เบื้องหลัง 2 มงกุฎสำคัญในพิธีครองราชย์กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3

24 มี.ค. 2566 - 06:33

  • ในพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 จะมีมงกุฎสำคัญอยู่ 2 แบบที่กษัตริย์ชาร์ลส์สวมในโอกาสที่ต่างกัน

  • ประวัติศาสตร์เบื้องหลังมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดกับมงกุฎอิมพีเรียลสเตต 2 เครื่องราชกกุธภัณฑ์สำคัญในพิธีขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ชาร์ลส์

st-edward-crown-imperial-state-crown-story-behind-charles-coronation-SPACEBAR-Thumbnail
ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ นอกจากวันที่ 14 พฤษภาคม ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งครั้งสำคัญที่ตัดสินชะตาอนาคตทางการเมืองในครึ่งปีหลังแล้วนั้น ในวันที่ 6 พฤษภาคม ที่สหราชอาณาจักรก็กำลังจะมีพระราชพิธีสำคัญที่จะถือเป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์นั่นคือ พระราชพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร   

แม้ยังเหลือเวลาอีกราว 2 เดือนก่อนจะถึงกำหนดพระราชพิธีดังกล่าว แต่ก็เริ่มทยอยมีการปล่อยข้อมูลที่น่าสนใจในหลายประการสำหรับการเปลี่ยนธรรมเนียมในพระราชพิธีบางอย่าง ให้เหมาะสมกับความเป็นสมัยใหม่และเชื่อมโยงระหว่างสถาบันกษัตริยอังกฤษกับสาธารณะชนมากขึ้น  

หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักพระราชวังบังกิงแฮมแถลงว่าจะไม่นำเพชร โค-อิ-นัวร์ อันเป็นเพชรที่เต็มไปด้วยข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์มากมายระหว่างสหราชอาณาจักรกับอินเดีย ออกมาใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเพชรดังกล่าวเดิมทีจะถูกประดับอยู่ที่ด้านบนของมงกุฎควีนแมร์รี่ (Crown of Queen Mary) ซึ่งเป็นมงกุฎที่ราชินีคามิลาจะสวมในพิธีบรมราชาภิเษก แต่เพื่อป้องกันข้อถกเถียงในวงกว้าง ทางหอคอยลอนดอนซึ่งเป็นผู้เก็บรักษามงกุฎและเครื่องราชกกุธภัณฑ์สำคัญในพิธีนี้ ระบุว่าจะมีการนำมงกุฎควีนแมรี่มาบูรณะใหม่เพื่อใช้ในพิธีราชาภิเษกโดยจะไม่มีเพชรโค-อิ-นัวร์ ประดับอยู่ 

อย่างไรก็ตาม ในบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่ถูกใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษนับตั้งแต่ยุคกลางถึงปัจจุบัน จะมีมงกุฎสำคัญอยู่ 2 องค์ ซึ่งมงกุฎหนึ่งจะถูกสวมเพียงครั้งเดียวเฉพาะในพิธีบรมราชาภิเษก และอีกมงกุฎหนึ่งจะถูกใช้เฉพาะในงานรัฐพิธีเท่านั้น นั่นคือ มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St Edward's Crown) กับมงกุฎอิมพีเรียลสเตต (Imperial State Crown) 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6orNoZTQM9lkSfL8nwNQR4/4df0c4bdc457b986731a495c4bf086b3/st-edward-crown-imperial-state-crown-story-behind-charles-coronation-SPACEBAR-Photo01
Photo: มงกุฏเซนต์เอ็ดเวิร์ด ขณะถูกนำออกประกอบพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เมื่อ 4 มิถุนายน 2013 (Photo: JACK HILL / POOL / AFP)

มงกุฎเฉพาะพิธีราชาภิเษก 

St Edward’s Crown หรือมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด เป็นครื่องราชกกุธภัณฑ์สำคัญอย่างยิ่งในพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 โดยมงกุฎนี้จะถูกสวมให้กับกษัตริย์พระองค์ใหม่โดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี อัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ  

