‘Space.com’ เว็บไซต์ข่าวอวกาศและดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการพัฒนาเครื่องมือใหม่ที่จะช่วยเพิ่มกำลังในการค้นหาสิ่งมีชีวิตทั่วทั้งกาแล็กซีทางช้างเผือกแล้ว
ซาชา กวนซ์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธรัฐสวิส ‘ETH Zurich’ กล่าวว่า “เรายังไม่พบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร แต่มีนักวิจัยคนหนึ่งเชื่อว่าเราอาจสามารถตรวจพบหลักฐานของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้ภายในไตรมาสถัดไปของศตวรรษ”
ในงานแถลงข่าวเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา กวนซ์ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเทคโนโลยีที่อาจช่วยให้นักวิจัยสามารถหาคำตอบได้ว่า “มีแค่มนุษย์อย่างเราที่อาศัยอยู่ในจักรวาลใช่หรือไม่”
“ในปี 1995 ‘ดีดีเย เกโล’ นักดาราศาสตร์ในสังกัดหอดูดาวเจนีวา ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของผม (และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์) ได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงแรกนอกระบบสุริยะของเรา…ทุกวันนี้ เรารู้จักดาวเคราะห์นอกระบบมากกว่า 5,000 ดวง และเราก็ค้นพบดาวเคราะห์เหล่านี้อยู่ทุกวัน” กวนซ์ กล่าว
มีดาวเคราะห์นอกระบบอีกมากมายที่รอการค้นพบ เนื่องจากนักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวฤกษ์มากกว่า 100,000 ล้านดวงในดาราจักรทางช้างเผือกจะมีดาวเคราะห์ข้างเคียงอย่างน้อย 1 ดวง นั่นทำให้มีดาวเคราะห์นอกระบบเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งกวนซ์เสริมว่าหลายดวงนั้นเหมือนกับโลกและอยู่ในระยะที่เหมาะสมจากดาวฤกษ์แม่ของพวกมันมากพอที่จะสร้างสภาวะสำหรับสิ่งชีวิตได้ เช่น การมีอยู่ของน้ำที่เป็นของเหลว
“สิ่งที่เราไม่รู้ก็คือว่า ดาวเคราะห์บนพื้นโลกเหล่านี้มีชั้นบรรยากาศหรือไม่ และชั้นบรรยากาศเหล่านี้ประกอบขึ้นจากอะไร เราจำเป็นต้องตรวจสอบชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์เหล่านี้ ซึ่งเราต้องการวิธีการสังเกตที่จะช่วยให้เราสามารถถ่ายภาพดาวเคราะห์เหล่านี้ได้” กวนซ์ กล่าวเสริม
‘ดวงตาที่ใหญ่ที่สุดในโลก’
ซาชา กวนซ์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธรัฐสวิส ‘ETH Zurich’ กล่าวว่า “เรายังไม่พบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร แต่มีนักวิจัยคนหนึ่งเชื่อว่าเราอาจสามารถตรวจพบหลักฐานของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้ภายในไตรมาสถัดไปของศตวรรษ”
ในงานแถลงข่าวเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา กวนซ์ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเทคโนโลยีที่อาจช่วยให้นักวิจัยสามารถหาคำตอบได้ว่า “มีแค่มนุษย์อย่างเราที่อาศัยอยู่ในจักรวาลใช่หรือไม่”
“ในปี 1995 ‘ดีดีเย เกโล’ นักดาราศาสตร์ในสังกัดหอดูดาวเจนีวา ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของผม (และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์) ได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงแรกนอกระบบสุริยะของเรา…ทุกวันนี้ เรารู้จักดาวเคราะห์นอกระบบมากกว่า 5,000 ดวง และเราก็ค้นพบดาวเคราะห์เหล่านี้อยู่ทุกวัน” กวนซ์ กล่าว
