แม้ว่าต้องสร้างสภาขึ้นใหม่หลังจากถูกทำลายในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกฯ อังกฤษในเวลานั้นก็ยืนกรานที่จะบูรณะสภารูปแบบม้านั่งประชันหน้ารุ่นเก่านี้
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 13 ปี 1215 เมื่อมหากฎบัตร (Magna Carta) แบ่งอำนาจอย่างเป็นทางการระหว่างกษัตริย์และผู้ใต้บังคับบัญชา จากนั้นก็เกิดการประชุมครั้งแรกขึ้นที่โบสถ์เซนต์สตีเฟนซึ่งลักษณะที่นั่งเป็นแถวยาว 2 แถวตรงข้ามกัน โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลางในฐานะการรวมศูนย์ของอำนาจเบ็ดเสร็จ
อย่างไรก็ดี รูปแบบสภาแบบม้านั่งประชันหน้าที่มีรากฐานจากราชสำนักแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย ทั้งๆ ที่มีการกระจายอำนาจภายในระบบการเมือง แม้ว่าต้องสร้างสภาขึ้นใหม่หลังจากถูกทำลายในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกฯ อังกฤษในเวลานั้นก็ยืนกรานที่จะบูรณะสภารูปแบบม้านั่งประชันหน้ารุ่นเก่านี้

ทั้งนี้ การที่เชอร์ชิลล์ยืนกรานที่จะสร้างห้องโถงขึ้นใหม่ในสัดส่วนเดิมนั้นทำให้สภาดูเล็กเกินไปสำหรับจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างบรรยากาศของความเร่งรีบและแออัดโดยเฉพาะในเวลาที่สมาชิกรัฐสภาทั้ง 650 คนเข้าร่วมการโต้วาทีครั้งสำคัญ
Until today, the model of opposing benches is tied to vertically organized societies
จวบจนปัจจุบัน รูปแบบม้านั่งประชันหน้านี้ได้เชื่อมโยงกับสังคมที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง ซึ่งก็คือ ‘ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ’ ที่มีสถาบันอย่างรัฐ และกฎหมายเข้ามาเป็นตัวจัดระบบความสัมพันธ์
นอกจากอังกฤษแล้ว ยังมีอดีตอาณานิคมของอังกฤษอีกหลายแห่งที่ใช้รูปแบบนี้ในสภาของตนด้วย เช่น บาฮามาส ซิมบับเว และสิงคโปร์
Until today, the model of opposing benches is tied to vertically organized societies
จวบจนปัจจุบัน รูปแบบม้านั่งประชันหน้านี้ได้เชื่อมโยงกับสังคมที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง ซึ่งก็คือ ‘ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ’ ที่มีสถาบันอย่างรัฐ และกฎหมายเข้ามาเป็นตัวจัดระบบความสัมพันธ์
นอกจากอังกฤษแล้ว ยังมีอดีตอาณานิคมของอังกฤษอีกหลายแห่งที่ใช้รูปแบบนี้ในสภาของตนด้วย เช่น บาฮามาส ซิมบับเว และสิงคโปร์
3. รัฐสภาแบบเกือกม้า

สภารูปแบบที่ 3 นี้เป็นลูกผสมของ 2 แบบก่อนหน้าในลักษณะที่ม้านั่งประชันหน้าจะโค้งเข้าหากันที่ด้านหนึ่ง หรือส่วนท้ายของห้องประชุมเป็น ‘รูปเกือกม้า’ (horseshoe) เรามักจะพบสภารูปแบบนี้ในประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติ (Commonwealth countries) เช่น ออสเตรเลีย มาเลเซีย บังกลาเทศ และแอฟริกาใต้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ‘ชาตียสังสัทภพัน’ (Jatiyo Sangshad) หรือ อาคารรัฐสภาแห่งชาติบังกลาเทศ ยังเป็นหนึ่งในอาคารรัฐสภาที่ได้รับการยอมรับทางสถาปัตยกรรมว่าสวยที่สุดในโลกอีกด้วย ซึ่งเป็นอาคารที่มาบรรจบกันเป็นรูปเกือกม้าออกแบบโดยสถาปนิก หลุยส์ คาห์น
4. รัฐสภาแบบวงกลม

