นักวิทย์ชี้ 3 เขตเจอ ‘เอลนีโญ่’ เล่นงาน ไทยเจอจุดร้อนสุดล้อม

5 มีนาคม 2567 - 09:59

terrifying-maps-reveal-three-areas-will-record-breaking-temperatures-el-niño-SPACEBAR-Hero.jpg
  • มีการคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ จะทำให้ปีนี้ร้อนที่สุด “มีโอกาส 90% ที่อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกจะทำลายสถิติในช่วงเวลาเดียวกัน”

  • อ่าวเบงกอล ฟิลิปปินส์ และทะเลแคริบเบียนจะร้อนระอุเป็นประวัติการณ์

ปีที่แล้วอาจเป็นปีที่ร้อนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่การศึกษาใหม่เตือนว่า ‘สิ่งที่เลวร้ายที่สุด’ ยังมาไม่ถึง

แบบจำลองแผนที่อันน่าสะพรึงกลัวได้ถูกเปิดเผยให้เห็นถึงพื้นที่ต่างๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะ ‘อบอ้าว’ จากความร้อนทำลายสถิติในปีนี้เนื่องจากปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียจะแล้งจัด แต่แถบอเมริกาใต้จะมีฝนตกมากขึ้น) กลับมาทำหน้าที่อย่างเต็มรูปแบบ 

ตามรายงานของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิทยาศาสตร์อุตุนิยมวิทยาจีน (Chinese Academy of Meteorological Sciences) ระบุว่า “อ่าวเบงกอล ฟิลิปปินส์ และทะเลแคริบเบียน ล้วนมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ก่อนเดือนมิถุนายนปีนี้”  

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนในพื้นที่อื่นจะไม่ได้รับผลกระทบ 

การศึกษายังเตือนด้วยว่า “มีโอกาส 90% ที่อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกจะทำลายสถิติในช่วงเวลาเดียวกัน” ความผันผวนของปรากฏการณ์เอลนีโญ หรือที่เราเรียกกันในทางเทคนิคว่า เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้สภาพภูมิอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลง และในขณะที่โลกประสบกับอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่บางภูมิภาคก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่เกิดความร้อนจัด 

ผลกระทบนี้เด่นชัดมากจนนักวิจัยเขียนในรายงานที่ตีพิมพ์ในรายงานทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็น ‘ปัจจัยกำหนดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกในแต่ละปี’ 

เพื่อค้นหาว่าปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในท้องถิ่นอย่างไร นักวิจัยจึงได้สร้างแบบจำลองที่สามารถประมาณได้ว่า ‘พื้นที่ร้อนจะเป็นอย่างไรในช่วงที่เกิดเอลนีโญ?’ โดยแบบจำลองนี้เผยให้เห็นความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิเฉลี่ยในภูมิภาคระหว่างเดือนกรกฎาคม 2023 ถึงมิถุนายน 2024 และเส้นฐานระหว่างปี 1951-1980

terrifying-maps-reveal-three-areas-will-record-breaking-temperatures-el-niño-SPACEBAR-Photo01.jpg

นักวิจัยพบว่าในสถานการณ์ความร้อนรุนแรงปานกลาง ทั้งอ่าวเบงกอล ฟิลิปปินส์ และทะเลแคริบเบียนจะประสบกับอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 1 องศาฯ

อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์เอลนีโญที่รุนแรง นักวิจัยก็คาดการณ์ว่าผลกระทบจะเด่นชัดยิ่งขึ้น หากสิ่งนี้เกิดขึ้น พื้นที่ในอะแลสกา แอมะซอน และทะเลจีนใต้ก็จะมีอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์เช่นกัน ทั้งนี้ พบว่าในอะแลสกา อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1951-1980 ถึง 2.4 องศาฯ 

ในอุณหภูมิระดับโลก นักวิจัยพบว่าแม้ในสถานการณ์เอลนีโญ่ปานกลางก็มีโอกาส 90% ที่อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลก (GSMT) จะทำลายสถิติประวัติศาสตร์ในปีนี้

ภายใต้ปรากฏการณ์เอลนีโญระดับปานกลางนั้นพบว่า GSMT จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.03 - 1.10 องศาฯ ในขณะที่ระดับรุนแรงจะทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้น 1.06 – 1.20 องศาฯ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าว 

นักวิจัยยังบอกอีกว่า “ปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรงอาจทำให้ GMST เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอุณหภูมิอาจเกิน 1.5 องศาฯ ตามข้อตกลงปารีสในช่วงเวลาสั้นๆ” แบบจำลองเหล่านี้ยังชี้ให้เห็นว่าโลกอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วอีกด้วย

ในอะแลสกา นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่ามีความเสี่ยงที่ธารน้ำแข็งหรือชั้นดินเยือกแข็งถาวรจะละลาย ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นหรือความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ความร้อนจัดในแอมะซอนก็ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากไฟป่าซึ่งเกิดจากภัยแล้ง เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 2019 

นักวิจัยเสริมว่า “ความอบอุ่นที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้เพิ่มความเสี่ยงของคลื่นความร้อนในทะเลตลอดทั้งปี และเพิ่มความเสี่ยงของไฟป่า รวมถึงผลกระทบด้านลบอื่นๆ ในอะแลสกาและลุ่มน้ำแอมะซอน” 

นอกจากนี้ อุณภูมิในทะเลที่ร้อนขึ้นยังหมายถึงความเสี่ยงอย่างมากต่อพายุหมุนเขตร้อนที่สามารถทำลายล้างอย่างรุนแรงในที่ราบลุ่มที่มีพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล (low-lying coastal areas) โดยการศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้เกิดคลื่นเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่ที่มีความเร็วลมสูงถึง 192 ไมล์ต่อชั่วโมง 

แบบจำลองนี้ยังชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกิดความร้อนจัดมากที่สุดในปีหน้าด้วย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์