‘โรคปริศนา’ ระบาดคองโก! คร่าแล้วกว่า 50 ราย ตายหลังป่วยไม่กี่ชั่วโมง

27 ก.พ. 2568 - 08:59

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพพบ ‘โรคปริศนา’ ครั้งแรกในเด็ก 3 คนที่กินค้างคาวเข้าไป และในตอนนี้พบผู้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วมากกว่า 50 รายแล้วในคองโกตะวันตกเฉียงเหนือในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา

  • กระทรวงสาธารณสุขของคองโกเผยว่า ผู้ป่วยประมาณ 80% มีอาการคล้ายกัน เช่น ไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว และท้องเสีย

  • ในตอนแรกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกลัวว่าอาการต่างๆ และการเสียชีวิตอย่างรวดเร็วของผู้เสียชีวิตบางรายอาจเป็นสัญญาณของไข้เลือดออก เช่น ไวรัสอีโบลา ซึ่งเชื่อมโยงกับสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย

mystery-illness-congo-killed-more-than-50-people-hours-after-they-sick-SPACEBAR-Hero.jpg

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพพบ ‘โรคปริศนา’ ครั้งแรกในเด็ก 3 คนที่กินค้างคาวเข้าไป และในตอนนี้พบผู้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วมากกว่า 50 รายแล้วในคองโกตะวันตกเฉียงเหนือในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา 

“นั่นคือสิ่งที่น่ากังวลจริงๆ” เซอร์จ งาลาบาโต ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ของโรงพยาบาลบิโกโร ซึ่งเป็นศูนย์เฝ้าระวังระดับภูมิภาค กล่าว 

กระทรวงสาธารณสุขของคองโกเผยว่า ผู้ป่วยประมาณ 80% มีอาการคล้ายกัน เช่น ไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว และท้องเสีย แม้ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดจากการติดเชื้อทั่วไปหลายชนิด แต่ในตอนแรกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกลัวว่าอาการต่างๆ และการเสียชีวิตอย่างรวดเร็วของผู้เสียชีวิตบางรายอาจเป็นสัญญาณของไข้เลือดออก เช่น ไวรัสอีโบลา ซึ่งเชื่อมโยงกับสัตว์ที่ติดเชื้อด้วย 

‘อาการไข้เลือดออก’ ที่มักเชื่อมโยงกับไวรัสร้ายแรงที่ทราบกันดี เช่น อีโบลา ไข้เลือดออก ไข้มาร์บูร์ก และไข้เหลือง แต่จากการทดสอบตัวอย่างมากกว่า 12 ตัวอย่างที่รวบรวมมาจนถึงขณะนี้ นักวิจัยก็ตัดปัจจัยเหล่านี้ออกไปแล้ว 

โรคระบาดครั้งล่าสุดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเริ่มเมื่อวันที่ 21 มกราคม ซึ่งพบผู้ป่วยแล้ว 419 ราย และเสียชีวิต 53 ราย สำนักงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำแอฟริกาเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ว่า การระบาดเริ่มต้นขึ้นในหมู่บ้านโบโลโกหลังจากเด็ก 3 คนกินค้างคาวและเสียชีวิตภายใน 48 ชั่วโมง 

มากกว่า 2 สัปดาห์ต่อมามีรายงานการระบาดครั้งที่ 2 ในหมู่บ้านโบมาเต ซึ่งมีความร้ายแรงกว่า พบผู้ป่วยมากกว่า 400 คน แต่ไม่พบความเชื่อมโยงของโรคที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านทั้งสองแห่ง 

ดร.งากาเลบาโต เผยว่า “สถานการณ์ในหมู่บ้านทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันเล็กน้อย สำหรับครั้งแรกที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เรายังคงสืบสวนต่อไปเนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ส่วนครั้งที่ 2 ที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้นพบว่ามีผู้ป่วยมาเลเรียจำนวนมาก”  

สำนักงาน WHO แอฟริกา กล่าวว่า การลุกลามอย่างรวดเร็วจากความเจ็บป่วยสู่การเสียชีวิตในโบโลโกถือเป็นข้อกังวลสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนผู้เสียชีวิตที่สูงในโบมาเต  

มีข้อกังวลมานานแล้วว่าโรคต่างๆ อาจแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนในพื้นที่ที่สัตว์ป่าถูกนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลาย โดย WHO เปิดเผยในปี 2022 ว่าจำนวนการระบาดดังกล่าวในแอฟริกาพุ่งสูงขึ้นกว่า 60% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา 

หลังจากการระบาดของโรคปริศนาครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในหมู่บ้านโบมาเตเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ทาง WHO ได้ส่งตัวอย่างผู้ป่วย 13 รายไปยังสถาบันวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติในกรุงกินชาซา เมืองหลวงของคองโก เพื่อทำการทดสอบ โดยตัวอย่างทั้งหมดไม่พบเชื้อไข้เลือดออกทั่วไป แต่บางรายตรวจพบเชื้อมาเลเรีย 

เมื่อปีที่แล้ว โรคคล้ายไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปหลายสิบรายในพื้นที่ส่วนอื่นของคองโก ได้รับการยืนยันว่าน่าจะเป็นมาลาเรีย 

Photo : Shutterstock / Naeblys

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์