เมื่อสหรัฐฯ สอดแนมทั้งศัตรูและพันธมิตร

10 เม.ย. 2566 - 10:24

  • เอกสารลับสุดยอดที่หลุดออกมาสู่สาธารณชนเผยให้เห็นว่า สหรัฐฯ สอดแนมทั้งศัตรูและพันธมิตร

intelligence-leak-exposes-US-spying-on-adversaries-and-allies-SPACEBAR-Hero
เอกสารลับสุดยอดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่หลุดออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ทำให้ชาวโลกได้รับรู้ว่าสหรัฐฯ สอดแนมพันธมิตรและศัตรูอย่างไร กำลังสร้างความปวดหัวให้บรรดาเจ้าหน้าที่สหรัฐ เพราะเกรงว่าการเปิดเผยความลับนี้จะทำให้แหล่งข่าวตกอยู่ในอันตรายและจะสะเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

เอริค โมเลร์ นักวิเคราะห์ของ Bellingcat เว็บไซต์สื่อสารมวลชนเชิงสืบสวนในเนเธอร์แลนด์เผยว่า เอกสารที่ว่านี้ถูกแชร์ลงใน Discord แพลตฟอร์มพูดคุยที่ฮิตในหมู่เกมเมอร์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และ 2 มีนาคม โดยผู้ใช้แชร์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ชื่อ ‘Wow Mao’  

เอกสารทั้งหมดเป็นภาพถ่ายของแผ่นกระดาษที่อยู่บนนิตยสารล่าสัตว์ที่ผู้เชี่ยวชาญที่ได้เห็นบอกว่าเป็นเอกสารที่ถูกพับใส่กระเป๋าอย่างรีบเร่งแล้วนำออกมาจากพื้นที่ความมั่นคงเพื่อถ่ายภาพ 

ขณะที่ยังไม่ชัดเจนว่าเอกสารที่หลุดออกมามีเท่าไร แต่เอกสาร 50 หน้าที่สำนักข่าว The Washington Post ได้ตรวจสอบล้วนเกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองของสหรัฐเกือบจะทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) สำนักข่าวกรองกลาง (CIA) หน่วยข่าวกรองทหารสหรัฐฯ (DIA) หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และสำนักงานลาดตระเวนแห่งชาติ (NRO) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยข่าวกรองที่เป็นความลับที่สุดในรัฐบาล ซึ่งรับผิดชอบดาวเทียมสอดแนมมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

สงครามรัสเซีย-ยูเครน 

เรื่องหลักๆ ของเอกสารลับคือ ความกังวลเกี่ยวกับสงครามในยูเครนและการประเมินความขัดแย้งและทิศทางที่สงครามจะเป็นไป รวมทั้งจะจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์อะไรให้ยูเครนและจะตอบโต้ยุทธศาสตร์ในสนามรบของรัสเซียอย่างไร เช่น เอกสารสรุปการสู้รบในภูมิภาคดอนบัสของยูเครนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์คาดการณ์ว่า “การรณรงค์ทำลายล้าง” ของรัสเซียที่ “มีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ทางตัน จะขัดขวางเป้าหมายของมอสโกที่จะยึดครองทั้งภูมิภาคในปี 2023” 

นอกจากนี้ เอกสารยังระบุว่า ชุมชนข่าวกรองของสหัฐฯ สามารถแทรกซึมเข้าไปในกองทัพรัสเซียและผู้บัชาการอย่างล้ำลึกชนิดที่ว่าสหรัฐฯ สามารถเตือนยูเครนได้ล่วงหน้าว่ารัสเซียจะบุก และยังประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของกองทัพรัสเซียไว้ด้วย 

เอกสารแผ่นหนึ่งระบุว่า ชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ รู้ว่ากระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ส่งแผนการที่จะโจมตีที่ตั้งของกองทหารยูเครนในสองแห่งในวันที่กำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ และนักวางแผนทางทหารของรัสเซียกำลังเตรียมการโจมตีโรงงานพลังงานหลายสิบแห่งและสะพานในจำนวนเท่ากันในยูเครน และยังทราบถึงการวางแผนภายในของหน่วยข่าวกรองทหารรัสเซีย (GRU)  

