งานวิจัยชี้ วิกฤตค่าครองชีพทำคน ‘ตายเร็ว-ยากจน-สุขภาพแย่’

27 ก.ย. 2566 - 05:46

    uk-cost-of-living-crisis-early-deaths-SPACEBAR-Hero.jpg

    การศึกษาที่ตีพิมพ์โดยวารสาร BMJ Public Health ระบุว่า วิกฤตค่าครองชีพที่เกิดจากเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรทำให้ ‘ชีวิตสั้นลง’ และ ‘ขยายช่องว่างระหว่างความมั่งคั่งและสุขภาพ’ อย่างมีนัยสำคัญ 

    การสร้างแบบจำลองที่ดำเนินการในการศึกษานี้คาดการณ์ว่าสัดส่วนของผู้ที่ ‘เสียชีวิตก่อนวัยอันควร’ (อายุต่ำกว่า 75 ปี) จะเพิ่มขึ้นเกือบ 6.5% เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยครัวเรือนที่ยากจนมากที่สุดจะต้องเผชิญกับจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าครัวเรือนที่ร่ำรวยที่สุดถึง 4 เท่า ซึ่งครัวเรือนที่ยากจนที่สุดต้องใช้สัดส่วนรายได้จากพลังงานที่มากขึ้น แน่นอนว่าต้นทุนก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน  

    นักวิจัยได้ศึกษาผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อต่ออัตราการเสียชีวิตในสกอตแลนด์ในปี 2022-3 โดยมี และไม่มีมาตรการบรรเทาทุกข์ เช่น การสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน  

    จากนั้นข้อมูลที่รวบรวมจะถูกนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลองผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ในอนาคตเกี่ยวกับอายุขัยและความไม่เท่าเทียมสำหรับสหราชอาณาจักรโดยรวม หากมีการนำนโยบายบรรเทาผลกระทบที่แตกต่างกันไปใช้ 

    แบบจำลองพบว่าอัตราเงินเฟ้ออาจทำให้การเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 5% ในพื้นที่ที่กันดารน้อยที่สุด และ 23% ในพื้นที่ที่กันดารมากที่สุด โดยลดลงเหลือ 2% และ 8% หากมีการบรรเทาผลกระทบ โดยมีอัตราโดยรวมประมาณ 6.5% ซึ่งอายุขัยโดยรวมก็จะลดลงในแต่ละกรณีเช่นกัน 

    นักวิจัยกล่าวว่า การวิเคราะห์ของเรามีส่วนพิสูจน์ว่าเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อสุขภาพของประชากร ผลกระทบต่อการเสียชีวิตจากภาวะเงินเฟ้อและรายได้ที่ลดลงมีแนวโน้มว่าจะขยายวงกว้าง โดยมีความไม่เท่าเทียมที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การนำนโยบายสาธารณะไปใช้นั้นไม่เพียงพอที่จะปกป้องสุขภาพและป้องกันความไม่เท่าเทียมที่ขยายวงกว้างขึ้น 

    อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรชะลอตัวลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนสิงหาคมเป็น 6.7% จากระดับสูงสุดที่ 11.1% แต่ยังคงสูงที่สุดในกลุ่ม G7 (Group of 7) โดยได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์โคโรนาไวรัส เบร็กซิต (Brexit - การถอนตัวจากสหภาพยุโรป) และสงครามในยูเครน

    เรื่องเด่นประจำสัปดาห์