เคลม (อีกแล้ว)! กัมพูชาอ้าง ‘พิธา’ มีเชื้อเขมร

16 พ.ค. 2566 - 08:36

  • ขณะที่กระแสของ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ที่ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง 2023 ไปอย่างล้นหลามกำลังฟีเวอร์อย่างมากในประเทศไทย เป็นไปไม่ได้เลยที่จะขาดเสียง ‘เคลม’ จากเพื่อนบ้านเจ้าเดิมอย่าง ‘กัมพูชา’

Pita-cambodia-again-SPACEBAR-Thumbnail
ขณะที่กระแสของ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ที่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง 2023 ไปอย่างล้นหลามกำลังฟีเวอร์อย่างมากในประเทศไทย เป็นไปไม่ได้เลยที่จะขาดเสียง ‘เคลม’ จากเพื่อนบ้านเจ้าเดิมอย่าง ‘กัมพูชา’
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7AMUprBd0pYU6dqHyoF5HE/91db252482684a921a7bc768382066d0/Pita-cambodia-again-SPACEBAR-Photo_V01
Photo: เพจเฟซบุ๊ก: ASEAN All Post
ล่าสุดนางเคลมกลับมาแล้ว โดยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Chhitc Nimol โพสต์รูปภาพ 3 รูป พร้อมแคปชันว่า พิธาเป็นหลานของ คฑาธร ชุ่ม ซึ่งนั่นแปลว่า เขา (พิธา) เป็นผู้ทรยศ โดยแนบภาพที่พิธาเคยโพสต์ลงอินสตาแกรมในปี 2015 ซึ่งเป็นรูปบ้านหลังหนึ่ง พร้อมแคปชั่นว่า คุณยายของเขาเคยอาศัยอยู่ที่นี่มากว่า 100 ปี
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/59hi9lUMjL2vK2JYiaf8Xu/5d9fa436078f1286b5815222cc45b61b/Pita-cambodia-again-SPACEBAR-Photo_V02
ขณะที่ทิศทางคอมเมนท์ในขณะนี้ เริ่มมีคนจากทั้ง 2 ฝ่ายมาแย่งชิงว่าที่นายกกัน บ้างก็ว่าสิ่งที่คนกัมพูชากำลังทำนั้น น่าขายหน้า บ้างก็ว่ากัมพูชามีนายกเพียงคนเดียวไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี ซึ่งก็คือ ‘ฮุน เซน’ นั่นเอง  

ส่วนบ้านในรูปดังกล่าวนี้ เดิมทีคือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์พระตะบองมีอายุ 118 ปี และเป็นอดีตศาลาว่าการจังหวัดพระตะบองอีกด้วย อาคารมรดกแห่งนี้ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2448 เพื่อเป็นที่พักของอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด ในสมัยที่พระตะบองอยู่ภายใต้การปกครองของไทย 

ปัจจุบัน อาคารมรดกแห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์พระตะบอง ที่ซึ่งผู้เยี่ยมชมสามารถชื่นชมอาคารประวัติศาสตร์ เครื่องดนตรีพื้นเมือง ประวัติของผู้ว่าการพระตะบอง และภาพวาดของศิลปินที่มีชื่อเสียงที่เกิดในพระตะบอง 

ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์การ ‘เคลม’ ที่ไม่รู้จบของเพื่อนบ้านสุดรัก ที่มักจะวางมวยกับคนไทยมาเสมอ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์