วิจัย แนะ ผู้หญิงกิน ‘โปรตีนพืช’ ทำให้สุขภาพดีไร้โรคเมื่ออายุมากขึ้น

23 มกราคม 2567 - 08:14

Plant-protein-consumption-may-help-lower-risk-of-chronic-conditions-in-women-during-older-age-SPACEBAR-Hero.jpg
  • งานวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้หญิงที่กินโปรตีนพืชอย่างเพียงพอในวัยกลางคน ช่วยให้สุขภาพดีไม่เป็นโรคเรื้อรัง เมื่ออายุมากขึ้น

ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้หญิงมากกว่า 48,000 คน นักวิจัยพบว่าทุก 3% ของปริมาณโปรตีนพืชที่กินเพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์กับการแนวโน้มที่จะมีสุขภาพดีขึ้นเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น ถึง 38% ซึ่งหมายถึงเป็นโรคน้อยกว่าหรือไม่เป็นโรคเรื้อรัง มีการเคลื่อนไหวร่างกายดีขึ้น และกระบวนการคิดเสื่อมลงเพียงเล็กน้อย อ้างอิงจากรายงานที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Clinical Nutrition 

อันเดรส อาร์ดิสสัน คอราท ผู้นำการวิจัย นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยทัฟส์ กล่าวว่า “ยิ่งไปกว่านั้น ดูเหมือนว่าโปรตีนพืชยังมีประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพจิตดี และไม่มีการบกพร่องของความจำด้วย”

“ประโยชน์ของการกินโปรตีนพืชมากขึ้น (เมื่อเทียบกับสารอาหารอื่นๆ) เป็นโปรตีนพืชที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด และโรคเรื้อรังอื่นๆลดลง” และเพิ่มเติมว่าโปรตีนพืชช่วยสนับสนุนการทำงานของร่างกายที่ดีเนื่องจากเพิ่มการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ โปรตีนพืช “มาจากแหล่งอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูง มีกากใย วิตามินและเกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระมาก”

เพื่อหาว่าการบริโภคโปรตีนส่งผลต่อสุขภาพวัยชราอย่างไร นักวิจัยได้พิจารณาแบบสำรวจจากผู้เข้าร่วมกว่า 48,000 คนใน ‘การศึกษาสุขภาพของพยาบาล (Nurses’ Health)’ ซึ่งเป็นการสำรวจไปที่ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคในผู้หญิงในระยะยาว โดยข้อมูลที่เก็บทุกสี่ปีตั้งแต่ปี 1984 ถึง 2016 ได้ติดตามว่าผู้คนกินอาหารเดิมๆบ่อยแค่ไหน ซึ่งในตอนเริ่มการศึกษาเป็นผู้หญิงอายุ 38 ถึง 59 ปี และสุขภาพร่างกายและจิตดี

สำหรับการวิเคราะห์ครั้งใหม่ นักวิจัยได้คำนวณการกินโปรตีนโดยเพิ่มจำนวณครั้งของการกินอาหารทุกอย่างที่มีโปรตีน จากนั้นก็รวบรวมปริมาณของโปรตีนที่อยู่ในอาหารทุกอย่าง

สำหรับผู้หญิงที่ถูกจัดให้เป็นคนสุขภาพดีในขณะที่พวกเขาอายุระหว่าง 70 ถึง 93 ปี พวกเขาไม่มีโรคเรื้อรังสำคัญ ทั้งโรคมะเร็ง โรคเบาหวานชนิดที่สอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย โรคพาร์กินสัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาร์ดิสสัน คอราท กล่าวว่า ผู้หญิงอายุ 31 ถึง 59 ปี ต้องได้รับอาหารที่มีโปรตีนเท่ากับ 5 – 6 ออนซ์ต่อวัน (142-170 กรัม) (อ้างอิงจากคำแนะนำของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา USDA) เพิ่มโปรตีนทุก 3% ในอาหาร 2,000 แคลอรี่ หรือโปรตีน 60 แคลอรี่สำหรับผู้หญิงวัยกลางคน ซึ่งปริมาณโปรตีนเท่านี้พบได้ในถั่วและถั่วเลนทิลที่ปรุงสุกแล้วหนึ่งถ้วย อย่างไรก็ตาม โปรตีนทุกแคลอรี่ที่เพิ่มขึ้นในอาหาร บางอย่างจำเป็นต้องเปลี่ยนออก เช่น คาร์โบไฮเดรตขัดสี หรือไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ 

