อาเซียนจะลุกเป็นไฟ รัสเซีย-สหรัฐฯ ใช้อาเซียนเป็นสมรภูมิการเมือง

15 พ.ย. 2565 - 09:31

  • การประชุมหลักของโลก 3 การประชุมเกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน

  • และการประชุมเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแย่งชิงภูมิภาคนี้

TAGFOCUS-the-war-of-super-power-in-asean-and-apec-Main

ในขณะที่ไทยกำลังวุ่นวายอยู่กับการเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค เราอยากให้คนไทยมองไปรอบๆ บ้านของเราด้วยว่า ในสัปดาห์นี้มีการประชุมใหญ่ๆ ถึง 3 การประชุมที่เป็นการชุมนุมกันของผู้นำโลก งานแรกคือ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่กัมพูชา งานที่สองคือ การประชุมสุดยอด G20 ที่อินโดนีเซีย และปิดท้ายด้วยการประชุมเอเปคที่ไทย

ทั้ง 3 การประชุมนี้ การประชุมเอเปคมีผู้นำเข้าร่วมมากที่สุด แต่ประเด็นการพูดคุยไม่หนักเท่าการประชุม 2 เวทีแรก  

ดังนั้น หากต้องการจับกระแสโลกหรือแม้แต่อนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงอนาคตของไทย เราควรจะจับตาที่การประชุมสุดยอดที่กัมพูชาและอินโดนีเซียเป็นหลัก 

อย่างที่สำนักข่าว AFP รายงานว่ายังไม่ทันไรรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียที่เพิ่งประชุมเสร็จที่พนมเปญกำลังจะเดินทางต่อมายังบาหลี ก็โยนระเบิดเข้ากลางวงนักข่าวก่อนจะขึ้นเครื่อง โดยกล่าวหาว่าสหรัฐฯ ผลักดันการเพิ่มกำลังทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกล่าวว่ารัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพยายามควบคุมอิทธิพลของรัสเซียและรัสเซียในภูมิภาคนี้ 

เซอร์เก ลาฟรอฟ กำลังพูดกับนักข่าวที่สนามบินของกรุงพนมเปญหลังจากเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในกัมพูชา และก่อนที่จะบินไปบาหลีเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอด G20 ซึ่งผู้นำจีน สี จิ้นผิง และประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ จะพบปะกัน แต่ไร้เงาของ วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย

ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ ไบเดนกล่าวว่าเขาจะกำหนด ‘เส้นสีแดง’ กับ สีจิ้นผิง ซึ่งน่าจะหมายถึงการขีดเส้นแบ่งอิทธิพลกัน  

ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า สหรัฐฯ กำลังพยายามส่งเสริมอิทธิพลของตนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็กังวลกับพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจนมากขึ้นของจีนในภูมิภาคนี้ นั่นก็เพราะจีนมองว่าอาเซียนคือ ‘หลังบ้าน’ อันเป็นจุดเป็นจุดเป็นจุดตายสำคัญของจีน 

ลาฟรอฟกล่าวหาว่าสหรัฐฯ ผลักดัน “การเสริมกำลังทหารในภูมิภาคนี้ โดยมีเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อควบคุมอิทธิพลจีนและจำกัดผลประโยชน์ของรัสเซียในภูมิภาคนี้” 

ในขณะที่การรุกรานของยูเครนยังคงดำเนินต่อไป และด้วยการคว่ำบาตรจากตะวันตก รัสเซียได้หันไปทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อพยายามกอบกู้เศรษฐกิจที่ย่ำแย่

<p paraeid="{1faabc13-bb0c-4f29-aa3b-e93638e89353}{33}" paraid="401042684">ลาฟรอฟ เรียกยุทธศาสตร์ของวอชิงตันว่า &ldquo;ไม่ครอบคลุมและเป็นปฏิปักษ์กับโครงสร้างที่มีความครอบคลุมซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอาเซียนขึ้นมา&rdquo;</p>

ความไม่ครอบคลุมก็การแบ่งแยกและทำให้แตกกันเอง อย่างที่ ลาฟรอฟ เห็นว่าสหรัฐฯ ผลักดันความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับชาติต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเราอาจตีความได้ว่า เป็นการชวนให้อาเซียนเลือกข้าง และหากสมาชิกอาเซียนเลือกข้างที่แตกต่างกันก็จะทำให้กลุ่มแตกแยก

เราจะเห็นได้ว่าการประชุมต่างๆ ในอาเซียนซ่อนพลังแห่งการเผชิญหน้าไว้มากขนาดไหน 

สำนักข่าว AFP ตั้งข้อสังเกตว่า การประชุมสุดยอดระดับภูมิภาคในกัมพูชาถูกครอบงำด้วยความกังวลระหว่างประเทศ และเป็นครั้งแรกที่ประเด็นยูเครนและการชิงอำนาจระหว่างสหรัฐฯ กับจีนได้บดบังประเด็นความกังวลในท้องถิ่น เช่น ปัญหาในเมียนมา  

นั่นหมายความว่าการประชุมใดๆ ในอาเซียน จะไม่ใช่การหารือเพื่อแก้ปัญหาของคนอาเซียนอีก แต่จะเป็นเวทีการเผชิญหน้าของมหาอำนาจ โดยมีชะตากรรมของอาเซียนเป็นเดิมพัน 

จับตาการประชุมเอเปคไว้ให้ดี ถึงแม้ว่ามันจะมีพลังในการเผชิญหน้าน้อยที่สุด แต่ก็อาจจะไม่รอดพ้นที่จะเป็นเวทีเผชิญหน้าทางการเมืองเหมือนกัน 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์