นักวิทย์ เตือน ‘โลกแตะ 5 จุดเสี่ยงสูงสุด’ มหันตภัยสภาพอากาศ เตรียมล้มเป็นโดมิโน

7 ธันวาคม 2566 - 09:00

Scientists-warn-earth-on-five-climate-tipping-points-at-risk-SPACEBAR-Hero.jpg
  • รายงานเรื่องจุดเปลี่ยนของโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จัดทำโดยนักวิจัย กว่า 200 คน พบว่า โลกกำลังเผชิญจุดเปลี่ยนแห่งหายนะ 5 อย่าง

  • มนุษยชาติจะได้รับผลกระทบเป็นโดมิโน ทั้งการย้ายที่อยู่ครั้งใหญ่ และการพังพินาศทางการเงิน

นักวิทยาศาสตร์เตือน ภัยคุกคามที่ร้ายแรงหลายอย่างต่อมนุษยชาติกำลังเข้าใกล้เรามากขึ้น เมื่อมลพิษทางคาร์บอนทำให้โลกร้อนไปสู่ระดับที่อันตรายมากยิ่งขึ้น

จาก Global Tipping Points Report ซึ่งเป็นรายงานจุดเปลี่ยนสูงสุดของโลก รายงานว่าจุดเปลี่ยนทางธรรมชาติที่สำคัญกำลังอยู่บนความเสี่ยง 5 เรื่องด้วยกัน และมีอีก 3 เรื่องที่อาจจะไปถึงจุดเสี่ยงในทศวรรษที่ 2030 ถ้าโลกร้อน 1.5 องศาเซลเซียส เหนือยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

การกระตุ้นให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ไม่ได้จะทำให้อุณหภูมิโลกเหนือการควบคุมในศตวรรษที่กำลังมาถึง แต่จะก่อให้เกิดอันตราย และการทำลายล้างต่อผู้คนและธรรมชาติที่ไม่สามารถย้อนกลับได้

ทิม เลนตัน แห่ง University of Exeter’s Global Systems Institute กล่าวว่า “จุดสูงสุดของระบบโลกอยู่ในจุดที่กำลังจะคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติที่ไม่เคยประสบมาก่อน สิ่งเหล่านั้นสามารถกระตุ้นให้เกิดผลกระทบแบบทำลายล้างล้มเป็นโดมิโน ประกอบด้วยการสูญเสียระบบนิเวศทั้งระบบ และประสิทธิภาพในการปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบสำคัญ กับผลกระทบทางสังคม ทั้งการย้ายที่อยู่จำนวนมาก ความไม่มั่นคงทางการเมือง และการพังพินาศทางการเงิน"

จุดสูงสุดของความเสี่ยง ประกอบด้วย การพังทลายของธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีปในกรีนแลนด์ และแอนตาร์กติกตะวันตก การละลายขยายวงกว้างของชั้นดินเยือกแข็ง (permafrost) การตายของแนวปะการังในน้ำอุ่น และการหมุนเวียนของบรรยากาศพังลงในแอตแลนติกเหนือ

แตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงอื่นๆต่อสภาพภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อนที่ร้อนขึ้น และฝนตกหนักขึ้น ระบบเหล่านี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่สามารถพลิกกลับอย่างรวดเร็วจากสภาพหนึ่งไปสู่ความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เมื่อระบบของสภาพภูมิอากาศไปถึงจุดสูงสุด บางครั้งกระทบกะทันหัน มันอาจเปลี่ยนแนวทางการทำงานของโลกอย่างถาวร

นักวิทยาศาสตร์ เตือนว่า มีความไม่แน่นอนอย่างใหญ่หลวงหลายอย่างอยู่รอบๆ เมื่อระบบเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่รายงานนี้พบว่ายังมีอีกสามอย่างที่อาจจะเข้ามาอยู่ในรายการนี้เร็ว ๆ นี้ ซึ่งได้แก่ ป่าโกงกาง และทุ่งหญ้าทะเล คาดว่าจะตายในบางภูมิภาค ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นระหว่าง 1.5 – 2 องศาเซลเซียส และป่าไม้ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบก่อน ที่ความร้อนอุณหภูมิ 1.4 องศาเซลเซียส หรืออย่างช้าที่ 5 องศาเซลเซียส

