ไม่ใช่แค่ฮีทสโตรก! วิจัย ชี้ ‘อากาศร้อน’ ยิ่งเพิ่มการอักเสบ และเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่ม

3 เมษายน 2567 - 09:20

Study-finds-high-heat-exposure-increase-inflammation-raising-heart-disease-risk-SPACEBAR-Hero.jpg
  • อากาศที่ร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยจากความร้อน กับภาวะแทรกซ้อน เช่น ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคหัวใจ

  • การศึกษาใหม่ เผยว่าอากาศร้อน อาจเป็นอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มการอักเสบมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

การศึกษาใหม่รายงานว่าอากาศร้อนที่พุ่งสูง อาจเป็นอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเพิ่มการอักเสบมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด โดยงานวิจัยนี้ นำเสนอในการประชุมวิชาการ เรื่อง การแพร่ระบาดของโรคและการป้องกัน / วิถีชีวิตและภาวะคาร์ดิโอเมตาบอลิก ของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา 

ดร.เดเนียล ดับเบิ้ลยู ริกส์ ผู้นำการเขียนวิจัย ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการแพทย์แห่งสถาบันคริสตินา ลี บราวน์ เอ็นไวโรม แห่งมหาวิทยาลัยลุยส์วิลล์ สหรัฐฯ อธิบายว่าความร้อนจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ได้นึกถึงซึ่งตอนนี้มีความสำคัญที่นำไปสู่โรคหัวใจ

“ในบริบทของอุณหภูมิโลกร้อนที่ความถี่ของอุณหภูมิสูงสุดบ่อยขึ้นเรื่อยๆจะยิ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรอย่างต่อเนื่อง” ดร.ริกส์ กล่าว

การทำความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของความร้อนต่อสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยสุขภาพหัวใจ จำเป็นที่จะต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมในเรื่องนี้เพื่อช่วยบรรเทาและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากภูมิอากาศต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

“แม้ว่าความเชื่อมโยงระหว่างโรคหัวใจและหลอดเลือด และความร้อนที่พุ่งสูงจะเป็นที่ยอมรับดีแล้ว แต่กลไกและเส้นทางในการส่งเสริมให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังซับซ้อนและต้องการงานวิจัยเพิ่ม ดังนั้นความสนใจของเราก็คือพยายามทำความเข้าใจมากขึ้นว่าอุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้นอาจนำไปสู่ปฏิกิริยาต่อระบบภูมิคุ้มกันและการอักเสบอย่างไรบ้าง”

การวิเคราะห์ผลกระทบของอุณหภูมิต่อการทำงานของเซลล์

ในงานวิจัยนี้ ทีมวิจัยได้รับผู้เข้าร่วมเป็นผู้ใหญ่ 624 คน อายุเฉลี่ย 49.5 ปี เกินครึ่งเป็นผู้หญิงและ 77% เป็นคนผิวขาว โดยผู้เข้าร่วมเดินทางไปที่บริเวณที่ทำการวิจัยในเมืองลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งแต่ละวันอุณหภูมิเฉลี่ย 24.4 องศาเซลเซียส

นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างเลือดจากผู้เข้าร่วม และได้วิเคราะห์ไซโตไคน์ซึ่งเป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ รวมไปถึงระดับของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ประกอบด้วยโมโนไซต์ อีโอซิโนฟิล เซลล์ต่อสู้เชื้อร้าย (NK Cell) และเซลล์บี แล้วใช้ข้อมูลทดสอบเลือดมาตรวจสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบในเลือดกับระดับความร้อนจากสิ่งแวดล้อมในวันนั้น ซึ่งใช้ดัชนีภูมิอากาศความร้อนสากล (Universal Thermal Climate Index : UTCI) โดยเป็นค่าอุณหภูมิที่วิเคราะห์จากอุณหภูมิอากาศ ความชื้น ความเร็วลมและอุณหภูมิจากรังสี

อุณหภูมิที่สูงขึ้นกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ

ผลสรุปจากงานวิจัย ทีมวิจัยพบว่าดัชนีภูมิอากาศความร้อนสากลที่เพิ่มขึ้นทุก 5 องศาเซลเซียส ก็พบการเพิ่มขึ้นของสิ่งบ่งชี้สำคัญถึงการอักเสบในตัวอย่างเลือดของผู้เข้าร่วม

ดร.ริกส์ กล่าวว่า “งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างอุณหภูมิที่สูงขึ้นกับสิ่งบ่งชี้การอักเสบที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาก่อนหน้ามุ่งเน้นเบื้องต้นไปที่อุณหภูมิแวดล้อมและสิ่งบ่งชี้การอักเสบจำนวนที่จำกัด”

“วัตถุประสงค์ของงานวิจัยของเราคือเพื่อประเมินค่าความร้อนซึ่งใช้สิ่งบ่งชี้ความร้อนที่สัมพันธ์กับทางกายภาพมากกว่า เช่น UTCI และสิ่งบ่งชี้การอักเสบและภูมิคุ้มกันที่กว้างกว่า โดยมีเป้าหมายที่จะได้ภาพของความเชื่อมโยงระหว่างความร้อนและการอักเสบที่สมบูรณ์และแม่นยำมากขึ้น”

ดร.ริกส์ กล่าว

“ผู้เข้าร่วมในการศึกษาของเราอยู่ท่ามกลางความร้อนในระดับปานกลางเท่านั้น และทำให้เราประหลาดใจที่พบว่าระดับปานกลางนี้เชื่อมโยงกับสิ่งบ่งชี้ที่หลากหลายซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การอักเสบ และตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดและภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง”

ผลกระทบจากความร้อนต่อระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้เข้าร่วมประสบกับ เซลล์บี ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลงด้วย นักวิจัยชี้ว่าประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง

“อุณหภูมิและความชื้นนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นตัวขับเคลื่อนทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของการติดเชื้อ ส่งผ่านสู่โรคที่แพร่เชื้อทางอากาศ” ดร.ริกส์ กล่าว

นี่อาจเป็นการเตือนว่าไม่ใช่แค่ผู้คนจะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคติดต่อเพิ่มขึ้นในช่วงที่อุณหภูมิสูง แต่พวกเขายังเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากขึ้น หรือเกิดการอักเสบ

“ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันและการอักเสบเป็นที่ทราบกันว่าจะนำไปสู่กลไกการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหลายชนิด... การค้นพบของเรา เตือนว่าความร้อนอาจทำให้เส้นทางเหล่านี้ดำเนินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งท้ายที่สุดนำไปสู่ความเสี่ยงที่ใหญ่ขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเหลือด”

ดร.ริกส์ กล่าว

ด้าน ดร.จัสติน ลี แพทย์เฉพาะทางหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแฮกเคนแซกค์ ในนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย รู้สึกว่าผู้เขียนงานวิจัยเสนอข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจ ซึ่งอาจต้องมีงานวิจัยรับรองมากกว่านี้ด้วยการสุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์ในเชิงสถิติที่ดีกว่านี้

เขาอธิบายว่า “อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือกที่แข็งแรงกว่า เช่น การสูบบุหรี่ โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง และประวัติครอบครัว ซึ่งเป็นหลักฐานที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเหตุเป็นผลอย่างชัดเจน”

“ไม่ปรากฏว่าผู้เขียนงานวิจัยนำการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดและมีแนวโน้มการจับคู่ที่จะทำให้แน่ใจว่าการสุ่มตัวอย่างนั้นถูกต้อง ดังนั้นผลก็คือไม่ใช่ภูมิคุ้มกันที่มีอิทธิพลและเป็นตัววัด”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์