นักวิทย์เฉลยปริศนา ‘ปลากระเบน’ ตั้งท้องได้เอง ตัวการไม่ใช่ฉลามอย่างที่เข้าใจ

20 กุมภาพันธ์ 2567 - 08:17

scientists-solve-virgin-stingray-pregnant-not-sharing-tank-with-her-species-SPACEBAR-Hero.jpg
  • เคสปริศนานี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมทั่วโลก แต่หลังจากมีการตรวจสอบมาหลายเดือนก็ดูเหมือนว่าในที่สุดปริศนาดังกล่าวก็อาจจะคลี่คลายได้แล้ว

  • ผู้เชี่ยวชาญที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ในนอร์ธแคโรไลนายอมรับว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ ที่เจ้าปลากระเบนตัวนี้จะผสมพันธุ์กับฉลามตัวเล็ก 1 ใน 5 ตัวที่อยู่ร่วมตู้น้ำเดียวกันกับมัน

กลายเป็นเรื่องราวปริศนาของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจนถึงขั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์อาจต้องกุมขมับ! เมื่อ ‘ปลากระเบนตัวเมีย’ ตั้งท้องทั้งๆ ที่อยู่ในตู้ปลาแค่ตัวเดียวท่ามกลางฉลามพันธุ์เล็กอีก 5 ตัว มันเป็นไปได้อย่างไร? 

เคสปริศนานี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมทั่วโลก ่หลังจากมีการตรวจสอบมาหลายเดือนก็ดูเหมือนว่าในที่สุดปริศนาดังกล่าวก็อาจจะคลี่คลายได้แล้ว โดยผู้เชี่ยวชาญที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ในนอร์ธแคโรไลนายอมรับว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ ที่เจ้าปลากระเบนตัวนี้ที่ชื่อ ‘ชาร์ลอตต์’ จะผสมพันธุ์กับฉลามตัวเล็ก 1 ใน 5 ตัวที่อยู่ร่วมตู้น้ำเดียวกันกับมัน 

แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าชาร์ลอตต์อาจต้องผ่าน ‘กระบวนการพาร์ทีโนเจเนซิส’ (parthenogenesis) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศซึ่งหายาก โดยที่ลูกหลานพัฒนาจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์

‘การเกิดแบบบริสุทธิ์’ (Virgin birth) เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เรียกว่า ‘กระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ’ (facultative parthenogenesis) ซึ่งหมายความว่าสัตว์ตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้

เคสนี้หายากมากในธรรมชาติ แม้ว่าจะพบในสายพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแมลงเม่า ไก่งวง งูหลาม และงูเหลือม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สัตว์ในป่าจะไม่แพร่พันธุ์ในลักษณะนี้ แต่งานวิจัยบางชิ้นก็ชี้ให้เห็นว่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อาจแพร่พันธุ์บ่อยขึ้นเนื่องจากการหาคู่นั้นยากขึ้น

คาดี้ ลีออนส์ นักวิทยาศาสตร์การวิจัยที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจียในแอตแลนตากล่าวว่า ‘การตั้งท้องของชาร์ลอตต์เป็นเพียงเคสเดียวที่เธอทราบเกี่ยวกับ ‘ปลากระเบนตัวกลม’ ’ อย่างไรก็ตาม ฉลาม ปลากระเบนสเกต และปลากระเบนชนิดอื่นๆ ก็มีการตั้งท้องในลักษณะนี้โดยอยู่ในความดูแลของมนุษย์ 

ชาร์ลอตต์ไม่ได้อยู่ในตู้น้ำร่วมกับตัวผู้สายพันธุ์เดียวกันเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ปีแล้ว มันอาศัยอยู่ในตู้น้ำ ‘Aquarium and Shark Lab’ ในเมืองเฮนเดอร์สันวิลล์ รัฐนอร์ธแคโรไลนา ซึ่งมีความจุประมาณ 2,200 แกลลอน  

เบรนดา ราเมอร์ ผู้อำนวยการบริหารของห้องปฏิบัติการเล่าว่า “เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการคิดว่าชาร์ลอตต์มีเนื้องอกเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก่อนที่อัลตราซาวนด์และพบว่ามันตั้งท้อง ตอนแรกเราคิดว่าเราให้อาหารมันมากเกินไป…มันยากมากที่จะเกิดขึ้น” 

ทั้งนี้ ปลากระเบนตัวกลมอย่างชาร์ลอตต์มีอยู่มากมายบนชายฝั่งแปซิฟิกทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนียและเม็กซิโก โดยมักอาศัยอยู่ตามพื้นทรายในมหาสมุทรใกล้กับแนวชายฝั่ง 

เคสนี้เคยเกิดขึ้นกับ ‘นกแร้งแคลิฟอร์เนีย’ ที่ใกล้สูญพันธุ์ด้วย

scientists-solve-virgin-stingray-pregnant-not-sharing-tank-with-her-species-SPACEBAR-Photo01.jpg

ผลการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อปี 2021 ระบุว่า “นกแร้งแคลิฟอร์เนียสามารถมี ‘การเกิดแบบบริสุทธิ์’ ได้ ซึ่งยืนยันว่าลูกนกแร้ง 2 ตัวที่ฟักออกมาในปี 2001 ชื่อ ‘SB260’ และ 2009 ชื่อ ‘SB517’ จากไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์นั้นมี DNA ตรงกับแม่ของมัน 100% หมายความว่าแร้งที่โตเต็มวัย 2 ตัวจะปฏิสนธิกับไข่ด้วยตัวเอง 

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ‘พาร์ทีโนเจเนซิส’ ด้วยเหมือนกัน แต่ตอนนั้นนักวิจัยไม่ทราบว่าลูกนกแร้งเกิดจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ จนกระทั่งพวกมันตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพ โดยตัวหนึ่งตายในปี 2003 เมื่ออายุได้ 2 ปีหลังจากถูกปล่อยสู่ธรรมชาติ และอีกตัวในปี 2017 เมื่ออายุ 8 ปีแต่ไม่เคยถูกปล่อยสู่ธรรมชาติ 

โอลิเวอร์ ไรเดอร์ ผู้ร่วมเขียนการศึกษาและผู้อำนวยการฝ่ายพันธุศาสตร์การอนุรักษ์แห่งเครือข่ายพันธมิตรสัตว์ป่าสวนสัตว์ซานดิเอโก (San Diego Zoo Wildlife Alliance) กล่าวในแถลงการณ์ ณ ขณะนั้นว่า “การค้นพบเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามว่าสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นโดยตรวจไม่พบในสัตว์สายพันธุ์อื่นหรือไม่...นี่เป็นการค้นพบที่น่าอัศจรรย์อย่างแท้จริง”  

ทว่านักวิจัยไม่สามารถบอกได้ว่าปัญหาสุขภาพเกิดจากการที่ลูกนกแร้งเกิดหรือไม่? แต่ปัญหาดังกล่าวพบในสัตว์อื่นๆ ที่เกิดแบบบริสุทธิ์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์