Shot of the Day: ‘ดาวฤกษ์แรกเกิด’

17 พ.ย. 2565 - 13:00

  • NASA กล่าวว่า “นี่อยู่ในระยะแรกสุดของการก่อตัวของดาวฤกษ์ ก่อนที่มันจะสลายกลุ่มเมฆฝุ่นและก๊าซ จากนั้นก็เติบโตกลายเป็นดาวฤกษ์เต็มตัว”

  • Protostar หรือ ดาวฤกษ์ก่อนเกิดที่เห็นในภาพมีอายุเพียง 100,000 ปี โดยปกติแล้ว ดาวฤกษ์จะมีอายุตั้งแต่ 1 พันล้านถึง 1 หมื่นล้านปี

SHOT-OF-THE-DAY-James-Webb-captures-beginnings-of-a-very-young-star-fiery-hourglass-shaped-SPACEBAR-Main
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) ของ NASA เปิดเผยภาพล่าสุดความยิ่งใหญ่บนท้องฟ้าเมื่อวันพุธ (16 พ.ย.) ที่ผ่านมา โดยเป็นรูป ‘นาฬิกาทรายสีส้มและฝุ่นสีน้ำเงิน’ ที่ดูเหมือนมีไฟลุกโชนอยู่กลางความมืดมิดของอวกาศ ซึ่งมองเห็นได้เฉพาะในแสงอินฟราเรดเท่านั้น โดยดาวฤกษ์ดวงนี้กำลังดูดกกลืนสสารโดยรอบเพื่อเพิ่มขนาด

ภาพดังกล่าวเป็นภาพของ Protostar (L1527) หรือ ดาวฤกษ์ก่อนเกิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นของดาวฤกษ์อายุน้อย ที่มีอายุเพียง 100,000 ปี ซึ่งโดยปกติแล้ว ดาวฤกษ์จะมีอายุตั้งแต่ 1 พันล้านถึง 1 หมื่นล้านปี

ทั้งนี้ NASA เผยว่า “นี่เป็นเหมือนดวงอาทิตย์และระบบสุริยะของเราตอนที่ยังเป็นเด็ก…มันอยู่ในระยะแรกสุดของการก่อตัวของดาวฤกษ์ ก่อนที่มันจะสลายกลุ่มเมฆฝุ่นและก๊าซ จากนั้นก็เติบโตกลายเป็นดาวฤกษ์เต็มตัว”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์