เวที COP28 จับมือ ‘ลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล’ ทั่วโลก! แม้มีเสียงค้านจากขาใหญ่ผลิตน้ำมัน

14 ธ.ค. 2566 - 06:25

  • ผู้แทนจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก เห็นพ้องว่าจะเริ่มลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย

nations-strike-deal-cop28-transition-away-fossil-fuels-SPACEBAR-Hero.jpg

ประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศของ COP28 ซึ่งมี่ผู้แทนจากเกือบ 200 ประเทศเข้าร่วม เห็นพ้องข้อตกลงเริ่มลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย ซึ่งจะส่งสัญญาณถึงการสิ้นสุดของยุคน้ำมันในที่สุด 

ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นที่ดูไบหลังจากการเจรจาที่ยาวนานถึง 2 สัปดาห์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งข้อความอันทรงพลังไปยังนักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายว่าโลกปรารถนาที่จะทำลายเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นความหวังสุดท้ายที่ดีที่สุดที่จะหยุดยั้งภัยพิบัติทางสภาพอากาศ 

สุลต่าน อัล-จาเบอร์ ประธานการประชุม COP28 เรียกข้อตกลงนี้ว่าเป็น ‘ประวัติศาสตร์’ แต่ความสำเร็จที่แท้จริงของข้อตกลงนี้อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ 

สุลต่าน อัล-จาเบอร์ กล่าวว่า มันขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่สิ่งที่เราพูด เราต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็น เพื่อเปลี่ยนข้อตกลงนี้ให้เป็นการกระทำที่จับต้องได้  

“นี่เป็นครั้งแรกที่โลกรวมตัวกันโดยมีข้อความที่ชัดเจนเกี่ยวกับความจำเป็นในการเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล” เอสเพ็น บาร์ธ อิธ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์กล่าว 

กว่า 100 ประเทศทั่วโลกพยายามกดดันให้ใช้ถ้อยคำที่รุนแรงในข้อตกลง COP28 เพื่อ ‘ยุติ’ การใช้น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน แต่กลับถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย ซึ่งกล่าวว่าโลกสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ โดยไม่ต้องเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

nations-strike-deal-cop28-transition-away-fossil-fuels-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: Giuseppe CACACE / AFP

การต่อสู้ดังกล่าวทำให้ผู้สังเกตการณ์บางคนกังวลว่าการเจรจาจะสิ้นสุดลงด้วยทางตัน

สมาชิกองค์กรของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันควบคุมเกือบ 80% ของปริมาณสำรองน้ำมันของโลก คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตน้ำมันทั่วโลก และรัฐบาลขององค์กรเหล่านี้พึ่งพารายได้เหล่านั้นอย่างมาก 

ขณะเดียวกัน รัฐหมู่เกาะขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่สนับสนุนการเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากที่สุด และได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และนอร์เวย์ ตลอดจนสหภาพยุโรป และรัฐบาลอื่นๆ 

แอนน์ รัสมุสเซน หัวหน้าผู้เจรจาของกลุ่มพันธมิตรรัฐเกาะเล็กๆ วิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงดังกล่าวว่าไม่ทะเยอทะยาน เราทำสิ่งต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งที่ความต้องการของเราจริงๆ คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 

แดน ยอร์เกนเซน รัฐมนตรีกระทรวงสภาพภูมิอากาศและพลังงานของเดนมาร์กกล่าวว่า เรากำลังยืนอยู่ที่นี่ในประเทศน้ำมัน ที่รายล้อมไปด้วยประเทศน้ำมัน และเราก็ตัดสินใจกันว่าเรามาเลิกใช้น้ำมันและก๊าซกันดีกว่า

nations-strike-deal-cop28-transition-away-fossil-fuels-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: Giuseppe CACACE / AFP

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ข้อตกลงดังกล่าวเรียกร้องให้เปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบพลังงาน ในลักษณะที่ยุติธรรม เป็นระเบียบ และเท่าเทียม เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายภายในปี 2050 ซึ่งรัฐบาลบางแห่งออกนโยบายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

ยุโรปและสหรัฐฯ ยกเลิกใช้กองเรือของโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้ว การติดตั้งกำลังการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนทั่วโลกอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และหลายประเทศมีนโยบายส่งเสริมการขายรถยนต์ไฟฟ้า 

ข้อตกลงดังกล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆ เร่งดำเนินการโดยเฉพาะการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก 3 เท่าภายในปี 2030 เร่งความพยายามในการลดการใช้ถ่านหิน

nations-strike-deal-cop28-transition-away-fossil-fuels-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo: Giuseppe CACACE / AFP

จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป?  

ขณะนี้ข้อตกลงได้รับการเห็นพ้องเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ประเทศต่างๆ จะต้องอัปเดตแผนระดับชาติของตัวเองในปี 2025 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยระบุรายละเอียดว่าจะลดมลพิษที่ทำให้โลกร้อนลงได้มากเพียงใดภายในปี 2035 

สหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่ปล่อยก๊าซรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ร่วมกันให้คำมั่นว่าแผนของทั้งสองประเทศจะครอบคลุมมลพิษทางอากาศ และลดการปล่อยก๊าซที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ เช่น มีเทนและไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นพันธสัญญาสำคัญจากประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าประเทศอื่นๆ ในโลกที่พัฒนาแล้วรวมกัน 

จอห์น เคอร์รี ทูตพิเศษด้านสภาพอากาศของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันพุธ (13 ธ.ค.) ว่า ทั้งสองประเทศกำลังสนับสนุนให้ประเทศอื่นๆ ในโลกปฏิบัติตามอย่างแข็งขัน แต่จำเป็นต้องมีความทะเยอทะยานมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 

“นั่นคือความท้าทายของเรา ทำให้เร็วขึ้นอีก และขยายให้กว้างขึ้น เร็วขึ้น” เคอร์รีกล่าว 

หลังจากนี้ความสนใจจะย้ายไปที่การประชุมสุดยอดปีหน้า เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกประเทศเจ้าภาพครั้งต่อไปเต็มไปด้วยปัญหา เพราะอาเซอร์ไบจานซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่อีกประเทศหนึ่งได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการเจรจาในปี 2024

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์