ใครหลายคนมักชอบพูดว่า “ย้ายไปอยู่ดาวอังคารกันเถอะ” แต่ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ก็ออกมายืนยันแล้วว่า มนุษย์ไม่สามารถอาศัยบนดาวอังคารได้ แม้ว่าจะพบสิ่งมีชีวิตก็ตาม เนื่องมาจากบนดาวเคราะห์แดงแห่งนี้มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มากและออกซิเจนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต
อย่างไรก็ดี ความหวังที่จะย้ายไปอยู่ดาวอังคารกลับมาอีกครั้ง เมื่อนักวิจัยคิดค้นวิธีการผลิตออกซิเจนได้เพียงพอสำหรับนักบินอวกาศบนดาวอังคารระยะเวลา 18 เดือน ซึ่งเป็นออกซิเจนที่ผลิตขึ้นในชุดอุปกรณ์ขนาดเท่ากล่องอาหารกลางวัน
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าออกซิเจนถูกผลิตขึ้นบนดาวอังคารเป็นครั้งแรก และนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า มีความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะสามารถไปใช้ชีวิตบนดาวดวงอื่นได้มากขึ้น
สำหรับชุดอุปกรณ์ขนาดเท่า ‘กล่องอาหารกลางวัน’ นั้นได้รับการสนับสนุนจาก NASA โดยทีมวิจัยได้แปลงสถานะของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนดาวอังคารเพื่อที่จะได้ผลิตออกซิเจนออกมามากขึ้นตลอดช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา และขณะนี้ทีมกำลังปูทางวางแผนสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ไว้ชั่วคราว
อย่างไรก็ดี ความหวังที่จะย้ายไปอยู่ดาวอังคารกลับมาอีกครั้ง เมื่อนักวิจัยคิดค้นวิธีการผลิตออกซิเจนได้เพียงพอสำหรับนักบินอวกาศบนดาวอังคารระยะเวลา 18 เดือน ซึ่งเป็นออกซิเจนที่ผลิตขึ้นในชุดอุปกรณ์ขนาดเท่ากล่องอาหารกลางวัน
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าออกซิเจนถูกผลิตขึ้นบนดาวอังคารเป็นครั้งแรก และนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า มีความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะสามารถไปใช้ชีวิตบนดาวดวงอื่นได้มากขึ้น
สำหรับชุดอุปกรณ์ขนาดเท่า ‘กล่องอาหารกลางวัน’ นั้นได้รับการสนับสนุนจาก NASA โดยทีมวิจัยได้แปลงสถานะของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนดาวอังคารเพื่อที่จะได้ผลิตออกซิเจนออกมามากขึ้นตลอดช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา และขณะนี้ทีมกำลังปูทางวางแผนสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ไว้ชั่วคราว

การทดลองครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 นับตั้งแต่ยานสำรวจ ‘Perseverance Rover’ ของ NASA ลงจอดบนดาวอังคาร ทีมวิจัยหลักจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT กล่าวว่า ตัวชุดอุปกรณ์ ‘ม็อกซี หรือ MOXIE (The Mars oxygen in-situ resource utilisation experiment)’ จะมีเครื่องเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ให้กลายเป็นออกซิเจน ซึ่งเทียบได้กับอัตราการผลิตออกซิเจนในต้นไม้ขนาดเล็กถึง 7 ครั้ง
ทั้งนี้ ออกซิเจนจะถูกสร้างขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืนและในฤดูกาลต่างๆ หมายความว่า นักบินอวกาศที่ก้าวเข้าสู่อาณาเขตของดาวอังคารจะสามารถหายใจเองได้ด้วยออกซิเจนเหล่านั้นเมื่อพวกเขาไปถึง อีกทั้งมันจะต้องถูกคำนวณมาอย่างดีแล้วว่าจะมีเพียงพอสำหรับตอนกลับ
แม้จะเป็นเพียงก้าวเล็กๆ ก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยกย่องว่ามันเป็น ‘ก้าวที่ยิ่งใหญ่และจุดประกายความหวัง’ สำหรับมวลมนุษยชาติ
‘ไมเคิล เฮชต์’ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การทดลองนี้จะช่วยตอบโจทย์สำหรับการสำรวจในอนาคตว่ามีความเป็นไปได้ที่เราอาจจะไปใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้หรือไม่
ด้าน ‘เจฟฟรีย์ เอ. ฮอฟฟ์แมน’ ศาสตราจารย์ด้านวิชาการบินและอวกาศที่ MIT กล่าวว่า “นี่เป็นการสาธิตครั้งแรกของการใช้ทรัพยากรบนพื้นผิวของวัตถุดาวเคราะห์ดวงอื่น และเปลี่ยนสภาพทางเคมีให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับภารกิจของมนุษย์”
“ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารมีความแปรปรวนมากกว่าโลกมาก ความหนาแน่นของอากาศอาจแตกต่างกันไปในแต่ละปี และอุณหภูมิก็อาจแตกต่างกันไปถึง 100 องศา แต่อีกเป้าหมายหนึ่งของเรา คือ ยานของเราจะสามารถวิ่งบนดาวอังคารได้ในทุกฤดูกาล” เจฟฟรีย์กล่าวเสริม
ทั้งนี้ ออกซิเจนจะถูกสร้างขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืนและในฤดูกาลต่างๆ หมายความว่า นักบินอวกาศที่ก้าวเข้าสู่อาณาเขตของดาวอังคารจะสามารถหายใจเองได้ด้วยออกซิเจนเหล่านั้นเมื่อพวกเขาไปถึง อีกทั้งมันจะต้องถูกคำนวณมาอย่างดีแล้วว่าจะมีเพียงพอสำหรับตอนกลับ
แม้จะเป็นเพียงก้าวเล็กๆ ก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยกย่องว่ามันเป็น ‘ก้าวที่ยิ่งใหญ่และจุดประกายความหวัง’ สำหรับมวลมนุษยชาติ
‘ไมเคิล เฮชต์’ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การทดลองนี้จะช่วยตอบโจทย์สำหรับการสำรวจในอนาคตว่ามีความเป็นไปได้ที่เราอาจจะไปใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้หรือไม่
ด้าน ‘เจฟฟรีย์ เอ. ฮอฟฟ์แมน’ ศาสตราจารย์ด้านวิชาการบินและอวกาศที่ MIT กล่าวว่า “นี่เป็นการสาธิตครั้งแรกของการใช้ทรัพยากรบนพื้นผิวของวัตถุดาวเคราะห์ดวงอื่น และเปลี่ยนสภาพทางเคมีให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับภารกิจของมนุษย์”
“ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารมีความแปรปรวนมากกว่าโลกมาก ความหนาแน่นของอากาศอาจแตกต่างกันไปในแต่ละปี และอุณหภูมิก็อาจแตกต่างกันไปถึง 100 องศา แต่อีกเป้าหมายหนึ่งของเรา คือ ยานของเราจะสามารถวิ่งบนดาวอังคารได้ในทุกฤดูกาล” เจฟฟรีย์กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำได้ คือ การผลิตออกซิเจนในช่วงรุ่งอรุณและพลบค่ำบนดาวอังคาร เนื่องจากอุณหภูมิของดาวเคราะห์ในช่วงเวลาเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงไป
เจฟฟรีย์ กล่าวต่อว่า “เรามีกลเม็ดเคล็ดลับสำหรับการทดลองในครั้งนี้ และเมื่อเราทำการทดสอบในห้องแล็บแล้ว เราก็สามารถบรรลุเป้าหมายว่า ยานของเราสามารถวิ่งได้ทุกเวลาจริงๆ”
ขณะนี้ ชุดอุปกรณ์ MOXIE กำลังผลิตออกซิเจน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ต้องการเพิ่มขีดความสามารถและวางแผนที่จะผลิตเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิบนโลก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุด
เฮชต์ กล่าวเสริมว่า “การปล่อยยานวิ่งครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีความหนาแน่นสูงสุดของปี และเราแค่ต้องการสร้างออกซิเจนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น เราจะตั้งเป้าหมายทุกอย่างให้สูงที่สุดเท่าที่เราจะทำได้และปล่อยให้มันดำเนินไปนานที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่นกัน”
“เพื่อสนับสนุนภารกิจของมนุษย์สู่ดาวอังคาร เราต้องนำสิ่งต่างๆ มากมายจากโลก เช่น คอมพิวเตอร์ ชุดอวกาศ และที่อยู่อาศัย แต่สำหรับถังบรรทุกออกซิเจนน่ะหรอ หากคุณสามารถไปถึงที่นั่นได้ ลุยเลย คุณล้ำหน้าไปอีกขั้นแล้ว” เฮชต์ กล่าวทิ้งท้าย
เจฟฟรีย์ กล่าวต่อว่า “เรามีกลเม็ดเคล็ดลับสำหรับการทดลองในครั้งนี้ และเมื่อเราทำการทดสอบในห้องแล็บแล้ว เราก็สามารถบรรลุเป้าหมายว่า ยานของเราสามารถวิ่งได้ทุกเวลาจริงๆ”
ขณะนี้ ชุดอุปกรณ์ MOXIE กำลังผลิตออกซิเจน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ต้องการเพิ่มขีดความสามารถและวางแผนที่จะผลิตเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิบนโลก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุด
เฮชต์ กล่าวเสริมว่า “การปล่อยยานวิ่งครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีความหนาแน่นสูงสุดของปี และเราแค่ต้องการสร้างออกซิเจนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น เราจะตั้งเป้าหมายทุกอย่างให้สูงที่สุดเท่าที่เราจะทำได้และปล่อยให้มันดำเนินไปนานที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่นกัน”
“เพื่อสนับสนุนภารกิจของมนุษย์สู่ดาวอังคาร เราต้องนำสิ่งต่างๆ มากมายจากโลก เช่น คอมพิวเตอร์ ชุดอวกาศ และที่อยู่อาศัย แต่สำหรับถังบรรทุกออกซิเจนน่ะหรอ หากคุณสามารถไปถึงที่นั่นได้ ลุยเลย คุณล้ำหน้าไปอีกขั้นแล้ว” เฮชต์ กล่าวทิ้งท้าย