ส่องโมเดล 2 เพื่อนบ้าน ‘ปฏิรูป’ กองทัพ ทำยังไง? ทำไมชาติถึง ‘เจริญ’

6 มิ.ย. 2566 - 07:23

  • ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและการทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ถึงอย่างนั้นก็มีรูปแบบที่สอดคล้องกันในการ ‘ครอบงำ’ และควบคุมทางทหารในหลายภาคส่วน

reformist-military-helped-democracy-SPACEBAR-Hero
ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและการทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ถึงอย่างนั้นก็มีรูปแบบที่สอดคล้องกันในการ ‘ครอบงำ’ และควบคุมทางทหารในหลายภาคส่วนของการปฏิบัติการทางโลกของทุกประเทศ หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย  และประเทศไทย มีรูปแบบการปกครองทางทหารที่แตกต่างกันออกไปพอสมควร  อย่างในเวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีการควบคุมโดยพลเรือนอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ ‘เมียนมา’ ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง โดยเป็นทหารที่เข้ามาควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ  

ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีมุมมองอย่าง ‘เป็นกลาง’ มากขึ้น แน่นอนว่าเมื่อมองถึงความเป็นกลางที่มากขึ้น ต้องมาพร้อมกับการ ‘ปฏิรูป’ ที่จะช่วยในการกำหนดบทบาทของ ‘ทหาร’ ให้อยู่ในที่ที่ควรจะอยู่มากขึ้น 

ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เรานึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘สิงคโปร์’ ด้วยระบบและรูปแบบการดำเนินงานของกองทัพสิงคโปร์ที่ยกให้พลเมืองเป็นใหญ่ ส่งให้เราเห็นถึงความก้าวหน้าหลากหลายด้าน และ ‘ทหาร’ กลายเป็นหนึ่งอาชีพที่ต้องการคนที่มีความ ‘เหมาะสม’ อย่างแท้จริงมาทำหน้าที่
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1UKxZczur708A9QDgkUibD/a6280a0bdebda1df1af846f8b751bb8a/reformist-military-helped-democracy-SPACEBAR-Photo01
Photo: Lillian SUWANRUMPHA / AFP

ดังนั้นจะมาเป็น ‘ทหาร’ เหมือนกันไม่ได้ใน ‘สิงคโปร์’  

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Thaiarmedforce ระบุว่า ผู้ที่จะมาเป็นทหารในสิงคโปร์นั้น ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ เพราะทุกคนที่จะมาเป็นทหารประจำการจะต้องผ่านการฝึกจากโรงเรียนเดียวกันเท่านั้น นั่นก็คือ ‘Specialist Cadet School’ หรือโรงเรียนฝึกนายทหารชั้นประทวน ซึ่งภายหลังจากการจบการศึกษาจะได้เป็นนายทหารชั้นประทวน ส่วนนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับสูง หรือพวกหัวกะทิ (เท่านั้น) ที่จะรับเลือกให้ไปศึกษาต่อใน ‘Officer Cadet School’ หรือเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนนายร้อยของสิงคโปร์เพื่อจบมาเป็นนายทหารสัญญาบัตร 

เป็นทหารในสิงคโปร์แล้วไม่รุ่ง จะถูก ‘บังคับ’ ให้ ‘รีบ’ เกษียณ 

กองทัพของสิงคโปร์ ไม่ได้กำหนดอายุเกษียณตามยศเหมือนประเทศไทย ทหารยศสิบเอก อายุเกษียณจะอยู่ที่ 45 ปี จ่าสิบตรีถึงพันตรีจะต้องเกษียณเมื่ออายุ 50 ปี และพันโทขึ้นไปจะเกษียณที่อายุ 55 ปี แต่ถึงอย่างนั้น ถ้ากองทัพมองว่าบุคคลนั้นๆ จะเป็นประโยชน์ต่อกองทัพก็สามารถต่ออายุเกษียณได้อีก 5 ปี  

แน่นอนว่าระบบนี้จะทำให้กองทัพมีบุคลากรใหม่ๆ ที่อายุน้อยๆ ขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพอยู่เสมอ อย่างล่าสุดคือกระทรวงกลาโหมของสิงคโปร์ได้แต่งตั้ง พลจัตวา เดวิด นีโอ เป็นผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ ทั้งๆ ที่เขามีอายุเพียงแค่ 44 ปีเท่านั้น 

