งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ Open ระบุว่า คนที่ทาน ‘กิมจิ’ ไม่เกิน 3 ครั้งต่อวันอาจลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนได้
ในรายงานนี้ นักวิจัยจากเกาหลีศึกษาข้อมูลจากผู้เข้าร่วมมากกว่า 100,000 คนที่มีอายุระหว่าง 40 - 69 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยของผู้ตรวจสุขภาพทั่วประเทศ และใช้คะแนนดัชนีมวลกาย (BMI) เพื่อกำหนดอัตราโรคอ้วนของอาสาสมัครที่ทำการศึกษา โดยนักวิจัยรายงานว่า ‘ดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการบริโภคกิมจิต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การรับประทานกิมจิไม่เกิน 3 มื้อต่อวันสัมพันธ์กับโรคอ้วนที่ลดลง 11% เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่า 1 มื้อต่อวัน
ขณะที่กิมจิบางประเภทก็ให้ผลเชิงบวกด้วยเช่นกัน
การรับประทานกิมจิกะหล่ำปลี 3 มื้อขึ้นไปต่อวันในผู้ชายสัมพันธ์กับโรคอ้วนโดยรวมที่ลดลง 10% และโรคอ้วนในช่องท้องลดลง 10% เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานกิมจิน้อยกว่า 1 มื้อต่อวัน
ในบรรดาผู้หญิง การบริโภคกิมจิกะหล่ำปลี 2 หรือ 3 มื้อต่อวันสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนลดลง 8% ขณะที่การบริโภคกิมจิกะหล่ำปลีน้อยกว่า 1 ครั้งสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนในช่องท้องลดลง 6%
ขณะเดียวกัน การบริโภคกิมจิหัวไชเท้าเพียงครึ่งเสิร์ฟหรือน้อยกว่านั้น (25 กรัมต่อวันสำหรับผู้ชาย และ 11 กรัมต่อวันสำหรับผู้หญิง) มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลง 8% และ 11% ของโรคอ้วนลงพุงในผู้ชายและผู้หญิงตามลำดับ
ทว่าการบริโภคกิมจิที่มากเกินไปก็ส่งผลให้ตัวเลขเหล่านี้ลดลงเช่นกัน ข้อมูลจากการศึกษาระบุว่า การรับประทานกิมจิมากกว่า 5 มื้อต่อวัน มีแนวโน้มที่จะอ้วนมากกว่าผู้ที่รับประทานในปริมาณปานกลาง
“การศึกษาแสดงให้เห็นว่าในขณะที่การบริโภคกิมจิในระดับปานกลางสามารถให้ผลประโยชน์ด้านโปรไบโอติกได้ แต่การบริโภคที่มากเกินไปอาจทำให้เสียประโยชน์เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมสูง แม้ว่าการศึกษานี้ไม่ได้ระบุสาเหตุ แต่ก็เป็นการเพิ่มงานวิจัยที่สนับสนุนการรวมอาหารโปรไบโอติกในอาหารเพื่อส่งเสริมความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้และผลลัพธ์การจัดการน้ำหนักที่ตามมา” เคลซีย์ คอสตา นักโภชนาการและที่ปรึกษาด้านโภชนาการของบริษัท Diabetes Strong Inc. ผู้ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้กล่าว
กิมจิ = ซูปเปอร์ฟู้ด?
แม้ว่าการศึกษานี้อาจชี้ให้เห็นถึงประโยชน์บางประการของกิมจิ แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่ายังมีข้อจำกัดว่าเราสามารถดึงประโยชน์จากการศึกษาเชิงสังเกตของกลุ่มประชากรเฉพาะได้มากน้อยเพียงใด
“การศึกษาอาจมีความถูกต้องอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยประการหนึ่งก็คือ จำกัดเฉพาะประชากรเกาหลีที่บริโภคอาหารหมักดองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาหารหลักที่พวกเขาทานประจำ ดังนั้น หนึ่งในความท้าทายของการศึกษาเช่นนี้คือการนำไปใช้กับประชากรที่มีภูมิหลังหลากหลายที่ไม่บริโภคอาหารหมักดอง ในกรณีดังกล่าว มันจะยากกว่าในการได้รับความถี่ของอาหารที่เป็นอาหารหมักจากกลุ่มประชากรที่หลากหลายซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่บริโภคอาหารประเภทเหล่านั้น” เยเลนา วีลเลอร์ นักโภชนาการที่อยู่ในพื้นที่ลอสแองเจลิสซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจัยบอกกับ Medical News Today
“เมื่อเราเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างไมโครไบโอมในลำไส้กับสุขภาพโดยรวม มันก็ชัดเจนมากขึ้นว่าปัจจัยด้านอาหารมีบทบาทสำคัญในการรักษาระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนนี้ การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าอาหารหมักที่มีโปรไบโอติกสูง เช่น กิมจิ สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ที่เป็นประโยชน์และช่วยควบคุมการเผาผลาญ และเราไม่จำเป็นต้องบริโภคโปรไบโอติกในปริมาณมากเกินไป ปริมาณโปรไบโอติกที่เชื่อถือได้ที่บริโภคผ่านอาหารหมักในปริมาณต่ำถึงปานกลางแสดงให้เห็นว่าสามารถลดค่าดัชนีมวลกายและน้ำหนักได้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพในการจัดการกับโรคอ้วน” คอสตากล่าว