กัมพูชากำลังจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในดือนกรกฎาคมนี้ และขณะนี้ทุกคนกำลังจับจ้องไปที่ ฮุน มาเนต บุตรชายคนโตของนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ที่คาดว่าจะได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและจะได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกัมพูชาต่อจากผู้เป็นพ่อ
ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 2 ปีก่อน มีข่าวลือแพร่สะพัดว่า ฮุน มาเนต จะลงเลือกตั้งใหญ่ในปีนี้ในนามของหัวหน้าพรรค ประชาชนกัมพูชา (CPP) แต่ ฮุน เซน ปฏิเสธข่าวดังกล่าวโดยยืนยันว่า “ผมยังอยู่ในตำแหน่งนี้ ยังไม่มีหตุผลที่ลูกชายผมจะเป็นนายกฯ โอกาสที่เขาจะเป็นนายกฯ จะไม่เกิดขึ้นก่อนปี 2028 อาจจะเป็นช่วงปี 2028-2030 เขาต้องรอก่อน”
ในระหว่างนี้ ฮุน มาเนต วัย 46 ปีได้ก้าวเข้าสู่วงการการเมืองในฐานะตัวเต็งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามของพรรค CPP ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยคาดว่าพรรค CPP จะกวาดชัยชนะแบบแลนด์สไลด์
สน ชัย นักการเมืองฝ่ายค้านของกัมพูชาและรองประธานพรรคแสงเทียนเผยกับ VOA Khmer เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ว่า “เราชื่นชมกับประวัติการศึกษาและคุณสมบัติอื่นๆ ของ ฮุน มาเนต แต่เราต้องรอดูต่อไปว่าเขาจะแก้ปัญหาใหญ่ๆ ของประเทศ รวมทั้งการคอร์รัปชัน ความเป็นอิสระของตุลาการอย่างไร”
ฮุน มาเนต เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ของ CPP ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกๆ หลานๆ ของกลุ่มอนุรักษนิยมที่ต้องพยายามโน้มน้าวให้สังคมเห็นว่าพวกเขามีแนวคิดที่ทันสมัยสำหรับกัมพูชา โดยที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายอุปภัมภ์ที่สนับสนุนพรรครัฐบาล
เซบาสเตียน สแตรนจิโอ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Hun Sen’s Cambodia เผยกับ VOA Khmer ว่า “ฮุน เซน จะยังมีบทบาทสำคัญในการเมืองกัมพูชาต่อไปจนกว่าจะเสียชีวิตและหายไปจากฉากทางการเมืองอย่างถาวร แม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว เขาจะยังทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อสร้างสมดุลอำนาจภายใน CPP หากการเปลี่ยนผ่านอำนาจดำเนินไปอย่างราบรื่นและไร้เสียงคัดค้านจากภายในพรรค ผมเดาว่ามันจะเปลี่ยนไม่มาก”
เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา ฮุน มาเนต ได้รับเลื่อนขึ้นเป็นนายพล 4 ดาว ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับบรรดาผู้นำทหารระดับสูงรุ่นราวคราวเดียวกับ ฮุน เซน
การได้เลื่อนตำแหน่งในกองทัพมาพร้อมกับผลงานทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกคณะกรรมการถาวรที่ทรงอิทธิพลของพรรค และที่ผ่านมา ฮุน มาเนต กับน้องชายคือ ฮุน มานี ช่วยกันคุมงานการขยายเสียงสนับสนุนพรรค CPP ในกลุ่มคนกัมพูชารุ่นใหม่ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในปี 2013 ของพรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (CNRP) ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน
อัสทริดจ์ โนเรียน นิลส์สัน รองผู้บรรยายาวุโสของศูนย์เพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยลุนด์ในสวีเดนเผยว่า “การผลัดเปลี่ยนหลังจากผ่านมากว่า 40 ปีถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ การก้าวเข้ามาสู่อำนาจของคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีดีกรีด็อกเตอร์ เราอาจคาดหวังได้ว่าจะมีรัฐบาลที่สามารถเชื่อมโยงกับสังคมได้ด้วยแนวทางใหม่ๆ ที่แตกต่างจากรุ่นพ่อแม่ของพวกเขา”