นอกจากนั้นยังพูดถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่พร่องลงไปของกองทัพยูเครนหลังเผชิญสงครามมานานกว่า 1 ปีด้วย ในเวลาต่อมา ไมไคโล โปโดลยัค ที่ปรึกษาของยูเครนเผยในเทเลแกรมว่า เอกสารหลุดดังกล่าวเป็นของปลอม ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการจริงๆ ขงยูเครน และอ้างอิงจาก “ข้อมูลเท็จจำนวนมาก” ที่เผยแพร่โดยรัสเซีย ขณะที่แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี เผยกับ CNN ว่า ยูเครนได้เปลี่ยนแปลงแผนการทางทหารบางส่วนหลังเอกสารลับของสหรัฐฯ หลุดออกมา 

เครื่องมือลับ 

เรื่องที่สหรัฐฯ ประเมินเหตุกรต่างๆ จากหลายๆ แหล่งที่มาไม่ได้เป็นความลับ แต่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยว่า รายละเอียดเชิงลึกที่ถูกเปิดเผยออกมาอาจช่วยให้รัสเซียขัดขวางช่องทางในการรวบรวมข้อมูลของสหรัฐฯ เอกสารเกี่ยวกับสนามรบมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธะบุหนึ่งในแหล่งข่าวว่ามาจาก วิดีโออนุกรมเวลา LAPIS ซึ่งเป็นระบบดาวเทียมสุดล้ำที่ช่วยให้ถ่ายภาพบนพื้นดินได้อย่างชัดเจน และตอนนี้อาจตกเป็นเป้าการรบกวนสัญญาณจากรัสเซีย 

จุดชนวนความขัดแย้งทางการทูต 

เอกสารบางส่วนอาจสร้างความขัดแย้งทางการทูต เอกสารส่วนหนึ่งบอกว่ สหรัฐฯ สามารถเข้าถึงแผนการภายในของกลุ่ม Wagner ทหารรับจ้างของรัสเซียที่ส่งกองกำลังไปช่วยรัสเซียรบในยูเครน และพบว่ากลุ่ม Wagner พยายามจะซื้ออาวุธจากตุรกีซึ่งเป็นสมาชิกนาโต เอกสารฉบับหนึ่งระบุว่า ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ของ Wagner “พบกับฝ่ายตุรกีเพื่อซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อนำไปใช่ที่ยูเครนและมาลี” 

แม้ในรายงานจะไม่ได้ระบุชัดเจนว่ารัฐบาลตุรกีทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับความพยายามของกลุ่ม Wagner หรือการซื้อขายสำเร็จหรือไม่ แต่การเปิดเผยว่าสมาชิกนาโตอาจช่วยเหลือรัสเซียในการทำสงครามกับยูเครนอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ตุรกีพยายามขัดขวางไม่ให้สวีเดนเข้าร่วมกลุ่มนาโต 

แม้ว่าการสอดแนมจะเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่ชุมชนหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่นักการทูตจากบางประเทศที่ถูกกล่าวถึงเผยกับ CNN ว่าน่าผิดหวังที่ข้อมูลหลุดออกมาสู่สาธารณะ 

เจ้าหน้าที่รายหนึ่งจากประเทศที่เป็นสมาชิกกลุ่ม Five Eyes ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองระหว่างกันซึ่งประกอบด้วยสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักรเผยว่า “เราคาดหวังว่าสหรัฐฯ จะแบ่งปันการประเมินความเสียหายกับพวกเราในเร็ววันนี้ แต่เราไม่สามารถรอการประเมินของสหรัฐฯ ตอนนี้เรากำลังประเมินของเราเอง”  

การเลือกข้างในสงครามยูเครน 

รายงานเกี่ยวกับข้าวกรองที่หลุดออกมายังสะท้อนถึงการแบ่งกลุ่มทางภูมิรัฐศาสตร์ในสงครามยูเครน สรุปการวิเคราะห์จาก World Intelligence Review ซึ่งเป็นเอกสารรายวันสำหรับผู้กำหนดนโยบายระดับสูงโดย CIA ระบุว่า จีนจะมองการโจมตีเข้าไปในแผ่นดินของรัสเซียโดยยูเครนเป็นโอกาสในการตราหน้านาโตว่าเป็นฝ่ายรุกราน และจีนอาจเพิ่มการสนับสนุนไปยังรัสเซียหากจีนรู้สึกว่าการโจมตีเป็นเรื่องสำคัญ  