ขณะที่คนที่อายุเยอะขึ้นเรื่อยๆ ที่ไม่มีความสามารถพอจะก้าวขึ้นมาในตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ก็จะถูกบังคับให้เกษียณออกไปเร็วๆ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อกองทัพในแง่ของการลดกำลังพลในตำแหน่งสูง ลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งผู้ที่เกษียณออกไปก่อนด้วยอายุเท่านั้นก็สามารถไปเริ่มต้นอาชีพใหม่ได้โดยไม่ลำบาก  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6QmOiZCtJtawn4onwwZFlq/19b79560bebc385febd87120ef60006d/reformist-military-helped-democracy-SPACEBAR-Photo02
Photo: Roslan RAHMAN / AFP

‘อินโดนีเซีย’ ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่แยก ‘ทหาร’ ออกจาก ‘พลเมือง’ 

จากการสำรวจประชาชน 1,200 คนโดย Indikator Politik ในปี 2021 แสดงให้เห็นว่า กองทัพของอินโดนีเซียหรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า ‘TNI’ เป็นสถาบันที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุด อีกทั้งการสำรวจนี้ยังทำให้ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด ตกลงสู่อันดับที่ 2 ที่ประชาชนให้ความไว้วางใจที่สุด 

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?  

เหตุผลหนึ่งที่อ้างโดย อกัส วิดโจโจ บอกว่าตลอดการทำงานกว่า 33 ปีของเขา ในฐานะผู้สนับสนุนการปฏิรูปและดึงทหารออกจากการเมืองในนาม TNI นั่นทำให้ไม่เคยมีแบบอย่างการรัฐประหารเลยตลอดประวัติศาสตร์ของกองทัพ ไม่ว่าสถานการณ์นั้นจะยากลำบากเพียงใดก็ตาม  

แท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยของอินโดนีเซียหรือที่เรียกว่า ‘Reformasi’ เกิดขึ้นหลังจากการลาออกของอดีตผู้นำเผด็จการ ‘ซูฮาร์โต’ ในปี 1998 ซึ่งสถานการณ์ ณ ขณะนั้นเต็มไปด้วยความสับสนอลหม่าน ซูฮาร์โต นายพลของกองทัพที่ยึดอำนาจในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ถูกโค่นล้มด้วยการประท้วง การปะทะ และวิกฤตการเงินในเอเชียซึ่งทำให้คนหลายล้านตกงาน ซึ่งต่อมาก็ถูกกลายเป็นเครื่องหมายความรุนแรง และการเพิ่มขึ้นของการก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนทั่วประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งประกอบด้วยเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3SwvpzUz7pzcvRKnkvuWVK/b86f47d12ef68e1397c352f3d3246bf5/reformist-military-helped-democracy-SPACEBAR-Photo03
Photo: ALDO UTAMA / AFP
ซาร์ชารี อบูซา ศาสตราจารย์ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาที่ National War College ในสหรัฐฯ เน้นว่า วิรันโต ผู้บัญชาการกองทัพและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ซึ่งชาวอินโดนีเซียมองว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของประเทศ สามารถก่อรัฐประหารได้อย่างง่ายดายท่ามกลางความรุนแรง และความวุ่นวายในปี 1998 และ 1999   

แต่เขา ‘ไม่เคย’ ทำเช่นนั้น 

“วิรันโตและ TNI เลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้น และสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนที่เปิดกว้างมากขึ้น และจากนั้นก็มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในปี 1999” อบูซากล่าว 

ในปี 2003 วิรันโตซึ่งขณะนั้นเกษียณจากกองทัพ และกำลังเสนอตัวเป็นผู้นำของอินโดนีเซียในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2004 ถูกถามว่าทำไมเขาถึงแสวงหาอำนาจผ่านหีบบัตรเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่เขาสามารถยึดอำนาจได้ตั้งแต่ในปี 1998 

วิรันโต อ้างถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยหลายพันคนที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องซูฮาร์โต โดยเขากล่าวว่า การรัฐประหารจะทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 500 คน อีกทั้งปฏิกิริยาเชิงลบในต่างประเทศจะทำให้อินโดนีเซียกลายเป็นพวกนอกรีต และสูญเสียการช่วยเหลือจากต่างประเทศ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3GZtbZt3QKwscxMs8RbrZA/421f666ac95fd926596cc7aaaf5430f7/_________1_
“ผมไม่มีความประสงค์ที่จะมีอำนาจโดยยืนอยู่บนความตายและซากปรักหักพังของประเทศของผม” วิรันโตบอกกับนักข่าวในปี 2003  