อย่างไรก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหลังการเลือกตั้งในปีนี้ถือเป็นความท้าทายที่คนรุ่นใหม่ทางการเมืองของกัมพูชาต้องเผชิญ
เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กึม สุขา ผู้นำฝ่ายค้านกัมพูชาถูกสั่งกักบริเวณในบ้าน 25 ปี หลังจากนั้นในเดือนเดียวกันนักเคลื่อนไหวฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลถูกจับกุมในข้อหาโพสต์โซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์ ฮุน เซน และในเดือนกุมภาพันธ์ สำนักข่าว Voice of Democracy ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และถูกปิดเว็บไซต์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาเขมร
สแตรนจิโอเห็นด้วยว่าการเข้ามาของผู้นำพรรค CPP รุ่นใหม่ที่อายุน้อยกว่าแสดงถึง “การเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่นที่สำคัญ” แต่มองว่าระบบอุปภัมภ์ของพรรค CPP จะ “ขัดขวางการปฏิรูปครั้งใหญ่ๆ”
ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 2 ปีก่อน มีข่าวลือแพร่สะพัดว่า ฮุน มาเนต จะลงเลือกตั้งใหญ่ในปีนี้ในนามของหัวหน้าพรรค ประชาชนกัมพูชา (CPP) แต่ ฮุน เซน ปฏิเสธข่าวดังกล่าวโดยยืนยันว่า “ผมยังอยู่ในตำแหน่งนี้ ยังไม่มีหตุผลที่ลูกชายผมจะเป็นนายกฯ โอกาสที่เขาจะเป็นนายกฯ จะไม่เกิดขึ้นก่อนปี 2028 อาจจะเป็นช่วงปี 2028-2030 เขาต้องรอก่อน”
ในระหว่างนี้ ฮุน มาเนต วัย 46 ปีได้ก้าวเข้าสู่วงการการเมืองในฐานะตัวเต็งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามของพรรค CPP ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยคาดว่าพรรค CPP จะกวาดชัยชนะแบบแลนด์สไลด์
สน ชัย นักการเมืองฝ่ายค้านของกัมพูชาและรองประธานพรรคแสงเทียนเผยกับ VOA Khmer เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ว่า “เราชื่นชมกับประวัติการศึกษาและคุณสมบัติอื่นๆ ของ ฮุน มาเนต แต่เราต้องรอดูต่อไปว่าเขาจะแก้ปัญหาใหญ่ๆ ของประเทศ รวมทั้งการคอร์รัปชัน ความเป็นอิสระของตุลาการอย่างไร”
ฮุน มาเนต เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ของ CPP ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกๆ หลานๆ ของกลุ่มอนุรักษนิยมที่ต้องพยายามโน้มน้าวให้สังคมเห็นว่าพวกเขามีแนวคิดที่ทันสมัยสำหรับกัมพูชา โดยที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายอุปภัมภ์ที่สนับสนุนพรรครัฐบาล
เซบาสเตียน สแตรนจิโอ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Hun Sen’s Cambodia เผยกับ VOA Khmer ว่า “ฮุน เซน จะยังมีบทบาทสำคัญในการเมืองกัมพูชาต่อไปจนกว่าจะเสียชีวิตและหายไปจากฉากทางการเมืองอย่างถาวร แม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว เขาจะยังทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อสร้างสมดุลอำนาจภายใน CPP หากการเปลี่ยนผ่านอำนาจดำเนินไปอย่างราบรื่นและไร้เสียงคัดค้านจากภายในพรรค ผมเดาว่ามันจะเปลี่ยนไม่มาก”
เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา ฮุน มาเนต ได้รับเลื่อนขึ้นเป็นนายพล 4 ดาว ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับบรรดาผู้นำทหารระดับสูงรุ่นราวคราวเดียวกับ ฮุน เซน