Scientists-warn-earth-on-five-climate-tipping-points-at-risk-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: แนวปะการังตาย

การเตือนนี้เกิดขึ้นขณะที่ผู้นำโลกมารวมตัวกันในการประชุมสุดยอดว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Cop 28 ในนครดูไบ เมื่อวันอังคาร (5 ธันวาคม 2566) Climate Action Tracker ประเมินว่าเป้าหมายการปล่อยก๊าซภายในปี 2030 ทำให้โลกอยู่บนเส้นทางที่จะร้อน 2.5 องศาเซลเซียสในช่วงสิ้นสุดศตวรรษนี้ แต่การสัญญาจากหลายประเทศในการประชุมก่อนหน้านี้ มีความพยายามที่จะจำกัดอยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

รายงานจุดสูงสุดนี้จัดทำโดยทีมนักวิจัยกว่า 200 คน และได้รับทุนจาก Bezos Earth Fund เป็นฉบับล่าสุดใน ‘ซีรีส์การเตือนภัย’ เกี่ยวกับผลกระทบรุนแรงที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนว่า การเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถก่อให้เกิดผลสะท้อนกลับแบบวนลูป ที่ทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้นไปอีก หรือเปลี่ยนรูปแบบของสภาพอากาศในทางที่จะกระตุ้นให้แตะจุดสูงสุดอื่นๆอีก

นักวิจัย กล่าวว่า ระบบต่างๆมีความเชื่อมโยงกันอย่างแน่นหนามาก โดยไม่สามารถแยกออกมาได้ เช่น ถ้าธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีปของกรีนแลนด์แตกสลาย มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีในการไหลเวียนของกระแสน้ำที่มีความสำคัญของโลก Atlantic Meridional Overturning Circulation หรือ กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม นั่นหมายความว่าจะทำให้ปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบสภาพอากาศที่ทรงพลังมากที่สุดของโลก

ซินา โลริอานิ แห่ง Potsdam Institute for Climate Impact Research กล่าวว่า จุดเสี่ยงสูงสุดนี้สามารถทำให้เกิดหายนะ และควรนำไปใช้อย่างจริงจัง แทนที่จะปล่อยให้ความไม่แน่นอนยังคงอยู่ 

“การไปถึงจุดเปลี่ยนเหล่านี้อาจกระตุ้นรากฐาน และบางครั้งการเปลี่ยนแปลงฉับพลันมีผลต่อโชคชะตาของส่วนสำคัญของระบบโลกที่ไม่สามารถย้อนกลับมาได้ ในหลายร้อยหรือหลายพันปีที่กำลังจะมาถึง”

ในการทบทวนล่าสุดของวิทยาศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC ) พบว่าจุดเปลี่ยนเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน แต่อันตรายจะเพิ่มสูงขึ้นจากโลกที่ร้อนขึ้น โดยกล่าวว่า “ความเสี่ยงทั้งหลายร่วมกับเหตุการณ์ขนาดใหญ่ เช่น ความไม่มั่นคงของธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป หรือ การสูญเสียระบบนิเวศจากป่าเขตร้อนชื้น เปลี่ยนผ่านไปสู่ความเสี่ยงสูง ที่อุณหภูมิระหว่าง 1.5 - 2.5 องศาเซลเซียส และไปสู่ระดับเสี่ยงสูงมาก ที่อุณหภูมิระหว่าง 2.5 – 4 องศาเซลเซียส”

รายงานจุดสูงสุดนี้ ยังพิจารณา “จุดสูงสุดเชิงบวก” เช่น ราคาของพลังงานหมุนเวียนตกฮวบ และยอดขายยานพาหนะไฟฟ้าเติบโต โดยพบว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง แต่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมที่น่าดึงดูด การทำตลาด การปรับธุรกิจ และการให้ความรู้ และตรึงความสนใจผู้คน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์