รัฐสภาแบบ ‘วงกลม’ นั้นหายากมากและมีเพียงแค่รัฐสภา 9 แห่งในโลกเท่านั้น เช่น อุซเบกิสถาน เลโซโท และสโลวีเนีย เป็นต้น ที่จัดการประชุมในรูปแบบนี้ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก ‘อัลทิงกิ’ (Althing) รัฐสภาไอซ์แลนด์ในศตวรรษที่ 8 โดยมีแนวคิดที่แสดงถึง ‘ความเสมอภาคในหมู่สมาชิกรัฐสภา’
ในเวลาต่อมาช่วงทศวรรษ 1980 สภารูปแบบวงกลมถูกนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในพื้นที่ทางการเมือง หลังจาก กุนเตอร์ ไบนิช สถาปนิกชาวเยอรมันได้ออกแบบห้องประชุมใหญ่ของรัฐสภาเยอรมันตะวันตกในกรุงบอนน์เป็นรูปแบบวงกลม
แม้ว่ารัฐสภาที่ออกแบบโดยไบนิชจะไม่ค่อยได้ใช้หลังจากที่ย้ายไปกรุงเบอร์ลินหลัง เพราะเยอรมนีตะวันตกและออกรวมเป็นประเทศเดียวกันแล้ว แต่ทว่ารัฐสภารูปแบบวงกลมดังกล่าวก็ถูกนำมาสร้าง อีกครั้งในช่วงหลังสงครามเยอรมนีเพื่อเป็น ‘ตัวแทนของความเท่าเทียมกันในระบอบประชาธิปไตย’ นั่นเอง
ในเวลาต่อมาช่วงทศวรรษ 1980 สภารูปแบบวงกลมถูกนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในพื้นที่ทางการเมือง หลังจาก กุนเตอร์ ไบนิช สถาปนิกชาวเยอรมันได้ออกแบบห้องประชุมใหญ่ของรัฐสภาเยอรมันตะวันตกในกรุงบอนน์เป็นรูปแบบวงกลม
แม้ว่ารัฐสภาที่ออกแบบโดยไบนิชจะไม่ค่อยได้ใช้หลังจากที่ย้ายไปกรุงเบอร์ลินหลัง เพราะเยอรมนีตะวันตกและออกรวมเป็นประเทศเดียวกันแล้ว แต่ทว่ารัฐสภารูปแบบวงกลมดังกล่าวก็ถูกนำมาสร้าง อีกครั้งในช่วงหลังสงครามเยอรมนีเพื่อเป็น ‘ตัวแทนของความเท่าเทียมกันในระบอบประชาธิปไตย’ นั่นเอง
5. รัฐสภาแบบห้องเรียน

รัฐสภารูปแบบสุดท้ายจะมีลักษณะคล้าย ‘ห้องเรียน’ โดยสมาชิกรัฐสภานั่งเป็นแถวเรียงกันหันหน้าเข้าหาผู้ที่กำลังพูดอยู่กลางห้องโถง เราจะพบสภารูปแบบนี้ได้บ่อยในประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยต่ำ หรือในประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการและคอมมิวนิสต์ ได้แก่ รัฐสภารัสเซีย จีน และเกาหลีเหนือ
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตให้เห็นว่าขนาดสัดส่วนของหอประชุมที่ดูเหมือนจะแปรผกผันระหว่างจำนวนสมาชิกรัฐสภากับดัชนีความเป็นประชาธิปไตย กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ รัฐสภาในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยน้อยที่สุดจะประชุมกันในห้องโถงใหญ่ที่สุดนั่นเอง
ทั้งนี้ หากจะกล่าวว่า ‘สถาปัตยกรรมรัฐสภา’ แต่ละประเทศบนโลกใบนี้มีรากฐานการเมืองที่ไม่เหมือนกัน ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงความเป็นประชาธิปไตย ตามความเชื่อดั้งเดิมพวกเขาอาจมองว่าถ้าสร้างรูปแบบนี้จะช่วยหล่อรวมสมาชิกสภาให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้
ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น สภาพแวดล้อมของสภาไม่ได้เป็นตัวกำหนดความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือแม้แต่ความเป็นประชาธิปไตย ทว่ามันขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของสมาชิกสภา ความซื่อสัตย์ และความเสียสละมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติไปในทิศทางที่ดีขึ้นต่างหากล่ะ
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตให้เห็นว่าขนาดสัดส่วนของหอประชุมที่ดูเหมือนจะแปรผกผันระหว่างจำนวนสมาชิกรัฐสภากับดัชนีความเป็นประชาธิปไตย กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ รัฐสภาในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยน้อยที่สุดจะประชุมกันในห้องโถงใหญ่ที่สุดนั่นเอง
ทั้งนี้ หากจะกล่าวว่า ‘สถาปัตยกรรมรัฐสภา’ แต่ละประเทศบนโลกใบนี้มีรากฐานการเมืองที่ไม่เหมือนกัน ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงความเป็นประชาธิปไตย ตามความเชื่อดั้งเดิมพวกเขาอาจมองว่าถ้าสร้างรูปแบบนี้จะช่วยหล่อรวมสมาชิกสภาให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้
ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น สภาพแวดล้อมของสภาไม่ได้เป็นตัวกำหนดความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือแม้แต่ความเป็นประชาธิปไตย ทว่ามันขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของสมาชิกสภา ความซื่อสัตย์ และความเสียสละมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติไปในทิศทางที่ดีขึ้นต่างหากล่ะ