จับอดีตปธน. ‘ดูเตอร์เต’ สะท้อนสองตระกูลใหญ่การเมืองฟิลิปปินส์ขัดแย้งร้าวลึก

12 มี.ค. 2568 - 07:47

  • ปี 2025 ถือเป็นปีแห่งหายนะสำหรับตระกูล “ดูเตอร์เต” คนพ่อถูกจับกุมเมื่อวันที่ 11 มี.ค. โทษฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ คนลูกซึ่งเป็นรอง ปธน. ถูกยื่นถอดถอนเมื่อเดือน ก.พ. ข้อหาวางแผนลอบสังหารประธานาธิบดี

  • สงครามเอพิโสดล่าสุดระหว่างมาร์กอสและดูเตอร์เตเป็นการเพิ่มหลักฐานว่า การเลือกตั้งกลางเทอมที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.นี้ จะเป็นตัวตัดสินการแบ่งขั้วระหว่างตระกูลการเมือง 2 ตระกูลนี้   

philippine-duterte-arrest-takes-marcos-duterte-feud-to-new-level-chaos-SPACEBAR-Hero.jpg

การจับกุมตัวอดีตประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต ของฟิลิปปินส์ ทำให้ความขัดแย้งระหว่างสองครอบครัวการเมืองที่ยิ่งใหญ่ของฟิลิปปินส์อย่าง “ดูเตอร์เต” และ “มาร์กอส” ยิ่งร้าวลึก 

นับจนถึงตอนนี้ ปี 2025 ถือเป็นปีแห่งหายนะสำหรับตระกูล “ดูเตอร์เต” จากการเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของฟิลิปปินส์ สู่วันที่ โรดริโก ดูเตอร์เต ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 11 มี.ค. โทษฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ 

ศาลอาญาระหว่างประทศ (ICC) กำลังสืบสวนสอบสวนการทำสงครามปราบปรามยาเสพติดอย่างดุเดือดรุนแรงของดูเตอร์เต ซึ่งเป็นการกวาดล้างอย่างเป็นระบบและนองเลือด โดย ICC ประเมินว่าส่งผลให้ชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนยากจนเสียชีวิตราว 12,000-30,000 คน 

ดูเตอร์เตโต้ว่าการวิสามัญฆาตกรรมเป็นความจำเป็นเพื่อบังคับใช้กฎหมายและสร้างความสงบเรียบร้อยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนโดยรวม อย่างไรก็ดี มันยังเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่ดูเตอร์เตได้โจมตีสถาบันประชาธิปไตยและกลุ่มประชาสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายเสรีนิยมและประชานิยมของเขาด้วย 

การบังคับใช้หมายจับของ ICC ที่สร้างความประหลาดใจ 

ดูเตอร์เตมั่นใจมากว่าตัวเองจะไม่ต้องรับผิดจากศาลอาญาระหว่างประเทศ และก็เป็นดูเตอร์เตเองที่พาฟิลิปปินส์ถอนตัวออกจากการเป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรมซึ่งกำหนดให้มีศาลอาญาระหว่างประเทศ 

เรื่องที่น่าประหลาดใจคือ คดีของดูเตอร์เตถูกดำเนินไปอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ยื่นฟ้องเมื่อปี 2018 เมื่อเทียบกับคดีก่อนๆ ของ ICC ดูเตอร์เตมักจะวิจารณ์ ICC อย่างดุเดือดว่า เป็นศาลที่มีอคติแบบตะวันตกซึ่งมุ่งเป้าไปที่การบ่อนทำลายอธิปไตยของรัฐ ทำนองเดียวกับเสียงวิจารณ์จากรัสเซียและจีน 

ก่อนหน้านี้ตระกูลดูเตอร์เต รวมทั้ง ซารา ดูเตอร์เต รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟิลิปปินส์ เชื่อมั่นในสถานการณ์ของตัวเอง เนื่องจากประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ บองบอง มาร์กอส จูเนียร์ ให้หคำมั่นว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีเขตอำนาจศาลในฟิลิปปินส์

philippine-duterte-arrest-takes-marcos-duterte-feud-to-new-level-chaos-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: ผู้ประท้วงรวมตัวกันจุดเทียนไว้อาลัยและเรียกร้องความยุติธรรมให้เหยื่อสงครามปราบยาเสพติดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. ในเมืองเกซอนซิตี หลังการจับกุมตัวอดีต ปธน.ดูเตอร์เต Photo by Earvin Perias / AFP

ประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอย

พันธมิตรทางการเมืองและผู้สนับสนุนของดูเตอร์เตพากันฟูมฟายและกล่าวหาว่ารัฐใช้อำนาจในทางที่ผิดอย่างร้ายแรง 

