สื่อนอกชี้ ‘ส.ว.’ คุมอำนาจดัน ‘พิธา’ เป็นนายกฯ

16 พ.ค. 2566 - 05:25

  • ยังต้องลุ้นกันต่อสำหรับ (ว่าที่) นายก ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ และอนาคตของพรรคก้าวไกล เพราะล่าสุดสื่อนอกเองได้ออกมาวิเคราะห์ว่า ส.ว. ยังมีอำนาจโหวตอยู่ในมือ และไม่มีแนวโน้มที่จะยกมือให้

Thailand-Senate-hold-key-hopeful-election-winner-SPACEBAR-Thumbnail
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า พรรคก้าวไกล ประกาศเมื่อวันจันทร์ (15 พ.ค.) ว่า พรรคมีคะแนนเสียงเพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาลผสม แต่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร และมีจุดยืนในเรื่องป้องกันการหมิ่นราชวงศ์ ซึ่งอาจส่งผลในการยกมือโหวตเลือกนายก  

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในวัย 42 ปี นำพรรคก้าวไกลไปสู่ชัยชนะอย่างงดงามในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันอาทิตย์ (14 พ.ค.) ที่ผ่านมา คว้าที่นั่งสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง นำหน้าพรรคเพื่อไทย พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่อยู่มาอย่างยาวนาน

ชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านทั้ง 2 พรรคอาจปูทางไปสู่การยุติรัฐบาลที่มีทหารหนุนหลังเกือบ 10 ปี ซึ่งนำโดยอดีตผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งพรรคที่ตั้งขึ้นใหม่ได้ที่นั่งเพียงเล็กน้อยจากพรรคฝ่ายค้านทำ 

“ผมพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย” พิธาประกาศพร้อมอธิบายว่า พรรคของเขาและพรรคร่วมรัฐบาลในอนาคตอีก 5 พรรค ซึ่งรวมถึงพรรคเพื่อไทย จะได้ที่นั่ง 310 ที่นั่งในสภาล่างจากทั้งหมด 500 ที่นั่ง 

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างไร้ข้อโต้แย้ง พิธาจำเป็นต้องสามารถควบคุมเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติที่มี 2 สภาร่วมกัน ซึ่งรวมถึงส.ว. 250 รายที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร ดังนั้นเขาจึงต้องการแนวร่วมสมาชิกทั้งหมด 376 รายเข้าร่วมเพื่อลงคะแนนเสียงให้เขาโดยไม่ผ่านเสียงส.ว. 

Reuters พูดคุยกับส.ว. 6 รายเพื่อพยายามคาดการณ์ความเป็นไปได้ของสภาสูง ซึ่งบางคนเสนอว่า พวกเขา (ส.ว.) ไม่จำเป็นต้องลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา แม้ว่านั่นจะสะท้อนถึงความแตกต่างของเจตจำนงของประชาชนที่แสดงออกมาเมื่อวันอาทิตย์ 

สมชาย แสวงการ หนึ่งในส.ว. กล่าวว่า การลงคะแนนเลือกบุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของเขา และเสียงข้างมากในสภาล่างอย่างเดียวไม่เพียงพอ ซึ่งคนๆ นั้นต้องซื่อสัตย์และไม่สร้างปัญหาให้กับประเทศ  

สมชาย กล่าวว่า ฮิตเลอร์ได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมาก แต่นำประเทศเข้าสู่สงครามโลก หากมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความแตกแยกในประเทศ ผมจะไม่ลงคะแนนให้เขา  

กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกส.ว.อีกคนกล่าวว่า ผู้นำคนต่อไปต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และไม่คดโกง สะท้อนประเด็นตรงข้ามกับฝ่ายอนุรักษนิยมที่พรรคก้าวไกลยึดถืออยู่ 

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นของพรรคก้าวไกล คือจุดยืนในการแก้ไขกฎหมายดูหมิ่นราชวงศ์ หรือ 112 ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี สำหรับการหมิ่นประมาทสถาบันกษัตริย์ 

ด้านนักวิจารณ์กล่าวว่า ฝ่ายอนุรักษนิยมใช้กฎหมายเพื่อยับยั้งผู้เห็นต่าง และต่อต้านอย่างรุนแรงถึงข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมาย ด้วยเหตุผลว่าราชวงศ์อยู่เหนือการเมือง และพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญให้ประดิษฐานอยู่ใน ‘การเคารพสักการะ’  

ด้านเจษฎ์ ศิรธนานนท์ ส.ว.ท่านหนึ่งยืนยันว่าจะเคารพเสียงข้างมาก 

“ส.ว.ไม่ควรปิดกั้นการทำงานของรัฐสภา จากสิ่งที่เราเห็นเมื่อวานนี้ เราจะเคารพคะแนนเสียงของประชาชน” เจษฎ์กล่าว 

ขณะที่สมาชิกส.ว.คนหนึ่งกล่าวว่า เขาจะงดออกเสียงเพราะเป็นหน้าที่ของสภาล่างที่จะเลือกนายกรัฐมนตรี 

อันตรายอีกอย่างที่ ‘พิธา’ ยังต้องเผชิญคือ ‘ศาล’ 

ตามคำร้องเรียนที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ก่อนการเลือกตั้งว่าพิธาทำผิดกฎการเลือกตั้งเพราะเขาถือหุ้นในบริษัทสื่อ ITV ซึ่งพิธาชี้แจงว่า ไม่มีความผิดและข้อกล่าวหาว่าเป็นการเบี่ยงประเด็น 

“หนทางสู่การก้าวไปข้างหน้าเพิ่งเริ่มต้น และมันจะไม่ราบรื่น” เบ็ญ เกียรติขวัญกุล หุ้นส่วนของ Maverick Consulting Group ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านกิจการของรัฐกล่าว 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์