รายงานสรุปยังระบุอีกว่า การที่ยูเครนโจมตีรัสเซียโดยใช้อาวุธที่สหรัฐฯ และนาโตจัดหาให้อาจเป็นการบ่งชี้ให้จีนเห็นว่า “วอชิงตันเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระพือความขัดแย้ง” และอาจเป็นข้ออ้างอันชอบธรรมให้จีนจัดหาอาวุธให้รัสเซีย 

สหรัฐฯ สอดแนมพันธมิตรด้วย 

เอกสารหลุดบ่งชี้ว่าสหรัฐฯ ตามสอดแนมประเทศพันธมิตรอย่างเกาหลีใต้ อิสราเอล และยูเครนด้วย เอกสารลับฉบับหนึ่งรายงานว่า เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมสภาความมั่นคงแห่งชาติของเกาหลีใต้พยายามรับมือกับคำร้องขอของสหรัฐฯ ให้เกาหลีใต้เตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ยูเครนโดยต้องไม่เป็นการยั่วยุรัสเซียมากเกินไป โดยที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของเกาหลีใต้แนะนำว่าอาจขายยุทโธปกรณ์ให้กับโปแลนด์ซึ่งควบคุมเส้นทางการขนส่งอาวุธให้ยูเครน เพราะสหรัฐฯ ต้องการให้สิ่งของเหล่านี้ถึงมือยูเครนให้เร็วที่สุด ทั้งยังไม่ฝ่าฝืนนโยบายไม่จัดหาอาวุธให้กับประเทศที่กำลังทำสงครามด้วย 

เอกสารอีกฉบับหนึ่งเผยว่า สหรัฐฯ ก็สอดแนมผู้นำยูเครนด้วย ซึ่งแหล่งข่าวใกล้ชิดเซเลนสกีผยว่าไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ แต่ฝ่ายยูเครนรู้สึกผิดหวังอย่างมากที่เอกสารนั้นหลุดออกมา นอกจากนี้รายงานข่าวกรองของสหรัฐฯ ซึ่งอ้างข่าวกรองที่ได้จากการสกัดกั้นสัญญาณยังระบุว่า เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ เซเลนสกีแนะนำให้โจมตีกองกำลังของรัสเซียในภูมิภาครอสตอฟโดยใชโดรน เนื่องจากยูครนไม่มีอาวุธที่พิสัยไกลเพียงพอโจมตีเป้าหมายดังกล่าว 

สหรัฐฯ ประเมินนโยบายพันธมิตร 

เอกสารลับอีกฉบับหนึ่งเผยให้เห็นการประเมินนโยบายของประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ และการใช้อิทธิพลของสหรัฐฯ ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายเหล่านั้น เอกสารที่ใช้ชื่อว่า ‘อิสราเอล: เส้นทางจัดหาอาวุธร้ายแรงให้ยูเครน’ ระบุว่า อิสราเอล “มีแนวโน้มที่จะพิจารณาจัดหาวุธร้ายแรงภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ หรือความเสื่อมโทรมที่รับรู้ได้” ในความสัมพันธ์ของอิสราเอลกับรัสเซีย 

เอกสารอีกฉบับหนึ่งเผยว่าสหรัฐฯ คิดอย่างไรเกี่ยวกับการที่ประเทศในยุโรปบางประเทศจะบริจาคเครื่องบินรบให้ยูเครน โดยรายงานระบุว่า วันที่ 23 กุมภาพันธ์ บัลแกเรียแสดงความตั้งใจจะบริจาคเครื่องบิน MiG-29 ให้ยูเครน ซึ่งรายงานประเมินว่าเป็น “ความท้าทาย” เพราะจะทำให้บัลแกเรียไม่มีเครื่องบินรบสำหรับเติมเต็มภารกิจทางอากาศของตัวเองจนกว่าสหรัฐฯ จะส่งเครื่องบิน F-16 ให้บัลแกเรีย “ซึ่งต้องรออีกอย่างน้อย 1 ปีนับจากนี้” 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์