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดเป็นหนึ่งในมงกุฎที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก มงกุฎนี้ถูกนำออกมาใช้เฉพาะพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษเท่านั้น และจะถูกเก็บไว้ที่หอคอยลอนดอน  

ชื่อของมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด ตั้งตามชื่อของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี (Edward the Confessor) กษัตริย์จากราชวงศ์เวสเซกซ์ ที่เคยปกครองนอร์มันอังกฤษ ราว ค.ศ. 1005 - ค.ศ. 1066 ในช่วงที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดปกครองดินแดนอังกฤษ พระองค์ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่เลื่อมใสในคริสต์จักรเป็นอย่างมาก พระองค์ถือเป็นกษัตริย์อังกฤษองค์แรกที่สนับสนุนการนับถือศาสนาคริสต์ในดินแดนแองโกลแซกซอน ทั้งยังมีบางหลักฐานที่เชื่อว่าพระองค์เป็นผู้ดำริให้สร้างมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ สถานที่ซึ่งถูกใช้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์อังกฤษตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน 

ตามตำนานระบุว่า หลังการสวรรคตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด พระองค์ถูกฝั่งที่งมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์พร้อมกับเครื่องประดับอัญมณีล้ำค่าจำนวนหนึ่ง ที่หนึ่งในนั้นมีมงกุฎทองคำรูปกางเขนที่ประดับด้วยอัญมณีก้อนเล็กโดยรอบ โดยก่อนสวรรคตพระองค์มอบหมายให้คณะนักบวชที่ดูแลวิหารเวสต์มินสเตอร์เป็นผู้ดูแลมงกุฏองค์นี้ สำหรับพิธีราชาภิเษกกษัตริย์อังกฤษองค์ต่อไป  

แต่หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏข้อมูลชัดเจนนักว่ามงกุฎนี้ถูกใช้ในการบรมราชาภิเษกกษัตริย์อังกฤษต่อมาหรือไม่ กระทั่งพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ในปี 1220 ที่ปรากฏภาพซึ่งดูเหมือนสวมมงกุฏที่คล้ายกับ St Edward’s Crown  ตามบันทึกอธิบายเบื้องต้นว่า ‘มงกุฎลวดทองคำของกษัตริย์ประดับด้วยหินก้อนเล็กและระฆังเล็กสองใบ’ มีน้ำหนัก 79.5 ออนซ์ (2.25 กก.)  

นับตั้งแต่ยุคพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี  St Edward’s Crown แทบจะไม่ออกจากการดูแลของมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กระทั่งยุคกษัตริย์ริชาร์ดที่ 2 ถูกบังคับให้สละราชสมบัติในปี 1399 พระองค์ได้นำมงกุฏไปเก็บในหอคอยลอนดอน 

ในปี 1533 St Edward’s Crown ถูกลดทอนความสำคัญลง ในยุคของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ซึ่งพระองค์ปฏิรูปศาสนาจากคาทอลิก สู่นิกายนิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England) มงกุฎเอ็ดเวิร์ดที่ถูกสร้างจากยุคพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี ผู้เคร่งครัดในคาทอลิกจึงไม่แปลกที่ St Edward’s Crown ถูกลดบทบาทลง ขณะเดียวกันในพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ยังเป็นครั้งแรกที่มีการสวมมงกุฎให้กับราชินีพระชายา ซึ่งคนแรกที่ได้รับการสวมมงกุฎคือ พระนางแอนน์ โบลีน  จนถึงช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษรัฐสภาได้ขายมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดในยุคกลางซึ่งโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ มองว่าเป็นสัญลักษณ์ของ ‘การปกครองที่น่ารังเกียจของกษัตริย์’
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7sUIsPsE5YMTdaSV9JuItQ/0c9f30af9bfbab70c313ce7716eac1d0/st-edward-crown-imperial-state-crown-story-behind-charles-coronation-SPACEBAR-Photo03
Photo: แฟ้มภาพ พิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เมื่อ 2 มิถุนายน 1953
มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด  ถูกสร้างขึ้นใหม่หลังอังกฤษฟื้นฟูระบบกษัตริย์อีกครั้งในพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 2 ในปี 1661  โดยมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดองค์ใหม่นี้ ถูกสร้างโดยช่างทองหลวง เซอร์โรเบิร์ต ไวเนอร์ ได้รับการออกแบบให้คล้ายกับมงกุฎในยุคกลาง โดยมีฐานทองคำหนักประดับด้วยอัญมณีมีค่า ที่เพิ่มมาคือส่วนโค้งแบบบาโรกที่เป็นเทรนด์ในสมัยนั้น  

