ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนเจอพายุโหมกระหน่ำหลายลูก ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตที่ช้าลง อัตราว่างงานของคนรุ่นใหม่ นักลงทุนต่างประเทศหาย ตัวเลขส่งออกและค่าเงินอ่อนลง และวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์
เมื่อเร็วๆ นี้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ พูดไว้ว่า เศรษฐกิจจีนเหมือนกับ “ระเบิดเวลาที่กำลังเดินถอยหลัง” ส่วนประธานาธิบดี สีจิ้นผิง โต้กลับว่า เศรษฐกิจจีนยังแข็งแกร่ง มีศักยภาพ และคึกคัก
แล้วใครพูดถูกกันแน่ คำตอบคืออาจไม่มีใครผิดใครถูก
แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังไม่ระเบิดในเร็วๆ นี้ แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายอันใหญ่หลวงและฝังรากลึก
รัฐบาลจีนกลัวจะซ้ำรอยวิกฤตเมื่อปี 2008 ของสหรัฐฯ จึงจำกัดการกู้เงินของบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ทำให้บริษัทเหล่านี้หมุนเงินมาชำระหนี้ไม่ทัน จนหลายแห่งโดยเฉพาะเจ้าใหญ่ๆ อย่าง Evergrande ผิดนัดชำระหนี้ บวกกับขณะนี้ความต้องการที่อยู่อาศัยลดลง ราคาบ้านก็ตกลง ทำให้คนจีนที่ซื้อบ้านเหล่านี้ไว้จนลงตามไปด้วย
อลิเซีย การ์เซีย-เฮอร์เรโร นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทบริหารความมั่งคั่ง Natixis เผยกับ BBC ว่า “ในจีนอสังหาริมทรัพย์คือเงินออม จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ มันดูดีกว่าการนำเงินของคุณไปลงทุนในตลาดหุ้นที่บ้าคลั่งหรือบัญชีธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ”
การ์เซีย-เฮอร์เรโรเผยว่า “ก่อนหน้านี้มีแนวคิดว่าคนจีนจะพากันจับจ่ายใช้สอยเงินอย่างบ้าคลั่งหลังปลดล็อกมาตรการโควิดเป็นศูนย์ พวกเขาจะเดินทางท่องเที่ยว ไปปารีส ซื้อหอไอเฟล แต่ความจริงพวกเขารู้ว่าเงินก็บของตัวเองน่อยลงเพราะราคาบ้านตก ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจเก็บเงินสดที่มีไว้กับตัว”
ไม่เพียงแค่ทำให้คนจีนรู้สึกว่าตัวองจนลงเท่านั้น สถานการณ์แบบนี้ยังทำให้รัฐบาลท้องถิ่นเผชิญกับหนี้หนักขึ้นไปอีก มีการคาดการณ์ว่ากว่า 1 ใน 3 ของรายได้ท้องถิ่นหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากการขายที่ดินให้บริษัทพัฒนาสังหาฯ ซึ่งตอนนี้อยู่ในวิกฤตครั้งใหญ่ นักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่า ต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าวิกฤตอสังหาฯ ครั้งนี้จะเบาลง
ทว่านักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่าวิธีนี้เริ่มจะถึงทางตันแล้ว หนึ่งในตัวอย่างที่บ่งบอกว่าจีนชอบการก่อสร้างอยู่ที่มณฑลยูนนานติดกับชายแดนเมียนมา ปีนี้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของที่นั่นยังยืนยันว่าจะเดินหน้าแผนก่อสร้างศูนย์กักกันโควิด-19 มูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อไป
รัฐบาลท้องถิ่นที่มีหนี้ก้อนโตต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักในปีนี้ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับขายที่ดินให้ตัวเองเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการก่อสร้าง ประเด็นสำคัญคือ สิ่งที่จีนสร้างได้มีอยู่จำกัด ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ จีนจำเป็นต้องหาหนทางใหม่ในการสร้างความมั่งคั่งให้ประชากรของตัวเอง