มีดาวเคราะห์นอกระบบอีกมากมายที่รอการค้นพบ เนื่องจากนักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวฤกษ์มากกว่า 100,000 ล้านดวงในดาราจักรทางช้างเผือกจะมีดาวเคราะห์ข้างเคียงอย่างน้อย 1 ดวง นั่นทำให้มีดาวเคราะห์นอกระบบเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งกวนซ์เสริมว่าหลายดวงนั้นเหมือนกับโลกและอยู่ในระยะที่เหมาะสมจากดาวฤกษ์แม่ของพวกมันมากพอที่จะสร้างสภาวะสำหรับสิ่งชีวิตได้ เช่น การมีอยู่ของน้ำที่เป็นของเหลว
“สิ่งที่เราไม่รู้ก็คือว่า ดาวเคราะห์บนพื้นโลกเหล่านี้มีชั้นบรรยากาศหรือไม่ และชั้นบรรยากาศเหล่านี้ประกอบขึ้นจากอะไร เราจำเป็นต้องตรวจสอบชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์เหล่านี้ ซึ่งเราต้องการวิธีการสังเกตที่จะช่วยให้เราสามารถถ่ายภาพดาวเคราะห์เหล่านี้ได้” กวนซ์ กล่าวเสริม
‘ดวงตาที่ใหญ่ที่สุดในโลก’

กวนซ์ อัปเดตว่า ทีมงานของเขากำลังสร้างเครื่องมือใหม่ นั่นก็คือ ‘กล้องโทรทรรศน์ Extremely Large Telescope หรือ ELT’ ซึ่งนับว่าเป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุด อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็น “ดวงตาที่ใหญ่ที่สุดในโลก” มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระจกประมาณ 40 เมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการวางฐานรากบริเวณพื้นที่หอสังเกตการณ์ทางใต้ของยุโรป (ESO) ในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี
“เป้าหมายหลักของเครื่องมือนี้คือ การถ่ายภาพแรกของดาวเคราะห์หิน หรือดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่วิสัยทัศน์ระยะยาวของเรา คือ การถ่ายภาพดาวหลาย 10 ดวง เพื่อตรวจสอบบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบนอกโลก”
“กล้องโทรทรรศน์อวกาศจะตรวจดูดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมหาศาลเพื่อหาร่องรอยของโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลเหล่านี้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตอาจสร้างขึ้นได้…เราจำเป็นต้องตรวจสอบว่าร่องรอยของสิ่งมีชีวิตเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่แท้จริงได้มากน้อยเพียงใด เพราะอาจมีกระบวนการอื่นๆ ที่อาจนำไปสู่การสร้างก๊าซในชั้นบรรยากาศเหล่านี้”
“กรอบเวลา 25 ปีที่เราตั้งไว้เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกระบบสุริยะนั้นยังไม่มีการรับประกันความสำเร็จ แต่เรากำลังจะเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ระหว่างทาง” กวนซ์ กล่าวทิ้งท้าย
“เป้าหมายหลักของเครื่องมือนี้คือ การถ่ายภาพแรกของดาวเคราะห์หิน หรือดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่วิสัยทัศน์ระยะยาวของเรา คือ การถ่ายภาพดาวหลาย 10 ดวง เพื่อตรวจสอบบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบนอกโลก”
“กล้องโทรทรรศน์อวกาศจะตรวจดูดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมหาศาลเพื่อหาร่องรอยของโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลเหล่านี้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตอาจสร้างขึ้นได้…เราจำเป็นต้องตรวจสอบว่าร่องรอยของสิ่งมีชีวิตเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่แท้จริงได้มากน้อยเพียงใด เพราะอาจมีกระบวนการอื่นๆ ที่อาจนำไปสู่การสร้างก๊าซในชั้นบรรยากาศเหล่านี้”
“กรอบเวลา 25 ปีที่เราตั้งไว้เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกระบบสุริยะนั้นยังไม่มีการรับประกันความสำเร็จ แต่เรากำลังจะเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ระหว่างทาง” กวนซ์ กล่าวทิ้งท้าย