แต่ที่ย้อนแย้งคือ การทำสงครามกับยาเสพติดของดูเตอร์เตก็ถูกมองว่ารัฐใช้อำนาจในทางที่ผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นการลัดขั้นตอน ทำลายเสรีภาพของพลเมือง และกัดกร่อนหลักนิติธรรมของฟิลิปปินส์ เมื่อฟิลิปปินส์ต้องยืมมือศาลระหว่างประเทศเพื่อให้มีคนรับผิดต่อคดีอาญาและสิทธิมนุษยชน มันก็เหมือนเป็นคำตัดสินที่พิสูจน์ความผิดของหลักคุณธรรมและคุณภาพของประชาธิปไตย 

สงครามเอพิโสดล่าสุดระหว่างมาร์กอสและดูเตอร์เตเป็นการเพิ่มหลักฐานว่า การเลือกตั้งกลางเทอมที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.นี้ จะเป็นตัวตัดสินการแบ่งขั้วระหว่างตระกูลการเมือง 2 ตระกูลนี้ แต่เรายังต้องดูกันต่อไปว่าการจับกุมดูเตอร์เตจะนำมาซึ่งการกักขังหรือไม่ เพราะดูเตอร์เตลงทะเบียนสมัครชิงเก้าอี้นายกเทศมนตรีเมืองดาเวาซึ่งเป็นพื้นที่ฐานเสียงของตะกูลดูเตอร์เตเรียบร้อยแล้ว 

ครั้งสุดท้ายที่อดีตประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมถูกควบคุมตัวเกิดขึ้นในปี 2001 เมื่อการจับกุมตัว โจเซฟ เอสตราดา นำมาสู่การประท้วงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่เกือบโค่นรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น  

และใน “ศึกชิงบัลลังก์” ในประเทศประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียน ความขัดแย้งระหว่าง “บ้านใหญ่”  มักส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมือง ความหายนะทางเศรษฐกิจ และการถดถอยของระบอบประชาธิปไตย 

หากกลุ่มอีลีทไม่ถูกจำกัดและสถาบันต่างๆ ทำงานต่อไปไม่ได้ ฟิลิปปินส์ก็อาจต้องเผชิญกับประวัติศาสตร์ที่น่าเศร้าอีกครั้ง 

Photo by Holmes CHAN / AFP

philippine-duterte-arrest-takes-marcos-duterte-feud-to-new-level-chaos-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: ภาพวาดล้อเลียน ปธน. มาร์กอส จูเนียร์ (ซ้าย) และรอง ปธน. ซารา ดูเตอร์เต ของกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงมะนิลาเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2024 Photo by Ted ALJIBE / AFP

ประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอย 

พันธมิตรทางการเมืองและผู้สนับสนุนของดูเตอร์เตพากันฟูมฟายและกล่าวหาว่ารัฐใช้อำนาจในทางที่ผิดอย่างร้ายแรง 

แต่ที่ย้อนแย้งคือ การทำสงครามกับยาเสพติดของดูเตอร์เตก็ถูกมองว่ารัฐใช้อำนาจในทางที่ผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นการลัดขั้นตอน ทำลายเสรีภาพของพลเมือง และกัดกร่อนหลักนิติธรรมของฟิลิปปินส์ เมื่อฟิลิปปินส์ต้องยืมมือศาลระหว่างประเทศเพื่อให้มีคนรับผิดต่อคดีอาญาและสิทธิมนุษยชน มันก็เหมือนเป็นคำตัดสินที่พิสูจน์ความผิดของหลักคุณธรรมและคุณภาพของประชาธิปไตย 

สงครามเอพิโสดล่าสุดระหว่างมาร์กอสและดูเตอร์เตเป็นการเพิ่มหลักฐานว่า การเลือกตั้งกลางเทอมที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.นี้ จะเป็นตัวตัดสินการแบ่งขั้วระหว่างตระกูลการเมือง 2 ตระกูลนี้ แต่เรายังต้องดูกันต่อไปว่าการจับกุมดูเตอร์เตจะนำมาซึ่งการกักขังหรือไม่ เพราะดูเตอร์เตลงทะเบียนสมัครชิงเก้าอี้นายกเทศมนตรีเมืองดาเวาซึ่งเป็นพื้นที่ฐานเสียงของตะกูลดูเตอร์เตเรียบร้อยแล้ว 

ครั้งสุดท้ายที่อดีตประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมถูกควบคุมตัวเกิดขึ้นในปี 2001 เมื่อการจับกุมตัว โจเซฟ เอสตราดา นำมาสู่การประท้วงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่เกือบโค่นรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น  

และใน “ศึกชิงบัลลังก์” ในประเทศประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียน ความขัดแย้งระหว่าง “บ้านใหญ่”  มักส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมือง ความหายนะทางเศรษฐกิจ และการถดถอยของระบอบประชาธิปไตย 

หากกลุ่มอีลีทไม่ถูกจำกัดและสถาบันต่างๆ ทำงานต่อไปไม่ได้ ฟิลิปปินส์ก็อาจต้องเผชิญกับประวัติศาสตร์ที่น่าเศร้าอีกครั้ง 

Photo by Holmes CHAN / AFP

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์