วิจัยชี้ ‘น้ำตาผู้หญิง’ ช่วยลดความ ‘ก้าวร้าว’ ของผู้ชายได้จริง

22 ธันวาคม 2566 - 06:39

human-tears-contain-substance-that-eases-aggression-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ผลวิจัยล่าสุดชี้ว่า ‘น้ำตาของมนุษย์’ มีสารที่ช่วยลดความก้าวร้าว

  • การได้กลิ่น-ดม น้ำตาของผู้หญิง ช่วยลดอาการก้าวร้าวของผู้ชายได้มากกว่า 40%

นักวิจัยกล่าวว่า ‘น้ำตาของมนุษย์’ มีสารที่ช่วยลดความก้าวร้าว ขณะที่การได้กลิ่นน้ำตาจากผู้หญิงช่วยลดอาการก้าวร้าวของผู้ชายได้มากกว่า 40% จากการทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์ และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองที่สอดคล้องกัน  

โนม โซเบล ศาสตราจารย์ด้านประสาทชีววิทยาจากสถาบันวิทยาศาสตร์ในอิสราเอลกล่าวว่า ความก้าวร้าวที่ลดลงนั้นน่าประทับใจสำหรับเรา เพราะดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นจริง น้ำตาสามารถลดความก้าวร้าวได้  

ชาร์ลส์ ดาร์วิน ผู้ที่เคยสับสนกับ ‘การร้องไห้’ เขียนไว้ใน The Expression of Emotions in Man and Animals ในปี 1872 ว่า การร้องไห้นั้น ‘ไร้จุดหมาย เหมือนกับการหลั่งน้ำตาจากการถูกกระแทกภายนอกดวงตา’

human-tears-contain-substance-that-eases-aggression-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: AFP / ANTHONY WALLACE

แต่ในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยได้เสนอบทบาททุกรูปแบบ ตั้งแต่การส่งสัญญาณถึงความอ่อนแอและการทำอะไรไม่ถูก ไปจนถึงการล้างแบคทีเรียออกจากดวงตา 

งานก่อนหน้านี้ในห้องทดลองของโซเบลพบว่า การดมน้ำตาของผู้หญิงช่วยลดฮอร์โมนเพศชายในผู้ชาย แต่ไม่ชัดเจนว่าสิ่งนี้ส่งผลต่อพฤติกรรมหรือไม่ ขณะที่ในสัตว์ภาพจะชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น หนูตุ่นต้องปกปิดตัวเองด้วยน้ำตาเพื่อปกป้องจากการถูกรุกราน 

สำหรับการศึกษาล่าสุด ชานี อักรอน และคนอื่นๆ ในห้องทดลองของโซเบลได้รวบรวมน้ำตาที่ไหลอาบใบหน้าของผู้หญิงขณะชมภาพยนตร์เศร้า การทดลองนี้ใช้ผู้ชาย 31 คน โดยให้ดมน้ำเกลือหรือน้ำตาของผู้หญิงก่อนที่จะให้ชายทั้งสองร่วมเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้จิตวิทยาเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมก้าวร้าว 

พบว่า พฤติกรรมก้าวร้าวลดลง 43.7% เมื่อผู้ชายดมน้ำตาของผู้หญิงเทียบกับน้ำเกลือ ขณะที่การทดสอบเพิ่มเติมในเครื่องสแกนสมองพบว่า ผู้ดมน้ำตามีการเชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่จัดการกับกลิ่นและความก้าวร้าวได้มากกว่า 

ปริศนาประการหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต้องเผชิญก็คือ แม้ว่าสัตว์ฟันแทะจะมีระบบประสาทสัมผัสที่สามารถตรวจจับสารดังกล่าวได้ แต่กับมนุษย์ไม่ได้ตรวจจับได้เช่นนั้น ในการทดสอบในห้องปฏิบัติการ นักวิจัยพบว่า ตัวรับรู้ 4 ประเภทในเซลล์ประสาทรับกลิ่น ถูกกระตุ้นโดยน้ำตาของมนุษย์ ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกมันอาจตอบสนองต่อสารที่ช่วยลดความก้าวร้าวได้ 

สารเคมีในน้ำตาไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนักต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้ใหญ่ โซเบลยอมรับแต่เขาคาดการณ์ว่าองค์ประกอบของน้ำตาอาจมีการพัฒนาเพื่อปกป้องทารกที่อ่อนแอ

human-tears-contain-substance-that-eases-aggression-SPACEBAR-Photo02.jpg

“เด็กทารกไม่สามารถพูดว่า ‘หยุดก้าวร้าวต่อฉันได้แล้ว’ พวกเขามีความสามารถในการสื่อสารที่จำกัดมาก และพวกเขาก็ทำอะไรไม่ถูกเช่นกัน และนั่นสะท้อนถึงความเป็นจริงอันน่าเศร้าของการรุกรานต่อเด็กทารก” เขากล่าว 

แอด วิงเกอร์โฮเอตส์ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ด้านอารมณ์และความเป็นอยู่ที่ดีที่มหาวิทยาลัยทิลเบิร์ก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยนี้ กล่าวว่า เป็นเรื่องสมเหตุสมผลถ้าน้ำตาจะยับยั้งความก้าวร้าวในทางใดทางหนึ่ง เพราะเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าทารกที่ร้องไห้ เนื่องจากตกอยู่ในความเสี่ยง ซึ่งการร้องไห้อาจช่วยให้พวกเขามีชีวิตรอดได้ 

มินนา ลีออนส์ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลกล่าวว่า ความก้าวร้าวที่ลดลงนั้นน่าทึ่งแต่เตือนว่า สิ่งสำคัญคือต้องทำการศึกษาซ้ำเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ก่อนที่จะสรุปผลที่ชัดเจน 

ลีออนส์ กล่าวว่า ในชีวิตจริงอาจแตกต่างกันออกไป น้ำตาอาจช่วยบรรเทาความก้าวร้าวได้เพียงเล็กน้อย บริบททางสังคมของการร้องไห้นั้นซับซ้อนมาก และเธอสงสัยว่าการลดความก้าวร้าวเป็นเพียงหนึ่งในความเป็นไปได้

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์