อันโตนิโอ ฟาทาส ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากโรงเรียนธุรกิจ INSEAD ในสิงคโปร์เผยว่า “เรากำลังอยู่ในจุดของการเปลี่ยนแปลง โมเดลเก่าไม่ได้ผลแล้ว แต่เพื่อที่จะเปลี่ยนจุดสนใจ คุณต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างและสถาบันอย่างจริงจัง”
ฟาทาสยกตัวอย่างว่า หากจีนต้องการให้ภาคการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและแข่งขันกับสหรัฐฯ หรือยุโรป อันดับแรกรัฐบาลต้องผ่อนคลายข้อบังคับต่างๆ และยอมลดอำนาจเพื่อผลประโยชน์ของภาคเอกชน ทว่าในความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม รัฐบาลจีนควบคุมภาคการเงินอย่างเข้มงวด และปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ อย่างอาลีบาบา
สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาคือ การว่างงานของคนรุ่นใหม่ ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีการศึกษาดีหลายล้านคนทั่วประเทศจีนกำลังดิ้นรนเพื่อหางานทำที่ดีในเขตเมือง ตัวเลขดือน ก.ค.ที่ผ่านมาระบุว่า 21.3% ของคนอายุ 16-25 ตกงาน และในเดือนต่อมาทางการจีนก็ประกาศว่าจะไม่เปิดเผยตัวเลขดังกล่าวแล้ว เนื่องจากตัวเลขสูงเกิน
บางคนอาจแย้งว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุดมการณ์ทางการเมือง แต่ในบางครั้งจีนก็กลายเป็นเหยื่อของความสำเร็จของตัวเอง ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจดูต่ำเมื่อเทียบกับตัวเลขปีก่อนๆ ที่สูงกว่า นับตั้งแต่ปี 1989 เศรษฐกิจจีนโตเฉลี่ย 9% ต่อปี ส่วนในปีนี้คาดการณ์ไว้ที่ 4.5% แม้จะลดค่อนข้างมาก แต่ก็ยังถือว่าสูงเมื่อเทียบกับของสหรัฐฯ หรือสหราชอาณาจักร และประเทศในยุโรปส่วนใหญ่
แน่นอนว่าสีจิ้นผิงต้องการให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งอาจเป็นเหตุผลเบื้องหลังการเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมล้ำสมัย อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีสีเขียว โดยทั้งหมดนี้ทำให้จีนมีความสามารถในการแข่งขันทั่วโลกและลดการพึ่งพาประเทศอื่น
แนวคิดนี้อาจอธิบายได้ว่าทำไมรัฐบาลจีนจึงตอบสนองอย่างจำกัดต่อเศรษฐกิจที่ถดถอย จนถึงตอนนี้รัฐบาลจีนแทบจะไม่แตะอะไรเลย มีเพียงการผ่อนปรนข้อจำกัดการกู้เงินและลดดอกเบี้ยเล็กน้อย แทนที่จะอัดฉัดเงินจำนวนมากเข้าระบบเศรษฐกิจ
บรรดานักลงทุนต่างชาติในจีนต่างต้องการให้รัฐบาลลงมือให้รวดเร็ว แต่ดูเหมือนว่าผู้มีอำนาจจะเล่นเกมในระยะยาว แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนกลับมองว่า ระบอบเผด็จการไม่เหมาะกับความยืดหยุ่น
อย่างไรก็ดี ตอนนี้ยังทำได้เพียงคาดเดาเท่านั้น ก่อนหน้านี้จีนเคยรอดพ้นจากวิกฤตมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ที่แน่ๆ คือ ผู้นำจีนกำลังเผชิญกับความท้าทาย
เมื่อเร็วๆ นี้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ พูดไว้ว่า เศรษฐกิจจีนเหมือนกับ “ระเบิดเวลาที่กำลังเดินถอยหลัง” ส่วนประธานาธิบดี สีจิ้นผิง โต้กลับว่า เศรษฐกิจจีนยังแข็งแกร่ง มีศักยภาพ และคึกคัก
แล้วใครพูดถูกกันแน่ คำตอบคืออาจไม่มีใครผิดใครถูก
แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังไม่ระเบิดในเร็วๆ นี้ แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายอันใหญ่หลวงและฝังรากลึก
