เมื่ออาหารที่กินอยู่ทุกวันกำลังจะหายไปจากโต๊ะอาหารเพราะโลกร้อน!

30 มิ.ย. 2567 - 00:00

  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลเสียต่อแหล่งอาหารของโลกในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เพาะปลูกถูกทำลาย หรือแม้แต่ผลิตผลออกน้อย

  • อุณหภูมิที่ผันผวนและรูปแบบสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนทำให้พืชผลต่างๆ เจริญเติบโตได้ยากขึ้น

  • ในอนาคตอันใกล้สายจิบไวน์อาจต้องลองรสชาติใหม่ๆ แทนรสชาติพรีเมียม แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ ‘ช็อกโกแลตเลิฟเวอร์’ ต้องทำใจ เพราะอาจไม่มีขนมอยู่บนชั้นวางเลยก็ได้

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Hero.jpg

เมื่ออาหาร หรือแม้แต่ขนมบางอย่างที่เรากินอยู่ทุกวันมันดันหายไป ไม่ใช่เพราะเสกเวทมนต์ให้หายวับไป แต่เพราะ...

จะเกิดอะไรขึ้น? เมื่อผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศลุกลามไปถึงห่วงโซ่อาหารที่อาจทำให้ข้าวปลา อาหาร และผลิตผลส่วนใหญ่กำลังค่อยๆ หายไปในไม่ช้า  

ว่าแต่ว่าอาหารอะไรบ้างที่จะ ‘หายไป’...

อาหารที่กินอยู่ทุกวันกำลังจะ-‘หายไป’.jpg
Photo: อินโฟกราฟฟิกโดย : กนกวรรณ หิรัญกวินกุล

 1. กาแฟ

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Photo01.jpg

การศึกษาวิจัยในปี 2017 ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สหสาขาวิชาชีพ ‘Proceedings of the National Academy of Sciences’ เผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคุกคามทั้งพื้นที่ที่ปลูกกาแฟและผึ้ง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตสำคัญที่ทำหน้าที่ผลิตเมล็ดกาแฟประมาณ 20-25% 

ผึ้งไม่เพียงแต่เพิ่มผลผลิตของกาแฟเท่านั้น แต่ยังเพิ่มคุณภาพของเมล็ดกาแฟอีกด้วย 

น่าเสียดายที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนนั้นทำให้ผึ้งไม่สามารถทนความร้อนจากการผสมเกสรของต้นกาแฟได้ นอกจากนี้ 88% ของพื้นที่ที่เหมาะกับกาแฟในละตินอเมริกาอาจลดลงภายในปี 2050 ด้วย

2. ข้าวสาลี-ข้าว-ข้าวโพด

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Photo02.jpg

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ ‘Nature Climate Change’ เมื่อปี 2016 ได้ประมาณการว่าการผลิตข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว ซึ่งเป็นพืชที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ทั่วโลกกำลังตกอยู่ในสภาวะ ‘ขาดแคลน’ พื้นที่เพาะปลูกถูกลุกลามเนื่องจากอุณหภูมิที่ผันผวนและสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน 

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เผยว่า ข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าวคิดเป็น 51% ของปริมาณแคลอรี่ทั่วโลก และความต้องการพืชผลทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 33% ภายในปี 2050 

3. ช็อคโกแลต

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Photo03.jpg

โกโก้จะเติบโตได้เฉพาะในบริเวณละติจูด 20 องศาเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตรเท่านั้น พวกมันต้องการอุณหภูมิที่สม่ำเสมอ ความชื้นสูง ฝนตกชุก ดินที่อุดมด้วยไนโตรเจน และการป้องกันลมซึ่งแทบจะพบได้เฉพาะในป่าฝนเท่านั้น แต่หากความชื้นไม่สูงพอหรือดินไม่อุดมสมบูรณ์เพียงพอ โกโก้ก็จะเหี่ยวเฉาและตาย 

เนื่องจากพื้นที่ปลูกโกโก้จำนวนมากอยู่ในภูมิภาคที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยผันผวนมากขึ้น (และด้วยเหตุนี้จึงไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นโกโก้) 

สถานการณ์สำหรับผู้ชื่นชอบช็อกโกแลตถือว่าน่าเป็นห่วง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ประมาณการว่า พื้นที่ปลูกโกโก้อาจเผชิญกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 2.1 องศาเซลเซียสภายในปี 2050 ซึ่งจะทำให้พื้นที่เพาะปลูกลดลงอย่างมาก 

ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ ช็อกโกแลตอาจจะหายไปจากชั้นวางในซุปเปอร์มาร์เก็ตเลยก็ได้ 