การได้เลื่อนตำแหน่งในกองทัพมาพร้อมกับผลงานทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกคณะกรรมการถาวรที่ทรงอิทธิพลของพรรค และที่ผ่านมา ฮุน มาเนต กับน้องชายคือ ฮุน มานี ช่วยกันคุมงานการขยายเสียงสนับสนุนพรรค CPP ในกลุ่มคนกัมพูชารุ่นใหม่ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในปี 2013 ของพรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (CNRP) ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน
อัสทริดจ์ โนเรียน นิลส์สัน รองผู้บรรยายาวุโสของศูนย์เพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยลุนด์ในสวีเดนเผยว่า “การผลัดเปลี่ยนหลังจากผ่านมากว่า 40 ปีถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ การก้าวเข้ามาสู่อำนาจของคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีดีกรีด็อกเตอร์ เราอาจคาดหวังได้ว่าจะมีรัฐบาลที่สามารถเชื่อมโยงกับสังคมได้ด้วยแนวทางใหม่ๆ ที่แตกต่างจากรุ่นพ่อแม่ของพวกเขา”
อย่างไรก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหลังการเลือกตั้งในปีนี้ถือเป็นความท้าทายที่คนรุ่นใหม่ทางการเมืองของกัมพูชาต้องเผชิญ
เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กึม สุขา ผู้นำฝ่ายค้านกัมพูชาถูกสั่งกักบริเวณในบ้าน 25 ปี หลังจากนั้นในเดือนเดียวกันนักเคลื่อนไหวฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลถูกจับกุมในข้อหาโพสต์โซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์ ฮุน เซน และในเดือนกุมภาพันธ์ สำนักข่าว Voice of Democracy ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และถูกปิดเว็บไซต์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาเขมร
สแตรนจิโอเห็นด้วยว่าการเข้ามาของผู้นำพรรค CPP รุ่นใหม่ที่อายุน้อยกว่าแสดงถึง “การเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่นที่สำคัญ” แต่มองว่าระบบอุปภัมภ์ของพรรค CPP จะ “ขัดขวางการปฏิรูปครั้งใหญ่ๆ”

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ฮุน มาเนต กล่าวปราศรัยในงานสำคัญต่างๆ มากมายทั้งของโรงพยาบาล โรงเรียน วัด โรงงาน หรือแม้แต่โรงแรม เช่นเดียวกับที่ ฮุน เซน ทำมาตลอดหลายทศวรรษ นอกจากนี้ ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพบกกัมพูชาเขายังได้พบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมถึง 29 คน และผู้นำโลกอีกอย่างน้อย 10 คน รวมทั้งนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น และประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน
โซฟาล เอีย รองอธิการบดีและผู้ช่วยศาสตราจารย์จากวิทยาลัยการจัดการโลกธันเดอร์เบิร์ดแห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนามองว่า ที่ชัดเจนคือ ฮุน มาเนต ถูกเตรียมพร้อมให้ขึ้นมารับช่วงต่อ แต่ที่ยังไม่ค่อยชัดเจนคือ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ ฮุน มาเนต เข้ามา “มันชัดเจนว่าพ่ออยากให้ลูกรับช่วงต่อ...แต่เขา (ฮุน เซน) ก็ยังต้องรักษาอำนาจไว้”
ด้านประวัติการศึกษานั้น ฮุน มาเนต เข้าศึกษาที่วิทยาลัยกองทัพบกสหรัฐฯ ที่เมืองเวสต์พอยต์ ในวัย 18 ปี และจบการศึกษาเมื่อปี 1998 จบปริญญาเอกและโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กในปี 2002 และมหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2008