วิกฤตอสังหาฯ และครัวเรือนจนลง
ปัญหาหลักของเศรษฐกิจจีนคือ ตลาดอสังหาฯ ที่มีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจีดีพีประเทศ ตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมาภาคอสังหาฯ ของจีนเฟื่องฟูมากโดยได้อานิสงส์มาจากการเปลี่ยนมือธุรกิจไปสู่ภาคเอกชน แต่ก็ต้องสะดุดครั้งใหญ่เพราะวิกฤตในปี 2020 ทั้งจากการระบาดของโควิด-19 และการลดลงของประชากร ที่สวนทางกับการโหมทำโครงการที่พักอาศัยทั่วประเทศรัฐบาลจีนกลัวจะซ้ำรอยวิกฤตเมื่อปี 2008 ของสหรัฐฯ จึงจำกัดการกู้เงินของบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ทำให้บริษัทเหล่านี้หมุนเงินมาชำระหนี้ไม่ทัน จนหลายแห่งโดยเฉพาะเจ้าใหญ่ๆ อย่าง Evergrande ผิดนัดชำระหนี้ บวกกับขณะนี้ความต้องการที่อยู่อาศัยลดลง ราคาบ้านก็ตกลง ทำให้คนจีนที่ซื้อบ้านเหล่านี้ไว้จนลงตามไปด้วย
อลิเซีย การ์เซีย-เฮอร์เรโร นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทบริหารความมั่งคั่ง Natixis เผยกับ BBC ว่า “ในจีนอสังหาริมทรัพย์คือเงินออม จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ มันดูดีกว่าการนำเงินของคุณไปลงทุนในตลาดหุ้นที่บ้าคลั่งหรือบัญชีธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ”
การ์เซีย-เฮอร์เรโรเผยว่า “ก่อนหน้านี้มีแนวคิดว่าคนจีนจะพากันจับจ่ายใช้สอยเงินอย่างบ้าคลั่งหลังปลดล็อกมาตรการโควิดเป็นศูนย์ พวกเขาจะเดินทางท่องเที่ยว ไปปารีส ซื้อหอไอเฟล แต่ความจริงพวกเขารู้ว่าเงินก็บของตัวเองน่อยลงเพราะราคาบ้านตก ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจเก็บเงินสดที่มีไว้กับตัว”
ไม่เพียงแค่ทำให้คนจีนรู้สึกว่าตัวองจนลงเท่านั้น สถานการณ์แบบนี้ยังทำให้รัฐบาลท้องถิ่นเผชิญกับหนี้หนักขึ้นไปอีก มีการคาดการณ์ว่ากว่า 1 ใน 3 ของรายได้ท้องถิ่นหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากการขายที่ดินให้บริษัทพัฒนาสังหาฯ ซึ่งตอนนี้อยู่ในวิกฤตครั้งใหญ่ นักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่า ต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าวิกฤตอสังหาฯ ครั้งนี้จะเบาลง
โมเดลเศรษฐกิจที่มีข้อบกพร่อง
วิกฤตอสังหาฯ ครั้งนี้ทำให้เห็นปัญหาการทำหน้าที่ของเศรษฐกิจจีน การเติบโตอย่างน่าทึ่งของจีนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาถูกขับเคลื่อนด้วยการก่อสร้างทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง สะพาน ทางรถไฟ ไปจนถึงโรงงาน สนามบิน และบ้าน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นในการดำเนินการต่างๆ เหล่านี้ทว่านักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่าวิธีนี้เริ่มจะถึงทางตันแล้ว หนึ่งในตัวอย่างที่บ่งบอกว่าจีนชอบการก่อสร้างอยู่ที่มณฑลยูนนานติดกับชายแดนเมียนมา ปีนี้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของที่นั่นยังยืนยันว่าจะเดินหน้าแผนก่อสร้างศูนย์กักกันโควิด-19 มูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อไป
รัฐบาลท้องถิ่นที่มีหนี้ก้อนโตต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักในปีนี้ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับขายที่ดินให้ตัวเองเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการก่อสร้าง ประเด็นสำคัญคือ สิ่งที่จีนสร้างได้มีอยู่จำกัด ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ จีนจำเป็นต้องหาหนทางใหม่ในการสร้างความมั่งคั่งให้ประชากรของตัวเอง
