วิจัยเผยสมองคนรุ่นใหม่โตขึ้น แต่กลับมี ‘ไอคิวต่ำลง’ เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ

31 มีนาคม 2567 - 06:37

scientists-find-human-brain-grown-by-whopping-7-%-since-1930-iq-gone-backwards-SPACEBAR-Hero.jpg
  • ขนาดของสมองมนุษย์เราเพิ่มขึ้นเกือบ 7% นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

  • การเพิ่มขนาดของสมองสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ในคนรุ่นใหม่ได้

  • ทว่าการศึกษานี้กลับพบว่าระดับ IQ ของคนเจน ‘Z’ และเจน ‘Alpha’ กลับต่ำลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

การศึกษาใหม่พบว่าคนรุ่นใหม่ ‘เจนซี’ (Gen Z) และ ‘เจนอัลฟา’ (Alpha) อาจมีสมองที่ใหญ่กว่าคนที่เกิดเมื่อ 100 ปีก่อน และยังพบอีกว่าคนกลุ่นี้มีไอคิว (IQ) ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ 

นักวิจัยจากศูนย์เดวิดเฮลพ์ (Davis Health) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (UC) ได้ศึกษาขนาดสมองที่แตกต่างกันของคนที่เกิดในช่วงปี 1930-1970 โดยพบว่า “สมองในกลุ่มคนเจนเอ็กซ์ (Gen X) ใหญ่เพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบกับกลุ่ม ‘Silent Generation’ (กลุ่มคนที่เกิดในช่วงยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 / 1925-1945)” 

ทีมวิจัยตั้งทฤษฎีว่าการเติบโตของสมองอาจเกิดจากอิทธิพลภายนอก เช่น ปัจจัยภายนอกด้านสุขภาพ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษา ซึ่งอาจลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุได้

งานวิจัยล่าสุดระบุว่า

“แม้แต่คะแนนไอคิวของคนรุ่นใหม่ก็ลดลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยนักวิจัยเชื่อมโยงสาเหตุถึงการใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตมากเกินไป”

แต่ขนาดของสมองไม่ได้ทำให้คนฉลาดขึ้นเสมอไป… 

“นักประสาทวิทยาพบว่ามวลสมองที่เพิ่มขึ้นนั้นจริงๆ แล้วมีความเป็นไปได้น้อยมากในเรื่องของความฉลาด แต่มันกลับช่วยให้ผู้คนสามารถเก็บความทรงจำตลอดชีวิตได้มากขึ้น หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ‘ลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม’ ” รายงานของเว็บไซต์ ‘Psychology Today’ ระบุ 

นั่นหมายความว่าการค้นพบล่าสุดอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์น้อยลง

สมองของคนยุคปัจจุบันมีปริมาตรประมาณ 1,400 มิลลิลิตร

แต่ปริมาตรสมองโดยเฉลี่ยสำหรับผู้ที่เกิดในช่วงทศวรรษปี 1930 อยู่ที่ 1,234 มิลลิลิตร

scientists-find-human-brain-grown-by-whopping-7-%-since-1930-iq-gone-backwards-SPACEBAR-Photo01.jpg

นักวิจัยรายงานว่าปัจจัยต่างๆ เช่น ความสำเร็จทางการศึกษาที่มากขึ้นและการจัดการปัญหาทางการแพทย์ที่ดีขึ้น อาจอธิบายได้ว่า ‘ทำไมสมองของผู้คนจึงใหญ่ขึ้นตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา?’ 

