“ภาษีศุลกากรกำลังจะมีขึ้น”
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กล่าว
แต่จะมีภาษีอะไรบ้างและเมื่อใด เนื่องจากภาษีนำเข้ามีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง จึงยากที่จะติดตามได้
ทรัมป์ได้ขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก อลูมิเนียมจากจีน และสินค้าบางรายการจากแคนาดาและเม็กซิโกแล้ว ส่วนภาษีนำเข้ารถยนต์ที่สูงขึ้นกว่าเดิมจะมีผลบังคับใช้ในสัปดาห์นี้ ขณะนี้ เรากำลังรอให้ทรัมป์เผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนใหม่ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร ซึ่งทีมของทรัมป์ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาในการจัดทำแผนดังกล่าว
ทำเนียบขาวเรียกวันที่ 2 เม.ย. ว่า ‘วันปลดปล่อยประเทศ’ แล้วเราจะรู้อะไรบ้างในวันพุธนี้
1. อัตราภาษีศุลกากรจะสูงแค่ไหน?
ทำเนียบขาวยังไม่ได้ระบุว่าภาษีจะสูงขึ้นเท่าใด แม้ว่านักวิเคราะห์จะมีการคาดการณ์อัตราภาษีที่เป็นไปได้ต่างๆ ไว้แล้วก็ตาม
ในช่วงการหาเสียงเมื่อปีที่แล้ว ทรัมป์สนับสนุนให้มีการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทุกประเภทจากสหรัฐฯ ทั้งหมด 10% และบางประเภทอาจสูงถึง 20% หรืออาจถึง 60% ก็ได้สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากจีน
หลังจากขึ้นดำรงตำแหน่ง ทรัมป์ได้เสนอแนวคิดเรื่องภาษีศุลกากรตอบโต้ (reciprocal tariffs) โดยระบุว่าอัตราภาษีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ “พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าพวกเขาเรียกเก็บภาษีจากเรา เราก็จะเรียกเก็บภาษีจากพวกเขา” ทรัมป์กล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ไม่นานก่อนที่จะสั่งให้เจ้าหน้าที่พัฒนาแผนการขึ้นภาษี
ทำเนียบขาวระบุว่าแผนของพวกเขานั้นไม่เพียงแค่การจัดเก็บภาษีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนโยบายอื่นๆ ที่พวกเขาเชื่อว่าไม่ยุติธรรมต่อธุรกิจของอเมริกา เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งประเด็นนี้ทำให้เกิดการแย่งชิงกัน เนื่องจากภาคธุรกิจและผู้นำทางการเมืองต่างเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองอาจต้องเสียภาษีใหม่จำนวนมาก และภาษีที่ประกาศในวันพุธจะมีผลอย่างไรกับภาษีอื่นๆ เช่น ภาษีเหล็กและอลูมิเนียมที่ทรัมป์ได้บังคับใช้ไปแล้ว
ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ในยุโรปกำลังเตรียมการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า 2 หลักสำหรับสินค้าส่งออกของพวกเขา ในช่วงต้นปีนี้ ทรัมป์กล่าวว่าเขาวางแผนที่จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศดังกล่าว 25%
2. ประเทศใดบ้างที่จะได้รับผลกระทบ?
รัฐบาลทรัมป์ยังไม่ได้ยืนยันว่าประเทศใดบ้างที่จะได้รับผลกระทบ แม้ว่าการประกาศเมื่อวันพุธจะถือเป็นการประกาศครั้งใหญ่ก็ตาม
เมื่อวันอาทิตย์ (30 มี.ค.) ที่ผ่านมา ทรัมป์กล่าวว่า “ภาษีศุลกากรใหม่นี้สามารถใช้กับ ‘ทุกประเทศ’...”
สิ่งนี้ทำให้ความหวังในบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักรที่คิดว่าตัวเองอาจลอยตัวแบบเงียบๆ ต้องสูญไป แม้ว่าหลายประเทศยังคงหวังว่าในที่สุดจะสามารถบรรลุข้อตกลงบางอย่างได้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าภาษีจะถูกใช้อย่างทั่วถึงหรือมีเป้าหมายเจาะจงมากขึ้นในระดับใด
เมื่อเดือนที่แล้ว สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า “ความพยายามดังกล่าวจะเน้นไปที่ 15 ประเทศที่มีปัญหาการค้ากับสหรัฐฯ มากที่สุด ซึ่งก็คือ 15% ของประเทศที่มีสัดส่วนการค้ากับสหรัฐฯ มากที่สุด และกำหนดภาษีศุลกากร หรือกฎเกณฑ์อื่นๆ ที่ทำให้บริษัทสหรัฐฯ เสียเปรียบ”
สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งเตรียมร่างคำแนะนำได้ระบุประเทศที่สนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ : อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ไทย ตุรกี สหราชอาณาจักร และเวียดนาม
“มิตรมักจะเลวร้ายกว่าศัตรู”
ทรัมป์กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
3. การเก็บภาษีจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง?
‘ภาษีศุลกากร’ คือ ภาษีนำเข้า ดังนั้นคำถามสำคัญก็คือ ใครจะเป็นผู้จ่าย?
ในทางเทคนิคแล้ว มีคำตอบง่ายๆ ก็คือ บริษัทสหรัฐฯ ที่นำเข้าสินค้าคือบริษัทที่จะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทำเนียบขาวเริ่มเรียกเก็บภาษี ‘ทันที’ แต่ยิ่งอัตราภาษีสูงขึ้น บริษัทต่างๆ ก็จะยิ่งมองหาวิธีชดเชยต้นทุนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนซัพพลายเออร์ การผลักดันให้พันธมิตรทางธุรกิจช่วยแบ่งเบาภาระ หรือขึ้นราคาสินค้าสำหรับชาวอเมริกัน
บริษัทหลายแห่งกล่าวว่าพวกเขากำลังเตรียมพร้อมสำหรับขั้นตอนดังกล่าวอยู่แล้ว แต่มันก็เป็นเกมที่มีความเสี่ยง เพราะหากบริษัทขึ้นราคามากเกินไป ผู้ซื้อก็จะปลีกตัวออกไป
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น ทั้งในสหรัฐฯ และนอกพรมแดนที่บริษัทหลายแห่งต้องพึ่งพาการขายในสหรัฐฯ
ทรัมป์กล่าวว่า “บริษัทต่างๆ ที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรสามารถดำเนินธุรกิจในสหรัฐฯ ได้ แต่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ง่าย หรือในทันที เนื่องจากมีต้นทุนสูงในการจ้างงานและการตั้งโรงงาน”
การนำความผันผวนของสกุลเงินและการตอบโต้จากประเทศอื่นๆ เข้ามาผสมผสาน และผลที่ตามมาจากความพยายามของทรัมป์ในการรีเซ็ตดุลการค้าโลกนั้น น่าจะคาดเดาได้ยากแม้ว่าจะได้รับการประกาศเมื่อวันพุธแล้วก็ตาม
(Photo by Mandel NGAN / AFP)