อย่างไรก็ตามไม่ชัดเจนนักว่า มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด องค์ใหม่นี้ใช้ทองคำจากมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดเดิมหรือไม่ เนื่องจากมีน้ำหนักเกือบเท่ากัน และไม่ปรากฏหลักฐานใบการสั่งซื้อทองคำของ เซอร์โรเบิร์ต ไวเนอร์ ขณะเดียวกัน ยังปรากฏภาพเขียนบางภาพที่แสดงถึงมงกุฎสีทองที่อยู่ในห้องนอนของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์  

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดที่เซอร์โรเบิร์ต ไวเนอร์ สร้างเป็นทองคำ 22 กะรัต มีเส้นรอบวง 66 ซม. (26 นิ้ว) สูง 30 ซม. (12 นิ้ว) หนัก 2.23 กก. (4.9 ปอนด์) มีสัญลักษณ์รูปเฟลอร์-เดอ-ลีส สลับกับกางเขนไขว้กันรองรับซุ้มโค้ง ภายในบุด้วยหมวกกำมะหยี่สีม่วง มงกุฎประกอบด้วยพลอยมีค่าและอัญมณี 444 เม็ด 

แม้จะเป็นมงกุฎสำคัญในพิธีราชาภิเษก แต่ที่ผ่านมามีกษัตริย์อังกฤษเพียง 6 พระองค์เท่านั้นที่เลือกสวมมงกุฏเซนต์เอ็ดเวิร์ดนั่นคือ ชาร์ลส์ที่ 3 (1661), เจมส์ที่2 (1685), วิลเลียมที่ 3 (1689), จอร์จที่ 5 (1911), จอร์จที่ 6 (พ.ศ. 2480) และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ที่กำลังจะมาถึง  

ส่วนกษัตริย์องค์อื่นอย่าง พระราชินีนาถวิกตอเรีย ไม่ใช้มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด เพราะน้ำหนักที่มากถึง 2 กิโลฯ ขณะที่พระองค์มีรูปร่างเล็ก เช่นเดียวกับเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ที่ใช้มงกุฎองค์อื่นแทนเนื่องจากน้ำหนักที่เบากว่า 

ด้วยตำนานต้นกำเนิดของมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด นั่นจึงเป็นคำตอบว่าเหตุใดจึงมีการใช้มงกุฎองค์นี้เฉพาะในพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น และมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดจะถูกจัดเก็บในหอคอยลอนดอนเท่านั้น 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4h1rjxqoAzWAFdKimZwPDy/7a550aeb29f688f0d22ed52b7c2808f6/st-edward-crown-imperial-state-crown-story-behind-charles-coronation-SPACEBAR-Photo04
Photo: มงกุฎอิมพีเรียลสเตต บนโลงพระศพควีนเอลิซาเบธที่ 2 (Photo: HANNAH MCKAY / POOL / AFP)

มงกุฎอิมพีเรียลสเตต 

หากมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดจะถูกใช้พิธีบรมราชาภิเษกซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในทุกครั้งที่อังกฤษมีกษัตริย์องค์ใหม่ แต่ยังมีมงกุฎอีกองค์ที่ถูกใช้ในงานรัฐพิธีสำคัญ อาทิ การเสด็จการเปิดรัฐสภา ทั้งยังเป็นเครื่องแสดงถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ นั่นคือ มงกุฎอิมพีเรียลสเตต (Imperial State Crown)  

เช่นเดียวกับมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด ตามประวัติศาสตร์แล้วมงกุฎอิมพีเรียลสเตต (Imperial State Crown) สามารถนับย้อนกลับไปได้ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ที่สั่งให้สร้างมงกุฎที่มีความสวยงามมากกว่ามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด แต่ถ้าที่สุดมงกุฎนี้ก็ถูกทำลายในช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษเช่นเดียวกับมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด 

