สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่ได้รับการแจ้งข้อมูลและจดหมายเชิญว่า รัฐบาลรักษาการของไทยกำลังเสนอแผนให้อาซียนกลับมาทำงานร่วมกับรัฐบาลทหารเมียนมาอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง และได้ส่งเทียบเชิญบรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนเข้าร่วมหารืออย่างไม่เป็นทางการในวันอาทิตย์นี้ (18 มิ.ย.) ว่าด้วยเรื่องของแผนสันติภาพที่ไม่คืบหน้า
Reuters ระบุว่า ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ออกหนังสือเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน
ในการประชุมเมื่อเดือนที่แล้ว ผู้นำอาเซียนเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงในเมียนมา ซึ่งเริ่มขึ้นหลังจากทหารเมียนมารัฐประหารเมื่อปี 2021 ทันที ความคับข้องใจได้เพิ่มขึ้นในหมู่สมาชิกอาเซียนบางประเทศเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับเมียนมาและความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมา และความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของไทยนี้จะทำให้เกิดคำถามใหม่เกี่ยวกับความสามัคคีของอาเซียน
แหล่งข่าว 2 แหล่งซึ่งทราบข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมในวันอาทิตย์นี้เผยกับ Reuters ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่แต่งตั้งโดยทหารเมียนมาได้รับเชิญให้เข้าร่วม ขณะที่แหล่งข่าว 3 แหล่งเผยว่า ประธานอาเซียนอย่างอินโดนีเซียปฏิเสธคำเชิญ ด้านกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียเผยกับ Reuters ว่า “ไม่ทราบเรื่องคำเชิญ”
เมื่อถูกถามเกี่ยวกับคำเชิญของทางการไทยระหว่างเดินทางเยือนสหรัฐฯ วิเวียน บาลากริษนัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เผยกับ Reuters ว่า เนื่องจากสถานการณ์ในเมียนมาไม่ดีขึ้น "คงยังเร็วไปที่จะกลับไปมีส่วนร่วมกับรัฐบาลทหารอีกครั้งในระดับการประชุมสุดยอดหรือแม้แต่ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ"
ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยปฏิเสธการแสดงความคิดเห็น
รัฐบาลทหารเมียนมาถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของอาเซียนมาเกือบ 2 ปี เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามข้ตกลง “ฉันทามติ 5 ข้อ” เมื่อปี 2021 ซึ่งรวมถึงการเรียกร้องให้ยุติการสู้รบ การเจรจาระหว่างทุกฝ่าย และการอนุญาตให้เข้าถึงด้านมนุษยธรรมอย่างเต็มที่
Reuters ระบุว่า ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเองก็ข้าสู่อำนาจด้วยการก่อรัฐประหาร ได้พยายามนำรัฐบาลทหารกลับเข้ามาสู่การประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งๆ ที่ขัดกับความพยายามของอินโดยีเซีย
แหล่งข่าวรายหนึ่งในกรุงจาการ์ตาเผยว่า อินโดนีเซียปฏิเสธคำชิญครั้งนี้ของไทยเพราะความคิดริเริ่มของไทยขัดกับความตกลงที่เกิดขึ้นในกลุ่มอาเซียจากการประชุมสุดยอดเมื่อเดือนพฤษภาคม
จดหมายเชิญของกระทรวงการต่างประเทศของไทยระบุว่า การประชุมที่เสนอจะเป็น ‘ส่วนหนึ่งของขั้นตอนเริ่มต้น’ ของกระบวนการสันติภาพ และอ้างถึงการประชุมสุดยอดที่ ‘ชาติสมาชิก’ ได้แถลงอย่างชัดเจนว่าอาเซียนควรกลับมามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเมียนมาในระดับผู้นำ
ดอนระบุในจดหมายว่า “สมาชิกจำนวนหนึ่งสนับสนุนการเรียกร้อง และบางส่วนยินดีที่จะพิจารณา ไม่มีเสียงคัดค้านที่ชัดเจน หากการพบปะหารือกันในระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้มีความคืบหน้าในเชิงบวกอย่างมาก เราขอเสนอแนะให้มีการประชุมระดับผู้นำต่อเนื่องหลังจากนั้น”
ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการ Human Rights Watch ภูมิภาคเอเชียกล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้เเสดง ‘ความหยิ่งยโส’ ด้วยการเชิญฝ่ายรัฐบาลทหารของเมียนมา ผู้ซึ่งถูกปฏิเสธโดยประเทศเพื่อนบ้าน “ไม่แปลกใจเลยที่ความพยายามของอาเซียนสะดุดในทุกก้าวเพื่อแก้วิกฤตเมียนมา”
Reuters ระบุว่า ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ออกหนังสือเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน
ในการประชุมเมื่อเดือนที่แล้ว ผู้นำอาเซียนเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงในเมียนมา ซึ่งเริ่มขึ้นหลังจากทหารเมียนมารัฐประหารเมื่อปี 2021 ทันที ความคับข้องใจได้เพิ่มขึ้นในหมู่สมาชิกอาเซียนบางประเทศเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับเมียนมาและความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมา และความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของไทยนี้จะทำให้เกิดคำถามใหม่เกี่ยวกับความสามัคคีของอาเซียน
แหล่งข่าว 2 แหล่งซึ่งทราบข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมในวันอาทิตย์นี้เผยกับ Reuters ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่แต่งตั้งโดยทหารเมียนมาได้รับเชิญให้เข้าร่วม ขณะที่แหล่งข่าว 3 แหล่งเผยว่า ประธานอาเซียนอย่างอินโดนีเซียปฏิเสธคำเชิญ ด้านกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียเผยกับ Reuters ว่า “ไม่ทราบเรื่องคำเชิญ”
เมื่อถูกถามเกี่ยวกับคำเชิญของทางการไทยระหว่างเดินทางเยือนสหรัฐฯ วิเวียน บาลากริษนัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เผยกับ Reuters ว่า เนื่องจากสถานการณ์ในเมียนมาไม่ดีขึ้น "คงยังเร็วไปที่จะกลับไปมีส่วนร่วมกับรัฐบาลทหารอีกครั้งในระดับการประชุมสุดยอดหรือแม้แต่ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ"
ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยปฏิเสธการแสดงความคิดเห็น
รัฐบาลทหารเมียนมาถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของอาเซียนมาเกือบ 2 ปี เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามข้ตกลง “ฉันทามติ 5 ข้อ” เมื่อปี 2021 ซึ่งรวมถึงการเรียกร้องให้ยุติการสู้รบ การเจรจาระหว่างทุกฝ่าย และการอนุญาตให้เข้าถึงด้านมนุษยธรรมอย่างเต็มที่
Reuters ระบุว่า ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเองก็ข้าสู่อำนาจด้วยการก่อรัฐประหาร ได้พยายามนำรัฐบาลทหารกลับเข้ามาสู่การประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งๆ ที่ขัดกับความพยายามของอินโดยีเซีย
แหล่งข่าวรายหนึ่งในกรุงจาการ์ตาเผยว่า อินโดนีเซียปฏิเสธคำชิญครั้งนี้ของไทยเพราะความคิดริเริ่มของไทยขัดกับความตกลงที่เกิดขึ้นในกลุ่มอาเซียจากการประชุมสุดยอดเมื่อเดือนพฤษภาคม
จดหมายเชิญของกระทรวงการต่างประเทศของไทยระบุว่า การประชุมที่เสนอจะเป็น ‘ส่วนหนึ่งของขั้นตอนเริ่มต้น’ ของกระบวนการสันติภาพ และอ้างถึงการประชุมสุดยอดที่ ‘ชาติสมาชิก’ ได้แถลงอย่างชัดเจนว่าอาเซียนควรกลับมามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเมียนมาในระดับผู้นำ
ดอนระบุในจดหมายว่า “สมาชิกจำนวนหนึ่งสนับสนุนการเรียกร้อง และบางส่วนยินดีที่จะพิจารณา ไม่มีเสียงคัดค้านที่ชัดเจน หากการพบปะหารือกันในระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้มีความคืบหน้าในเชิงบวกอย่างมาก เราขอเสนอแนะให้มีการประชุมระดับผู้นำต่อเนื่องหลังจากนั้น”
ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการ Human Rights Watch ภูมิภาคเอเชียกล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้เเสดง ‘ความหยิ่งยโส’ ด้วยการเชิญฝ่ายรัฐบาลทหารของเมียนมา ผู้ซึ่งถูกปฏิเสธโดยประเทศเพื่อนบ้าน “ไม่แปลกใจเลยที่ความพยายามของอาเซียนสะดุดในทุกก้าวเพื่อแก้วิกฤตเมียนมา”