ญี่ปุ่นปรับภาพลักษณ์ ‘โอนิงิริ’ ใหม่จาก ‘ของว่าง’ สู่ ‘ข้าวปั้นสุดพรีเมียม’

16 กุมภาพันธ์ 2567 - 07:00

japans-humble-onigiri-rice-balls-get-image-upgrade-SPACEBAR-Hero.jpg
  • “ในปี 2022 โอนิงิริเป็นอาหารพร้อมรับประทานที่มีผู้ซื้อบ่อยเป็นอันดับ 2 ในญี่ปุ่น รองจากกล่องอาหารกลางวันพกพาเบ็นโตะ”

  • เจ้าของร้านโอนิงิริรายหนึ่งหวังว่าสักวันหนึ่ง ‘ข้าวปั้นห่อสาหร่าย’ จะโค่นบัลลังก์ ‘ซูชิ’ ในฐานะสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นได้

ข้าวปั้นห่อสาหร่ายพร้อมไส้แสนอร่อย ‘โอนิงิริ’ อาหารว่างขึ้นชื่อราคาถูกพกพาสะดวกของญี่ปุ่นที่ดึงดูดผู้คนและนักท่องเที่ยวให้มารับประทานเพิ่มมากขึ้นกำลังถูกปรับภาพลักษณ์ใหม่จากเดิมที่ไม่น่าดึงดูดในญี่ปุ่น แต่ตอนนี้กลายเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศ 

“ในอดีต ไม่มีใครมาระหว่างมื้อเที่ยงกับมื้อเย็น แต่ตอนนี้ลูกค้าเข้าคิวกันไม่หยุด ตอนที่ฉันยังเด็ก โอนิงิริเป็นสิ่งที่คุณจะทำที่บ้าน ตอนนี้ผู้คนซื้อโอนิงิริ หรือออกไปทานโอนิงิริกัน” ยูมิโกะ อูคอน เจ้าของร้าน ‘Onigiri Bongo’ วัย 71 ปีบอกกับ AFP 

แต่ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่แห่กันไปที่ญี่ปุ่นมากขึ้นกว่าเดิม และวัฒนธรรมป๊อปของประเทศที่กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โอนิงิริจึงกลายเป็นตัวเลือกสำหรับมื้อกลางวันในต่างประเทศด้วย 

จาก ‘อาหารว่าง’ สู่ ‘อาหารกลางวัน’ ราคาไม่แพง 

ตัวเลขจากกระทรวงกิจการภายในเผยว่า “การใช้จ่ายซื้อข้าวปั้นและผลิตภัณฑ์ข้าวปรุงสำเร็จอื่นๆ เพิ่มขึ้น 66% ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาในญี่ปุ่น”  

“ในปี 2022 โอนิงิริเป็นอาหารพร้อมรับประทานที่มีผู้ซื้อบ่อยเป็นอันดับ 2 ในญี่ปุ่น รองจากกล่องอาหารกลางวันพกพาเบ็นโตะ” ข้อมูลของสมาคมอาหารสำเร็จรูปแห่งญี่ปุ่นระบุ  

แนวโน้มดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากความต้องการอาหารแบบนำกลับบ้านในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ แต่ยังรวมถึงอัตราเงินเฟ้อด้วย โดยผู้คนเลือกโอนิงิริมากกว่ามื้ออาหารในร้านอาหารเพื่อประหยัดเงิน 

มิกิ ยามาดะ เจ้าของร้าน ‘Warai Musubi’ ซึ่งเป็นบริการจัดเลี้ยงที่เชี่ยวชาญด้าน ‘โอมุสุบิ’ ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของโอนิงิริกล่าวว่า “คนญี่ปุ่นมีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้งกับข้าว…ในศาสนาชินโต ข้าวเป็นเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้า และโอนิงิริรูปสามเหลี่ยมแบบดั้งเดิมอาจหมายถึงภูเขาซึ่งมีเทพเจ้าชินโตอาศัยอยู่มากมาย” เจ้าของร้านวัย 48 ปีกล่าว 

ยกระดับสู่ข้าวปั้นสุด ‘พรีเมี่ยม’

japans-humble-onigiri-rice-balls-get-image-upgrade-SPACEBAR-Photo01.jpg

ยามาดะซึ่งมีครอบครัวเป็นชาวนาในฟุกุชิมะเริ่มตระหนักถึงศักยภาพของโอนิงิริหลังจากคิดหาทางส่งเสริมข้าวของภูมิภาคหลังภัยพิบัตินิวเคลียร์ปี 2011 โดยเริ่มโพสต์ภาพข้าวปั้นบนโซเชียลมีเดีย และธุรกิจก็เติบโตขึ้นจากที่นั่น 

ลูกค้าส่วนใหญ่ถูกดึงดูดด้วยข้าวปั้น ‘พรีเมียม’ ที่ทำจากวัตถุดิบคุณภาพ โดยมีธัญพืชอื่นๆ ผสมอยู่ด้วยเพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น 

มิยูกิ คาวาราดะ ประธานร้าน ‘Taro Tokyo Onigiri’ วัย 27 ปีซึ่งเปิดร้าน 2 แห่งในเมืองหลวงเมื่อปี 2022 โดยขายโอนิงิริคุณภาพสูงในราคาร้านละ 430 เยน (ราว 103 บาท) 

คาวาราดะต้องการเปิดร้านอาหารโอนิงิริหลายสิบร้านในต่างประเทศ และคิดว่าสักวันหนึ่งขนมชนิดนี้อาจโค่นซูชิในฐานะสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงที่สุดของญี่ปุ่นได้ “โอนิงิริอาจเป็นวีแกนหรือฮาลาล (อาหารที่มุสลิมกินได้) ก็ได้ และสามารถปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้…ในญี่ปุ่นและต่างประเทศด้วย ฉันต้องการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของข้าวที่ล้าสมัย”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์