“ทศวรรษที่คนเราเกิดมาดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อขนาดสมองและสุขภาพสมองในระยะยาว” ชาร์ลส เดอคาร์ลี นักวิจัยคนแรกผู้เขียนการศึกษานี้และศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจากศูนย์วิจัยโรคอัลไซเมอร์เดวิดเฮลพ์ (Davis Health) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าว 

นักวิจัยศึกษารูปแบบของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอื่นๆ ของผู้ที่เกิดในช่วงทศวรรษปี 1930 และทดสอบด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสมอง (MRI) ของคนเจนที่ 2 และ 3 จากผู้เข้าร่วม 5,200 คนที่เกิดระหว่างปี 1999-2019 กับผู้ที่เกิดในช่วงทศวรรษที่ 1930-1970 ซึ่งประกอบด้วยผู้เข้าร่วมมากกว่า 3,000 คน โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 57 ปี 

ทั้งนี้พบว่าพื้นที่ของสมองที่เติบโตมากที่สุดคือ ‘พื้นที่เปลือกสมอง หรือส่วนนอกของสมองใหญ่’ ซึ่งควบคุมกิจกรรมการเคลื่อนไหวและข้อมูลทางประสาทสัมผัส “พื้นที่ปริมาตรดังกล่าวเพิ่มขึ้น 15% และบริเวณของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำที่เรียกว่า ‘ฮิบโปแคมปัส’ (hippocampus) ก็มีขนาดเพิ่มขึ้นเช่นกัน” นักวิจัยระบุ 

นอกจากนี้งานวิจัยที่ศึกษาแยกต่างหากยังระบุด้วยว่า “จำนวนผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ลดลง 20% นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และนักวิจัยบอกว่า ‘เป็นเพราะขนาดสมองที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นตัวการ’ ”

“โครงสร้างสมองที่ใหญ่ขึ้นเช่นเดียวกับที่พบในการศึกษาของเราอาจสะท้อนถึงการพัฒนาสมองที่ดีขึ้นและสุขภาพสมองที่ดีขึ้น…โครงสร้างสมองที่ใหญ่ขึ้นนั้นแสดงถึงพื้นที่สมองที่ใหญ่ขึ้น และอาจป้องกันผลกระทบต่อโรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับอายุในช่วงบั้นปลายชีวิต เช่น โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อม”

เดอคาร์ลี กล่าว

การศึกษาเผยว่า “การเติบโตของสมองในกลุ่มคนรุ่นใหม่อาจเพิ่มการเชื่อมโยงของสมอง ซึ่งอาจนำไปสู่การปฏิบัติงานที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” 

“อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักวิจัยจะรายงานว่าสมองมีการเจริญเติบโตตามแต่ละรุ่น แต่ IQ ของ Gen Z และ Alpha กลับลดลง” การศึกษาในฟินแลนด์ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆ ระบุ 

ขณะที่การศึกษาในปี 2023 รายงานว่า “คะแนน IQ ในสหรัฐฯ ก็ลดลงเช่นกัน แต่ไม่ได้ระบุการลดลงที่แน่นอน การลดลงอาจเกิดจากการหยุดชะงักในการเรียนรู้ด้วยตนเองในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19” 

โทรศัพท์และการเล่นโซเชียลมีเดียทำให้ ‘IQ’ ต่ำลง… 

นักวิจัยยังกล่าวอีกว่า “การใช้โซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นข้อผิดพลาด เนื่องจากทักษะต่างๆ เช่น การใช้เหตุผลทางวาจา การแก้ปัญหาด้วยภาพ และการทดสอบอนุกรมตัวเลข ทั้งหมดลดลง”

จิม อัล-คาลิลี ศาสตราจารย์ด้านวิชาการและวิทยาศาสตร์เคยบอกกับสำนักข่าว ‘Dailymail’ ในปี 2022 ว่า

“แม้เราจะมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก...แต่สมองของมนุษย์ก็ไม่ได้ใหญ่ขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือดีขึ้นกว่าเมื่อหลายพันปีก่อน”

สิ่งนี้ตรงกันข้ามกับการค้นพบล่าสุดที่ว่า ‘สมองของมนุษย์มีขนาดใหญ่ขึ้น’ แต่ยังทำให้เกิดคำถามว่าการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างไร ในขณะที่คน Gen Z และ Alpha พยายามดิ้นรนเพื่อให้มีระดับ IQ เท่ากับคนรุ่นก่อนๆ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์