อันโตนิโอ ฟาทาส ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากโรงเรียนธุรกิจ INSEAD ในสิงคโปร์เผยว่า “เรากำลังอยู่ในจุดของการเปลี่ยนแปลง โมเดลเก่าไม่ได้ผลแล้ว แต่เพื่อที่จะเปลี่ยนจุดสนใจ คุณต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างและสถาบันอย่างจริงจัง”
ฟาทาสยกตัวอย่างว่า หากจีนต้องการให้ภาคการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและแข่งขันกับสหรัฐฯ หรือยุโรป อันดับแรกรัฐบาลต้องผ่อนคลายข้อบังคับต่างๆ และยอมลดอำนาจเพื่อผลประโยชน์ของภาคเอกชน ทว่าในความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม รัฐบาลจีนควบคุมภาคการเงินอย่างเข้มงวด และปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ อย่างอาลีบาบา
สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาคือ การว่างงานของคนรุ่นใหม่ ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีการศึกษาดีหลายล้านคนทั่วประเทศจีนกำลังดิ้นรนเพื่อหางานทำที่ดีในเขตเมือง ตัวเลขดือน ก.ค.ที่ผ่านมาระบุว่า 21.3% ของคนอายุ 16-25 ตกงาน และในเดือนต่อมาทางการจีนก็ประกาศว่าจะไม่เปิดเผยตัวเลขดังกล่าวแล้ว เนื่องจากตัวเลขสูงเกิน
รัฐบาลจีนจะทำอะไรบ้าง
การเปลี่ยนแปลงทิศทางของเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนอุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งกรณีของจีนไม่น่าจะเปลี่ยนได้ ดูจากการที่พรรคคอมมิวนิสต์ควบคุมประชาชนอย่างเข้มงวดและการที่สีจิ้นผิงยังคุมพรรคคอมมิวนิสต์ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นบางคนอาจแย้งว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุดมการณ์ทางการเมือง แต่ในบางครั้งจีนก็กลายเป็นเหยื่อของความสำเร็จของตัวเอง ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจดูต่ำเมื่อเทียบกับตัวเลขปีก่อนๆ ที่สูงกว่า นับตั้งแต่ปี 1989 เศรษฐกิจจีนโตเฉลี่ย 9% ต่อปี ส่วนในปีนี้คาดการณ์ไว้ที่ 4.5% แม้จะลดค่อนข้างมาก แต่ก็ยังถือว่าสูงเมื่อเทียบกับของสหรัฐฯ หรือสหราชอาณาจักร และประเทศในยุโรปส่วนใหญ่
แน่นอนว่าสีจิ้นผิงต้องการให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งอาจเป็นเหตุผลเบื้องหลังการเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมล้ำสมัย อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีสีเขียว โดยทั้งหมดนี้ทำให้จีนมีความสามารถในการแข่งขันทั่วโลกและลดการพึ่งพาประเทศอื่น
แนวคิดนี้อาจอธิบายได้ว่าทำไมรัฐบาลจีนจึงตอบสนองอย่างจำกัดต่อเศรษฐกิจที่ถดถอย จนถึงตอนนี้รัฐบาลจีนแทบจะไม่แตะอะไรเลย มีเพียงการผ่อนปรนข้อจำกัดการกู้เงินและลดดอกเบี้ยเล็กน้อย แทนที่จะอัดฉัดเงินจำนวนมากเข้าระบบเศรษฐกิจ
บรรดานักลงทุนต่างชาติในจีนต่างต้องการให้รัฐบาลลงมือให้รวดเร็ว แต่ดูเหมือนว่าผู้มีอำนาจจะเล่นเกมในระยะยาว แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนกลับมองว่า ระบอบเผด็จการไม่เหมาะกับความยืดหยุ่น
อย่างไรก็ดี ตอนนี้ยังทำได้เพียงคาดเดาเท่านั้น ก่อนหน้านี้จีนเคยรอดพ้นจากวิกฤตมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ที่แน่ๆ คือ ผู้นำจีนกำลังเผชิญกับความท้าทาย