เมื่อพลเมือง ‘รัก’ กองทัพ 

วิดโจโจ กล่าวว่า TNI ได้ขยายบทบาทเพื่อรวมตำแหน่งของรัฐบาลในช่วงที่อินโดนีเซียต่อสู้เพื่อเอกราชจากดัตช์ในทศวรรษที่ 1940 เมื่อกองทัพกลายเป็นรัฐบาลในหลายจุดในช่วงที่มีการต่อต้านด้วยอาวุธ 

นอกจากนี้ TNI ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับทักษะอย่างจริงจัง และในปี 1998 ได้กลายเป็นแนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับนายทหารระดับสูงที่จะต้องเข้ารับการฝึกทางทหารอย่างมืออาชีพทั้งในอินโดนีเซียและต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ เป็นหลัก  

ในช่วงที่ Reformasi ตระหนักว่า สังคมและพลเมืองต่าง ‘รัก TNI’ และยังคงคาดหวังให้ TNI มีบทบาทในชีวิตทางการเมืองของประเทศ ผู้นำระดับสูงของกองทัพพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้สังคม (และกองกำลังทหาร) เข้าใจว่าบทบาทใหม่ของ TNI คือการกลับไปที่ค่าย หลีกหนีจากการเมืองและเป็นกองกำลังมืออาชีพ สิ่งนี้จะทำให้อินโดนีเซียกลายเป็นประชาธิปไตยที่สามารถแข่งขันได้ในโลกยุคโลกาภิวัตน์  

‘ประชาธิปไตย’ แท้จริงต้องไม่มี ‘ทหาร’ แทรกแซง? 

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการแทรกแซงทางทหารต่อระบอบประชาธิปไตย สังคม และเศรษฐกิจมักสร้างความเสียหายร้ายแรง กองทัพมีแนวโน้มที่จะทำให้ประเทศต่างๆ กลับสู่ประชาธิปไตยได้ยาก ก่อให้เกิดการนองเลือดครั้งใหญ่ และสร้างรัฐบาลที่ปกครองโดยการกุมอำนาจส่วนใหญ่ไว้ในมือ หรือนำไปสู่รัฐที่ล้มเหลวเฉกเช่น ‘เมียนมา’ ในปัจจุบัน  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4udqoTZx6aEc2PcfVKfSld/d7ee6e490e517a76f9adf6db9ca845c9/reformist-military-helped-democracy-SPACEBAR-Photo04
Photo: Madaree TOHLALA
นอกจากนี้ยังอาจจุดชนวนให้เกิด ‘รัฐประหาร’ ในประเทศ และส่งผลกระทบต่อความเป็นประชาธิปไตยภายในภูมิภาคทั้งหมด ..จริงๆ แล้ว การเข้ายึดอำนาจของทหารมักจะนำไปสู่ความรุนแรงของรัฐที่เพิ่มมากขึ้นในทันที

โจชัวร์  เคอร์แรนซิท ผู้ติดตามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาวุโส ระบุว่า ในส่วนของประเทศไทยเอง กองทัพมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดการยึดอำนาจการปกครองแบบเผด็จการที่รุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นภายใต้ประชานิยมที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่รัฐบาลประชานิยมที่ไร้แนวคิดบางส่วนได้ประกาศใช้การปฏิรูปนโยบายสาธารณะที่สำคัญ รัฐบาลประชานิยมของไทยในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ได้ดูแลโครงการสวัสดิการสังคมใหม่ๆ อีกทั้งรัฐบาลทหารเกือบทั้งหมดได้พิสูจน์แล้วว่า ‘ไร้ความสามารถ’ ในการปกครองและมักให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างคุณค่าให้ตนเอง

สรุปแล้วการกลับมามีส่วนร่วมของทหารในการปกครองของภูมิภาคนี้จะทำให้ประชาธิปไตยเสื่อมถอยไปหลายปี ส่งเสริมความรุนแรง และมีแนวโน้มว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ที่แย่กว่านั้น การรัฐประหารและการมีส่วนร่วมทางทหารอื่นๆ ได้รับการตอบสนองที่อ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพจากมหาอำนาจระดับโลกและระดับภูมิภาค

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์