บราซิลพบพืชใหม่สรรพคุณคล้ายกัญชาแต่ไม่ทำให้เสพติด

5 ก.ค. 2566 - 04:46

  • ต้นพังแหร (Trema micrantha blume) เป็นพืชบ้านที่เติบโตอย่างเร็ว มีถิ่นกำเนิดในสหรัฐฯ ซึ่งมันค่อนข้างแพร่หลายและมักถูกมองว่าเป็น ‘วัชพืช’

  • ล่าสุดมีการค้นพบว่าผลและดอกของมันมีส่วนประกอบของ CBD หรือ cannabidiol แบบเดียวกันกับที่พบได้ในกัญชา

new_cbd_source_found_in_brazil_SPACEBAR_Hero_193affe81e.jpeg
ต้นพังแหร (Trema micrantha blume) เป็นพืชบ้านที่เติบโตอย่างเร็ว มีถิ่นกำเนิดในสหรัฐฯ ซึ่งค่อนข้างแพร่หลายและมักถูกมองว่าเป็น ‘วัชพืช’ แต่ล่าสุดมีการค้นพบว่าผลและดอกของมันมีส่วนประกอบของ CBD หรือ cannabidiol แบบเดียวกันกับที่พบได้ในกัญชา แต่ไม่มี THC ที่ทำให้เสพติดอย่างในกัญชา 

มูรา เนโตะ หนึ่งในนักวิจัยที่ค้นคว้าเรื่องนี้มากว่า 5 ทศวรรษ ค้นพบว่าสาร CBD ดังกล่าวสามารถรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคลมบ้าหมู ออทิสติก ความวิตกกังวล และอาการปวดเรื้อรังได้ นอกจากนี้ เขายังพบว่ามันไม่มีส่วนผสมของสาร THC ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่ทำให้มนุษย์มึนเมาอีกด้วย

นี่ถือเป็นการเปิด ‘โอกาส’ ใหม่ของแหล่ง CBD โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ อย่างเช่น กัญชา ที่ยังคงผิดกฎหมายในหลายๆ ประเทศ 

“เป็นเรื่องวิเศษมากที่ได้พบพืชที่มี CBD แต่ไม่มีสาร THC เพราะเรา (อาจจะ) ต้องหลีกเลี่ยงการข้องเกี่ยวกับสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท” เนโตะกล่าวพร้อมเสริมว่า การค้นพบดังกล่าวจะมีศักยภาพมหาศาล โดยทีมงานของเขาเพิ่งได้รับเงินทุนจำนวน 104,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 3.6 ล้านบาท เพื่อขยายการศึกษา ซึ่งก็คือการสกัดสาร CBD จากต้นพังแหรนี้เพื่อใช้แทนกัญชาทางการแพทย์  

ความต้องการ CBD ที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม การใช้ CBD ทางการแพทย์ ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย เนื่องจากสารประกอบดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกัน รวมถึงในบราซิล ซึ่งผู้ป่วยได้ขึ้นศาลฯ เพื่อขอรับสิทธิในการใช้สารประกอบดังกล่าว บ่อยครั้งที่พวกเขาต้องนำเข้ากัญชาในราคาที่สูงลิ่ว เนื่องจากการปลูกกัญชาทางการแพทย์ยังคงผิดกฎหมาย แม้ว่าจะมีกฎหมายก่อนที่รัฐสภาจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม 

ตลาดทั่วโลกสำหรับ CBD ในปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1.7 หมื่นล้านบาท Vantage Market Research บริษัทด้านการวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดจะเติบโตมากกว่า 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1.6 ล้านล้านบาท ภายในปี 2028 โดยได้รับแรงหนุนหลักจากการใช้งานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 

อย่างไรก็ตาม เนโตะกล่าวว่า เขาจะไม่จดสิทธิบัตรต้นพังแหร เนื่องจากเขาต้องการให้นักวิทยาศาสตร์ทุกคนสามารถวิจัยได้ และทิ้งท้ายไว้ว่า ‘ถ้าผมฝันจะเป็นเศรษฐี ผมคงไม่มาเป็นศาสตราจารย์หรอก’

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์