นักวิทย์คิดค้นเทคนิคตัดต่อยีนกำจัดเชื้อ ‘HIV’ ออกจากเซลล์ร่างกายสำเร็จ

20 มีนาคม 2567 - 05:41

scientists-say-they-can-cut-hiv-out-of-cells-SPACEBAR-Hero.jpg
  • นักวิทยาศาสตร์ใช้เทคโนโลยีตัดต่อยีน ‘Crispr’ ที่ได้รับรางวัลโนเบล ซึ่งจะตัดดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อเอาชิ้นส่วนที่ ‘ไม่ดี’ ออกหรือทำให้หมดฤทธิ์ได้

  • ความหวังก็คือการกำจัดไวรัสในร่างกายให้หมดไปในที่สุด แม้ว่าจะมีกระบวนการอีกมากเพื่อตรวจสอบว่าเทคนิคนี้จะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันยาเอชไอวีที่มีอยู่นั้นสามารถหยุดยั้งไวรัสได้แต่ไม่สามารถกำจัดไวรัสได้

นักวิทยาศาสตร์เผยว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการกำจัดเชื้อเอชไอวี (HIV) ออกจากเซลล์ที่ติดเชื้อ โดยใช้เทคโนโลยีตัดต่อยีน ‘Crispr’ ที่ได้รับรางวัลโนเบล ด้วยระบบการทำงานเหมือนกับกรรไกร ในระดับโมเลกุล มันจะตัดดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อเอาชิ้นส่วนที่ ‘ไม่ดี’ ออกหรือทำให้หมดฤทธิ์ได้ 

ความหวังก็คือการกำจัดไวรัสในร่างกายให้หมดไปในที่สุด แม้ว่าจะมีกระบวนการอีกมากเพื่อตรวจสอบว่าเทคนิคนี้จะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันยาเอชไอวีที่มีอยู่นั้นสามารถหยุดยั้งไวรัสได้แต่ไม่สามารถกำจัดไวรัสได้ 

ทีมงานจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมซึ่งนำเสนอบทสรุปหรือบทคัดย่อของการค้นพบในช่วงแรกในการประชุมทางการแพทย์สัปดาห์นี้ เน้นย้ำว่างานของพวกเขายังคงเป็นเพียง ‘ข้อพิสูจน์ของแนวคิด’ และจะยังไม่กลายเป็นวิธีรักษาเอชไอวีได้ในเร็วๆ นี้

ดร.เจมส์ ดิกสัน รองศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีสเต็มเซลล์และยีนบำบัดแห่งมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมเองก็เห็นด้วย และกล่าวว่าการค้นพบทั้งหมดยังต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด

“จำเป็นต้องมีการทำงานอีกมากเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ในการตรวจวิเคราะห์เซลล์เหล่านี้ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกายสำหรับการบำบัดในอนาคต…จะต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมอีกมากก่อนที่สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี”

ดิกสันกล่าว

มันเป็นก้าวที่ท้าทายและอยู่ในช่วงทดลอง… 

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ก็พยายามใช้เทคนิค ‘Crispr’ กับเชื้อเอชไอวีเช่นกัน โดยทางบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ ‘Excision BioTherapeutics’ ได้เผยว่า “หลังจากผ่านไป 48 สัปดาห์ อาสาสมัคร 3 คนที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง”

แต่ ดร. โจนาธาน สโตเย ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสจากสถาบันฟรานซิส คริก (Francis Crick Institute) ในลอนดอน เผยว่า

“การกำจัดเชื้อเอชไอวีออกจากเซลล์ทั้งหมดที่อาจมีเชื้อเอชไอวีสะสมอยู่ในร่างกายถือเป็น ‘ความท้าทายอย่างยิ่ง’…ผลกระทบพลาดเป้าของการรักษา รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว ยังคงเป็นข้อกังวล…”

แม้ว่าการรักษาจะมีประสิทธิผล แต่บางคนก็เข้าสู่สภาวะพักหรือแฝงอยู่ ดังนั้นมันอาจยังคงมี DNA หรือสารพันธุกรรมของเอชไอวี แม้ว่าจะไม่มีการผลิตไวรัสตัวใหม่ก็ตาม 

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสตลอดชีวิต หากพวกเขาหยุดใช้ยาเหล่านี้ ไวรัสแฝงก็จะสามารถกลับมาตื่นตัวและทำให้เกิดปัญหาอีกครั้งได้ 

เห็นได้ชัดว่ามีผู้ป่วยเพียงไม่กี่รายที่ ‘หายขาด’ หลังจากการบำบัดมะเร็งชนิดรุนแรงซึ่งกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อบางส่วนออกไป แต่ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้รักษาเอชไอวีเพียงอย่างดียว 

Photo by JUAN MABROMATA / AFP

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์