ตอนแรกในการศึกษาเขียนว่าแหล่งของโปรตีนประกอบด้วยขนมปัง ผัก พาสต้า มัน ถั่วผลไม้แห้ง ธัญพืช และเนยถั่ว โดยอาหารจากพืชที่มีโปรตีนสูงประกอบด้วย ถั่วเลนทิล ถั่วลันเตา ผักโขม และบร็อคคอลี่

ผู้หญิงที่กินโปรตีนจากพืชมากกว่า มีแนวโน้มที่จะสุขภาพดีเมื่ออายุมากขึ้น ถึง 46% ส่วนผู้หญิงที่กินโปรตีนจากสัตว์มากกว่า เช่น เนื้อแดง นม ปลา อาหารทะเลและชีส กลับมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพดีน้อยกว่าเมื่ออายุมากขึ้น อยู่ที่ 6% เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เพราะผู้หญิงในการศึกษาสุขภาพพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว จึงไม่แน่ชัดว่าการศึกษานี้จะสามารถใช้กับกลุ่มอื่นๆได้หรือไม่

การรายงานล่าสุดนี้เป็นการขยายผลของการศึกษาก่อนหน้านี้ที่แสดงว่าผู้คนที่กินโปรตีนจากพืช โดยเฉพาะคนที่เป็นมังสวิรัติ มีแนวโน้มที่จะสุขภาพดีกว่า ด้วยระดับคลอเรสตอรอลที่ต่ำกว่า ความสามารถในการเผาผลาญพลังงานดีกว่า และมีระดับการอักเสบและสมองเสื่อมต่ำกว่า

การศึกษาทางโภชนาการ เป็นไปได้ยากมากที่จะมาทดลองในทางคลินิก และการศึกษาล่าสุดนี้มาจากแบบสอบถามอาหาร ดังนั้นจึงพิสูจน์ไม่ได้ว่าการกินโปรตีนพืชเพิ่มขึ้นจะช่วยให้มีสุขภาพดีในวัยชรา

มารี ปิแอร์ เซงต์ ออนจ์ รองศาสตราจารย์ด้านโภชนาการ แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการติดตามมาเป็นเวลาหลายปีก็สร้างความมั่นใจให้กับการศึกษาพอสมควร

เธอกล่าวด้วยว่า การมุ่งเน้นที่สุขภาพระยะยาวว่าไม่เป็นโรคหรือเสียชีวิตเป็นสิ่งที่สดใหม่

“ขณะที่เราทั้งหมดล้วนต้องการชีวิตที่มีความหวังมากขึ้น จริงๆแล้วเราต้องการปีที่เพิ่มขึ้นเพื่ออยู่อย่างมีสุขภาพดี”

ดร.ดีพาค พัท แพทย์ด้านโรคหัวใจ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรคหัวใจเมาท์ ซินาย ฟัสเตอร์ กล่าวว่าการศึกษาเกี่ยวกับโปรตีนพืชนี้ได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐานต่างๆที่ชี้ว่าโปรตีนพืชดีสำหรับลดความเสี่ยงโรคหัวใจวายและมะเร็ง

“ผมขอสนับสนุนให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายกินอาหารจากพืช”

ดร.ดีพาค พัท แพทย์ด้านโรคหัวใจ

ด้าน ดร.แคธรีน ลินด์ลีย์ แพทย์ด้านโรคหัวใจ และผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจผู้หญิง แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีเหตุผลอื่นอีกที่ทำให้คนที่กินโปรตีนจากพืชปริมาณมากอาจมีสุขภาพที่ดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่กินโปรตีนมากกว่าอาจกินอาหารที่โดยรวมดีต่อสุขภาพมากกว่า หรือพวกเขาอาจมีวิถีชีวิตโดยรวมที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า หรือพวกเขาอาจสามารถที่จะซื้ออาหารที่เป็นตัวเลือกที่มีคุณภาพมากกว่า และเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีกว่า รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกายด้วย

แม้จะมีข้อจำกัดอยู่ แต่การศึกษานี้ก็เป็น “จุดเริ่มต้นที่ดี”

ดร.แคธรีน ลินด์ลีย์ แพทย์ด้านโรคหัวใจ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์