สื่อต่างชาติเกาะติดการเลือกตั้งไทย ผู้เชี่ยวชาญชี้ได้เสียงข้างมากก็ยังไม่ชัวร์

14 พ.ค. 2566 - 06:52

  • สื่อต่างชาติติดตามและรายงานบทวิเคราะห์การเลือกตั้งไทย รวมทั้งมีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง

international-news-agencies-covered-thailand-election-SPACEBAR-Thumbnail
บรรดาสื่อต่างประเทศต่างติดตามการเลือกตั้งของไทยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้ายและในวันนี้ที่คนไทยพากันออกไปใช้สิทธิใช้เสียง 

สำนักข่าว The Guardian รายงานสถานการณ์การเลือกตั้งของไทยโดยใช้พาดหัวข่าวว่า Thailand election day arrives with hope of unseating junta generals from power (วันเลือกตั้งของไทยมาถึงด้วยความหวังที่จะปลดนายพลรัฐบาลทหารออกจากอำนาจ) 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2kevyiMKlR2rc4zE3C4mOO/ffc8ea80a8bcbd12744c7d31541d6e4f/international-news-agencies-covered-thailand-election-SPACEBAR-Photo01
The Guardian ระบุว่า บรรดาคนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่ดูเหมือนว่า ส.ว.ที่ได้รับการแต่งตั้งจากทหารจะเป็นอุปสรรคต่อแคนดิเดตที่ไม่ใช่กลุ่มผู้มีอำนาจในการขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และว่า การเลือกตั้งในวันนี้อาจนำมาสู่ความพ่ายแพ้ของผู้นำที่มาจากทหารที่ปกครองประเทศมาเกือบ 1 ทศวรรษ 

นักวิเคราะห์มองว่า ระบบการเลือกตั้งที่บิดเบี้ยวทำให้รูปร่างหน้าตาของรัฐบาลคาดเดาไม่ได้ และยังไม่ชัดเจนว่าแคนดิเดตฝ่ายประชาธิปไตยจะโค่นเก้าอี้บรรดานายพลได้หรือไม่ ศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยกับ The Guardian ว่า “ผลการเลือกตั้งสามารถคาดเดาได้ง่าย แต่การจัดตั้งรัฐบาลเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้” 

ส่วนสำนักข่าว Al Jazeera เกาะติดการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิดโดยมีการอัปเดตข้อมูลการเลือกตั้งกันแบบสดๆ  

สำนักข่าว BBC ระบุว่า คูหาเลือกตั้งเปิดแล้วโดยลูกสาวของทักษิณเป็นตัวเต็ง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/nz2dlYoyvhr7xwMzElVuX/f18ebce3582a41f80d07105d262c1d16/international-news-agencies-covered-thailand-election-SPACEBAR-Photo_V01
สำนักข่าว CNN รายงานการเลือกตั้งในวันนี้ของไทยด้วยการอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งคร่าวๆ พร้อมกับบอกว่าใครคือผู้เล่นหลักในการเลือกตั้งครั้งนี้ และยังเผยแพร่บทความเมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่นเรื่อง “Thailand’s young voters spearhead ‘earth-shaking’ calls for change in military dominated kingdom” (คนรุ่นใหม่ของไทยทำหน้าที่เป็นหัวหอกในการเรียกร้องที่สั่นสะเทือนให้มีการเปลี่ยนแปลงในราชอาณาจักรที่มีทหารเป็นใหญ่) 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2MkIRkaXAG9CCy9fd05ZxB/c1049f2f6d3b5529678617e3fd3b1063/international-news-agencies-covered-thailand-election-SPACEBAR-Photo_V02
CNN ระบุว่า การเลือกตั้งในวันนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่มีคนรุ่นใหม่เป็นแกนนำเมื่อปี 2020 และเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อปี 2014 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้กลุ่มอนุรักษนิยมที่มีส่วนทำให้การเมืองไทยปั่นป่วนมาหลายสิบปีเข้มเเข็งขึ้น  

ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยกับ CNN ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งไหนๆ และมีความสำคัญมากที่สุด เพราะมีการขับเคลื่อนวาระต่างๆ เป็นการยกระดับไปสู่ขั้นต่อไป ไปสู่แก่นแท้ของปัญหาของประเทศไทย 

สำนักข่าว AP เผยแพร่บทความโดยใช้พาดหัวว่า “Thailand’s election may deliver mandate for change, but opposition victory may not assure power” (การเลือกตั้งของไทยอาจให้อำนาจในการเปลี่ยนแปลง แต่ชัยชนะของฝ่ายค้านอาจไม่สามารถยืนยันว่าจะได้มาซึ่งอำนาจ) 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5DAm7eKYYOzIvps1CUJzK7/cbbf06c665c27999ac837c1e36a09583/international-news-agencies-covered-thailand-election-SPACEBAR-Photo02
บทความของ AP ชี้ให้เห็นว่าชัยชนะของฝ่ายที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจเป็นของพรรคเพื่อไทยอาจเจออุปสรรคแม้จะได้สียงข้างมากในสภา เพราะที่ผ่านมากลุ่มอนุรักษนิยมที่ครองอำนาจอยู่แสดงให้เห็นหลายครั้งว่าสามารถโค่นรัฐบาลที่เป็นที่นิยมของประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งผ่านการทำรัฐประหาร และการยื่นเรื่องเพื่อตัดสิทธิทางการเมืองอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมทั้งบุคคลใกล้ชิด แม้ว่าพรรคของพวกเขาจะชนะเลือกตั้งมาแล้วในอดีต

ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้สัมภาษณ์ AP ว่า “ปัจจัยหลักอาจเป็เพราะประชาชนไม่ต้องการทนกับรัฐบาลเผด็จการที่ครองอำนาจมากว่า 9 ปีอีกต่อไป และประชาชนยังต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลายคนบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนความหวังของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในขณะเดียวกัน ยิ่งมีความหวังในการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเท่าใด พรรคอนุรักษนิยมที่กุมอำนาจอยู่ในปัจจุบันก็ยิ่งวิตกกังวลมากขึ้นเท่านั้น เราอาจได้เห็นการโต้กลับจากฝั่งอนุรักษนิยม จากการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมสุดโต่งเพื่อขัดขวางพรรคการเมืองบางพรรค”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์