การศึกษาใหม่เผย ‘ช้าง’ ก็มีชื่อเรียกแทนกันเหมือนคน

11 มิ.ย. 2567 - 10:26

  • ทีมนักวิจัยนานาชาติใช้อัลกอริธึมปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์เสียงเรียกของช้างสะวันนาแอฟริกา 2 ฝูงในเคนยา

  • งานวิจัยดังกล่าวไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าช้างใช้เสียงร้องที่เฉพาะเจาะจงสำหรับช้างแต่ละตัวเท่านั้น แต่พวกมันยังรับรู้และตอบสนองต่อเสียงเรียกนั้น

  • ขณะเดียวกันช้างตัวอื่นก็ไม่สนใจเสียงเรียกของช้างตัวอื่นที่ไม่ได้เรียกตัวเองอีกด้วย

_study-finds-elephants-call-each-other-by-name-SPACEBAR-Hero.jpg

การศึกษาใหม่เผย “ช้างร้องเรียกกันและกันโดยใช้ชื่อเฉพาะที่พวกมันประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ในขณะที่โลมาและนกแก้วพูดคุยกันด้วยการเลียนแบบเสียงของสัตว์อื่นๆ จากสายพันธุ์ของมัน แต่ ‘ช้าง’ เป็นสัตว์ชนิดแรกๆ ที่รู้จักการ ‘เรียกชื่อ’ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเลียนแบบเสียงแต่อย่างใด” 

สำหรับการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (10 มิ.ย.) ระบุว่า ทีมนักวิจัยนานาชาติใช้อัลกอริธึมปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์เสียงเรียกของช้างสะวันนาแอฟริกา 2 ฝูงในเคนยา

“งานวิจัยดังกล่าวไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าช้างใช้เสียงร้องที่เฉพาะเจาะจงสำหรับช้างแต่ละตัวเท่านั้น แต่พวกมันยังรับรู้และตอบสนองต่อเสียงเรียกนั้น ขณะเดียวกันช้างตัวอื่นก็ไม่สนใจเสียงเรียกของช้างตัวอื่นที่ไม่ได้เรียกตัวเองอีกด้วย”

ไมเคิล ปาร์โด ผู้เขียนรายงานการศึกษาหลัก กล่าว

นักนิเวศวิทยาด้านพฤติกรรมแห่งมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดกล่าวในแถลงการณ์ว่า “สิ่งนี้บ่งชี้ว่าช้างสามารถระบุได้ว่าเสียงเรียกนั้นมีจุดประสงค์เพื่อเรียกพวกมันหรือไม่ เพียงแค่ได้ยินเสียงเรียก...”  

นักวิจัยได้ตรวจดูเสียงร้องของช้างที่บันทึกไว้ที่เขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรูของเคนยาและอุทยานแห่งชาติแอมโบเซลีระหว่างปี 1986-2022 ด้วยการใช้อัลกอริธึม ‘machine-learning’ ทั้งนี้ นักวิจัยยังระบุถึงเสียงเรียกที่แตกต่างกัน 469 ครั้ง ซึ่งรวมถึงช้าง 101 ตัวที่ร้องเรียก และ 117 ตัวที่ร้องตอบ

ทั้งนี้พบว่า ช้างส่งเสียงได้หลากหลาย ตั้งแต่แบบเสียงแตรดังไปจนถึงเสียงก้องต่ำจนหูมนุษย์ไม่ได้ยิน นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่ช้างโตจะร้องเรียกชื่อมากกว่าลูกช้าง แต่การศึกษาบ่งบอกว่าอาจต้องใช้เวลาหลายปีในการเรียนรู้ความสามารถพิเศษนี้ “เสียงร้องเรียกที่ร้องบ่อยที่สุดคือ เสียงถี่ต่ำ” การศึกษาในวารสาร Nature Ecology & Evolution ระบุ 

“เมื่อนักวิจัยเปิดเสียงร้องของเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวช้างที่บันทึกไว้ ช้างในฝูงนั้นจะตอบสนองเชิงบวกด้วยความกระตือรือร้น ในขณะเดียวกัน หากเสียงร้องเรียกเป็นเสียงเรียกช้างตัวอื่น ช้างตัวนั้นก็จะไม่สนใจ” นักวิจัยกล่าว ซึ่งมันต่างจากนกแก้วและโลมาจอมซน 

สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าช้างและมนุษย์เป็นสัตว์เพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่รู้จักคิดค้นชื่อที่ ‘กำหนดเอง’ ให้กันและกัน แทนที่จะเลียนแบบเสียงกัน  

อย่างไรก็ดี นักวิจัยยังได้เรียกร้องให้มีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นกำเนิดวิวัฒนาการความสามารถในการเรียกชื่อนี้ เนื่องจากบรรพบุรุษของช้างแยกตัวออกจากสัตว์กลุ่มไพรเมต (primate / กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพัฒนาการสูงที่สุด) และสัตว์จำพวกวาฬโลมา (cetaceans) เมื่อประมาณ 90 ล้านปีก่อน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์