photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo01.jpg
photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo02.jpg
photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo03.jpg
photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo04.jpg
photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo05.jpg

Photo Story : กล้องเจมส์ เวบบ์ เผยภาพแวววาวของ ‘กาแล็กซีกังหัน’ 19 แห่ง

2 กุมภาพันธ์ 2567 - 07:27

  • จากในภาพเผยให้เห็นกาแล็กซีแต่ละแห่งซึ่งมีแขนกังหันที่เต็มไปด้วยดวงดาว ศูนย์กลางของกาแล็กซีแต่ละแห่งมีกระจุกดาวอายุมากหรือหลุมดำมวลมหาศาล

  • ภาพถ่ายของเวบบ์ยังช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจการกำเนิดดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของกาแล็กซีกังหันได้ดีขึ้น

photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo01.jpg
photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo02.jpg
photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo03.jpg
photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo04.jpg
photo-story-mind-blowing-reveal-19-galaxies-SPACEBAR-Photo05.jpg

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ จับภาพอันแวววาวของ ‘กาแล็กซีกังหัน’ 19 แห่ง (spiral galaxies) และดาวหลายล้านดวง 

นักดาราศาสตร์เชื่อว่าประมาณ 60% ของกาแล็กซีทั้งหมดเป็นกาแล็กซีกังหัน และระบบสุริยะของเราอยู่ในแขนกังหันแขนหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก ทั้งนี้ ภาพถ่ายของเวบบ์ยังช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจการกำเนิดดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของกาแล็กซีกังหันได้ดีขึ้น 

จากในภาพเผยให้เห็นกาแล็กซีแต่ละแห่งซึ่งมีแขนกังหันที่เต็มไปด้วยดวงดาว ศูนย์กลางของกาแล็กซีแต่ละแห่งมีกระจุกดาวอายุมากหรือหลุมดำมวลมหาศาล 

“ภาพใหม่ของเวบบ์นั้นพิเศษมาก พวกมันน่าทึ่งมาก” เจนิซ ลี นักวิทยาศาสตร์โครงการสำหรับภารกิจใหม่และความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศในบัลติมอร์กล่าวในแถลงการณ์  

นอกจากนี้ นักดาราศาสตร์ยังใช้กล้องอินฟราเรดใกล้ของเวบบ์เพื่อสังเกตดาวหลายล้านดวงที่เห็นเป็นสีฟ้าเป็นประกาย รวมกลุ่มกันเป็นกระจุกและกระจายไปทั่วแขนของกาแลคซีทั้ง 19 แห่งอีกด้วย “นี่คือที่ที่เราจะพบดาวดวงใหม่ที่มีมวลมากที่สุดในกาแล็กซี” เอริค โรโซโลฟสกี ศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตาในเอดมันตันกล่าว  

ในส่วนของแขนกังหันที่มีแสงเรืองแสงด้วยก๊าซสีส้มและสีแดงที่ปรากฎในภาพของเวบบ์นั้น นักดาราศาสตร์ระบุว่าเป็นการกระจายตัวของก๊าซและฝุ่นในกาแล็กซีกังหัน “โครงสร้างเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีรูปแบบเดียวกันในบางส่วนของกาแล็กซี…สิ่งเหล่านี้เหมือนคลื่น และระยะห่างของพวกมันบอกเรามากมายว่ากาแล็กซีกระจายก๊าซและฝุ่นของมันอย่างไร” โรโซโลฟสกีกล่าว 

สำหรับภาพที่จับได้ตรงที่มีรูปร่างคล้ายเปลือกหอยทรงกลมขนาดใหญ่ท่ามกลางก๊าซและฝุ่นในดาราจักรที่อาจเกิดจากการระเบิดของดวงดาว “หลุมเหล่านี้อาจถูกสร้างขึ้นโดยดาวฤกษ์หนึ่งดวงหรือมากกว่านั้นด้วยการระเบิด จากนั้นก็เกิดการกัดเซาะหลุมขนาดยักษ์ในสสารระหว่างดวงดาว” อดัม เลอรอย ศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตตในโคลัมบัสกล่าวในแถลงการณ์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์