กระทั่งช่วงปี 1838 ในพิธีบรมราชาภิเษกควีนวิคตอเรีย มีการสร้างมงกุฎขึ้นมาใหม่เพื่อแสดงถึงความอลังการและอำนาจของจักรวรรดิอังกฤษอันเกรียงไกร พระองค์จึงรับสั่งให้โรงงานช่างทอง Rundell and Bridge สร้างมงกุฎนี้ขึ้นเมื่อปี 1838 โดยใช้ทั้งอัญมณีเก่าและใหม่ ตัวมงกุฎทำจากทองคำ ประดับด้วยเพชรและพลอยกว่า 3,000 เม็ด รวมถึงเพชรคัลลิแนน มรกต และไพลิน บริเวณด้านหน้าของมงกุฎยังมีทับทิมขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า Black Prince’s Ruby ประดับอยู่ 

หากย้อนไปช่วงต้นที่กล่าวถึงมงกุฎเซนต์เอ็นเวิร์ดที่มีน้ำหนักถึง 2 กิโลกรัม มงกุฎอิมพีเรียลสเตตจึงถูกสร้างให้เหมาะสมกับควีนวิคตอเรียซึ่งมีน้ำหนักรวมแค่ 1.06 กิโลกรัม (2.3 ปอนด์)  

ข้อมูลจาก Royal Collection Trust ระบุว่า แต่เดิมในงานรัฐพิธีอย่างการเปิดประชุมรัฐสภา ในเวลานั้นพระราชินีวิคตอเรียจะใช้มงกุฏ Queen Victoria’s Imperial State Crown ในการประกอบพิธีดังกล่าว ทว่าในวันหนึง ดยุกแห่งอาร์กิล ผู้ดูแลมงกุฎทำมงกุฎหล่นจนอัญมณีหลุดเสียหาย จึงมีการนำมงกุฎอิมพีเรียลสเตตที่ถูกสร้างในพิธีราชาภิเษกมาใช้ในงานรัฐพิธีแทน นั่นจึงเป็นเหตุผลว่านับตั้งแต่นั้น มงกุฎอิมพีเรียลสเตตถูกใช้ในงานรัฐพิธีสำคัญนับตั้งแต่ยุคควีนวิคตอเรียเรื่อยมาจนถึงควีนเอลิซาเบธที่ 2
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2Lcxy9I9902C1sfaTaeICX/b050c1b20731953b88ec9c3b7ca62d5e/st-edward-crown-imperial-state-crown-story-behind-charles-coronation-SPACEBAR-Photo05
Photo: มงกุฎอิมพีเรียลสเตต บนโลงพระศพควีนเอลิซาเบธที่ 2 (Photo: Victoria Jones / POOL / AFP)
มงกุฎนี้ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับพิธีบรมราชาภิเษกของควีนเอลิซาเบธที่ 2ในปี 1953 โดยมีการลดขนาดศีรษะและส่วนโค้งลง 25 มม. (1 นิ้ว) เพื่อให้ดูเป็นผู้หญิงมากขึ้น ส่วนในงานราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในวันที่ 6 พฤษภาคม จะมีการปรับแบบของมงกุฎเล็กน้อยโดยส่วนโค้งจะถูกยกขึ้นสู่ความสูงเดิมให้เหมาะสมกับกษัตริย์ที่เป็นชาย และปรับขนาดให้เหมาะกับศีรษะ 

แม้ว่าทั้งมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดและมงกุฎของจักรพรรดิต่างเป็นสัญลักษณ์สำคัญของสถาบันกษัตริย์อังกฤษ แต่ก็มีความหมายทางประวัติศาสตร์และสัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งยังถูกใช้ช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน  

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดถูกสงวนไว้สำหรับพิธีราชาภิเษกซึ่งเป็นงานศักดิ์สิทธิ์และประเพณีที่จัดขึ้นมานานหลายศตวรรษ ในขณะที่มงกุฎมงกุฎอิมพีเรียลสเตตถูกใช้เพื่อแสดงถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐในระหว่างพิธีทางการของรัฐ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์