ภายหลังเหตุการณ์เครื่องบินตกหลุมอากาศรุนแรงของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์เที่ยวบิน SQ321 ลอนดอน-สิงคโปร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 รายบาดเจ็บอีกกว่า 70 ราย ได้สร้างความตกตะลึงแก่ชาวโลกเป็นอย่างมาก เพราะในเวลาเพียงแค่ 1 นาทีเครื่องบินตกหลุมอากาศจากความสูงที่ 37,000 ฟุตลงมาที่ 31,000 ฟุตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้โดยสารยังไม่ทันจะได้รับการแจ้งเตือนให้รัดเข็มขัดอย่างทันท่วงทีจึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
‘หลุมอากาศ’ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของอากาศอย่างกะทันหันและไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวขึ้นและลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นส่วนที่เลวร้ายที่สุดในการบิน แม้ว่าจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ก็ไม่ค่อยรุนแรงเหมือนอย่างในเคสเที่ยวบิน SQ321 อย่างไรก็ดี มันไม่ได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อเครื่องบินพาณิชย์สมัยใหม่มากนัก ผู้คนส่วนใหญ่ที่บาดเจ็บก็เพราะว่าไม่ได้นั่งอยู่ในที่นั่ง
องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (Federal Aviation Administration / FAA) ระบุว่า
“หลุมอากาศพบบ่อยที่สุดคือ หลุมอากาศ หรือความปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส (CAT) ซึ่งเป็นหลุมอากาศรุนแรงอย่างกะทันหันที่เกิดขึ้นในช่วงที่ไม่มีเมฆจึงทำให้เครื่องบินเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง…มันเป็นปัญหาที่มักพบอย่างไม่คาดคิดและบ่อยครั้ง”
แม้ว่านักบินส่วนใหญ่จะเคยเผชิญกับหลุมอากาศเล็กน้อยมาก่อน แต่หลุมอากาศรุนแรงนั้นพบได้ยากมาก ทั้งนี้ จำนวนเที่ยวบินที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรงนั้นคิดเป็น 1 ในทุกๆ 50,000 เที่ยวบิน
แน่นอนว่าภาวะโลกร้อนอาจทำให้เราเจอกับหลุมอากาศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอนาคต จากข้อมูลของ FAA ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมาเผยตัวเลขการบาดเจ็บโดยเฉลี่ยที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรงต่อปีในสหรัฐฯ คือ 33 ราย
เส้นทางการบินที่ ‘ตกหลุมอากาศ’ บ่อยสุด!
ข้อมูลจากเว็บไซต์ ‘Turbli’ ที่วิเคราะห์เส้นทางประมาณ 150,000 เส้นทางโดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของรัฐบาลสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ เผยให้เห็นการเดินทางที่ตกหลุมอากาศบ่อยที่สุดในปี 2023 ซึ่งจัดอันดับตาม ‘อัตราการกระจายของกระแสลมวน’ (EDR) ได้แก่

“สำหรับเส้นทางการบินที่ตกหลุมอากาศบ่อยเป็นอันดับ 1 อย่างซานติอาโก-ซานตาครูซนั้นเกิดจากลมจากมหาสมุทรแปซิฟิกพัดไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งพัดเกือบตั้งฉากกับเทือกเขาแอนดีส เส้นศูนย์สูตรยังเป็นบริเวณที่รู้จักกันดีในเรื่องหลุมอากาศเนื่องจากพายุฝนฟ้าคะนอง” turbli รายงาน
การเดินทางที่ตกหลุมอากาศมากที่สุดมี 6 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางภายในประเทศในญี่ปุ่นและจีน มี 4 เส้นทาง (หลานโจว – เฉิงตู, หลานโจว – ซีอานเซียนหยาง, ซีอานเซียนหยาง – เฉิงตู, ซีอานเซียนหยาง – ฉงชิ่ง) ญี่ปุ่นและจีนนั้นพบว่ามีหลุมอากาศเนื่องจากกระแสลมกรด ภูเขาสูงและมหาสมุทร
- ในขณะที่เส้นทางยุโรป 2 เส้นทาง คือ จากมิลานไปเจนีวา และมิลานไปซูริก ถือเป็นเส้นทางที่ตกหลุมอากาศบ่อยที่สุดในยุโรป