4. ไวน์

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Photo04.jpg

จากการศึกษาล่าสุดโดยวารสารวิทยาศาสตร์ ‘Nature Climate Change’ พบว่า คนชอบดื่มไวน์ควรจะเริ่มตัดใจเสียแต่ในตอนนี้ เพราะการผลิตไวน์อาจลดลงประมาณ 85% ในอีก 50 ปีข้างหน้า เนื่องจากภูมิภาคที่ขึ้นชื่อในเรื่องไวน์ชั้นดีอย่างเทศมณฑลนาปาและโซโนมา รัฐแคลิฟอร์เนีย ร้อนเกินกว่าจะผลิตไวน์พรีเมียมได้ 

ความหวังริบหรี่มีอยู่จริง แต่ ‘Nature Climate Change’ ตั้งทฤษฎีว่า หากผู้ปลูกไวน์เริ่มใช้ประโยชน์จากความหลากหลายขององุ่นไวน์อื่นๆ อีก 1,088 สายพันธุ์อย่างจริงจัง อุตสาหกรรมก็สามารถอยู่รอดได้ ซึ่งมันต้องอาศัยการปรับตัวด้วย 

5. ถั่วเหลือง

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Photo05.jpg

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติซึ่งนำโดยสถาบันวิจัย ‘Potsdam Institute for Climate Impact Research’ ได้พัฒนาระบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถระบุได้ว่าพืชผลสำคัญต่างๆ ตอบสนองต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างไร และผลการค้นพบของพวกเขาก็เลวร้ายมาก 

นักวิจัยเผยว่า หากโลกไม่ลดการปล่อยก๊าซอย่างจริงจัง ผลิตผลถั่วเหลืองก็อาจลดลง 40% ภายในปี 2100 

ผู้คนทั่วโลกพึ่งพาถั่วเหลืองเพื่อเป็นโปรตีน และโลกที่ปราศจากถั่วเหลืองก็หมายถึงโลกที่ปราศจากเต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น มิโซะ และเทมเป้ แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด ถั่วเหลืองคิดเป็น 90% ของการผลิตเมล็ดพืชน้ำมันของสหรัฐฯ และเป็นแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพที่ดีเยี่ยม ทำให้ถั่วเหล่านี้เป็นหนึ่งในถั่วที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก 

6. อะโวคาโด

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Photo06.jpg

นอกจากจะเป็นผลไม้ยอดฮิตสำหรับสายรักสุขภาพแล้ว อะโวคาโดยังกลายเป็นที่ถกเถียงในหมู่ผู้คน เนื่องจากพวกเขาเริ่มตั้งคำถามถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับกล้วยที่ปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยว (monocultures) ซึ่งหมายความว่าปลูกพืชชนิดเดียวโดยไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากนัก ทำให้พืชผลอ่อนแอต่อแมลงศัตรูพืชและโรคต่างๆ ได้มากขึ้น  

เพื่อป้องกันไม่ให้อะโวคาโดถูกทำลาย จึงมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชจำนวนมากซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อถูกชะล้างออกในช่วงฝนตกหนัก 

อะโวคาโดก็เป็นพืชที่จู้จี้จุกจิกเช่นกัน แถมต้องปลูกในสภาพแวดล้อมที่ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ทั้งยังต้องการน้ำมากกว่า 250 ลิตรต่อผลในการเติบโต แต่ปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุณหภูมิที่ผันแปรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้น มันจึงน่ากังวล  

นักวิทยาศาสตร์บางคนกลัวว่าอะโวคาโดอาจสูญพันธุ์ภายในปี 2050 

7. สตรอเบอร์รี่

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Photo07.jpg

สมาคมวิทยาศาสตร์พืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science) ระบุว่า สภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนตลอดฤดูเพาะปลูกส่งผลให้รอบระยะเวลาการเพาะปลูกสั้นลง 

ช่วงเวลาที่ผ่านมาสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติทำให้การออกดอกและการผลิตสตรอเบอร์รี่ในรัฐฟลอริดาล่าช้าออกไป และแนวโน้มนี้อาจบ่งบอกถึงการผลิตสตรอเบอร์รี่ที่ลดลงอย่างถาวรมากขึ้น รวมถึงราคาที่เพิ่มขึ้นด้วย 

8. กล้วย

the-foods-that-will-get-more-expensive-with-climate-change-SPACEBAR-Photo08.jpg

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมถึงสภาพอากาศและรูปแบบอุณหภูมิที่ไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อสถานที่ เวลา หรือแม้แต่กระทั่งการผลิตการเกษตร  

กล้วยอาศัยสภาพอากาศปานกลางในการทำให้ผลสุก และต้องการน้ำสม่ำเสมอเพื่อการเจริญเติบโต สำหรับกล้วยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐฯ เรียกว่า ‘กล้วยหอมคาเวนดิช’ (Cavendish banana) ซึ่งกำลังตกอยู่ใน ‘ความเสี่ยง’ จากโรคเชื้อราที่เรียกว่า ‘ทรอปิคอล เรซ 4’ (Tropical Race 4 / TR4 หรือเชื้อราที่มีผลต่อการออกผลของกล้วย) ที่กำลังทำลายสวนกล้วยทั่วโลก

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์