ชาย โสภา ผู้แต่ง The Prime Minister's Eldest Son: Journey Towards Turn เผยว่า “ภูมิหลังเกี่ยวกับกองทัพของเขา บวกกับภูมิหลังเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ทำให้เขากลายเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับผู้นำประเทศในอนาคต”
อู วิรัก ผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัย Future Forum ในกรุงพนมเปญเผยว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีของ ฮุน มาเนต จำเป็นต้องรักษามรดกของบิดาเอาไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามนำพาประเทศไปสู่ทิศทางใหม่ “ผมคิดว่าเขาจะทำทั้งสองอย่าง แต่ระบบจะเอื้อให้เขาทำทั้งสองอย่างหรือไม่ และคำตอบก็คือไม่ ผมว่าเป็นเรื่องยาก”
อู วิรักยังเตือนว่า กลุ่มต่างๆ ภายในพรรค CPP กำลังต้องการผลประโยชน์ ซึ่งนั่นจะสร้างความตึงเครียดอย่างมาก และ ฮุน มาเนต ต้องทำข้อตกลงมากมายในการเปลี่ยนผ่านนั้น และเผยอีกว่า การสืบทอดตำแหน่งของ ฮุน มาเนต อาจสำเร็จไปแล้ว แต่ความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยของเขาจะขึ้นอยู่กับว่า CPP จะจัดการกับการเลือกตั้งที่จะมาถึงอย่างไร
“ผมคิดว่าคณะรัฐบาลใหม่ รวมทั้งตัว ฮุน มาเนต เองด้วย ควรให้ประชาชนลงคะแนนในลักษณะที่น่าเชื่อถือมากขึ้น เพื่อที่พวกเขาจะได้รับอำนาจจากประชาชน” อู วิรักทิ้งท้าย
โซฟาล เอีย รองอธิการบดีและผู้ช่วยศาสตราจารย์จากวิทยาลัยการจัดการโลกธันเดอร์เบิร์ดแห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนามองว่า ที่ชัดเจนคือ ฮุน มาเนต ถูกเตรียมพร้อมให้ขึ้นมารับช่วงต่อ แต่ที่ยังไม่ค่อยชัดเจนคือ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ ฮุน มาเนต เข้ามา “มันชัดเจนว่าพ่ออยากให้ลูกรับช่วงต่อ...แต่เขา (ฮุน เซน) ก็ยังต้องรักษาอำนาจไว้”
ด้านประวัติการศึกษานั้น ฮุน มาเนต เข้าศึกษาที่วิทยาลัยกองทัพบกสหรัฐฯ ที่เมืองเวสต์พอยต์ ในวัย 18 ปี และจบการศึกษาเมื่อปี 1998 จบปริญญาเอกและโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กในปี 2002 และมหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2008
ชาย โสภา ผู้แต่ง The Prime Minister's Eldest Son: Journey Towards Turn เผยว่า “ภูมิหลังเกี่ยวกับกองทัพของเขา บวกกับภูมิหลังเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ทำให้เขากลายเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับผู้นำประเทศในอนาคต”
อู วิรัก ผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัย Future Forum ในกรุงพนมเปญเผยว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีของ ฮุน มาเนต จำเป็นต้องรักษามรดกของบิดาเอาไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามนำพาประเทศไปสู่ทิศทางใหม่ “ผมคิดว่าเขาจะทำทั้งสองอย่าง แต่ระบบจะเอื้อให้เขาทำทั้งสองอย่างหรือไม่ และคำตอบก็คือไม่ ผมว่าเป็นเรื่องยาก”
อู วิรักยังเตือนว่า กลุ่มต่างๆ ภายในพรรค CPP กำลังต้องการผลประโยชน์ ซึ่งนั่นจะสร้างความตึงเครียดอย่างมาก และ ฮุน มาเนต ต้องทำข้อตกลงมากมายในการเปลี่ยนผ่านนั้น และเผยอีกว่า การสืบทอดตำแหน่งของ ฮุน มาเนต อาจสำเร็จไปแล้ว แต่ความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยของเขาจะขึ้นอยู่กับว่า CPP จะจัดการกับการเลือกตั้งที่จะมาถึงอย่างไร
“ผมคิดว่าคณะรัฐบาลใหม่ รวมทั้งตัว ฮุน มาเนต เองด้วย ควรให้ประชาชนลงคะแนนในลักษณะที่น่าเชื่อถือมากขึ้น เพื่อที่พวกเขาจะได้รับอำนาจจากประชาชน” อู วิรักทิ้งท้าย