ลงคะแนนจากอวกาศ? ส่องการเลือกตั้งสุดแปลกรอบโลก

9 พ.ค. 2566 - 10:23

  • อินเดียจัดการเลือกตั้งในภูมิภาคที่กว้างใหญ่และหลากหลายได้อย่างไร? หากไม่มาเลือกตั้งในออสเตรเลียจะโดนปรับ?

  • หรือหากว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นนักบินอวกาศที่กำลังโคจรรอบโลกอยู่ล่ะ พวกเขาจะเสียสิทธิไหม? แล้วจะเลือกตั้งยังไงกัน?

  • ปาปัวนิวกินีกับปัญหาชนเผ่าที่ก่อกวนการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน

Unusual-ways-voting-around-the-world-election-SPACEBAR-Thumbnail
14 พฤษภาคมนี้มาร่วมสร้างโอกาสในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไปก็ขึ้นอยู่กับพวกคุณแล้วล่ะ  

ว่ากันว่าระบอบประชาธิปไตยนั้นมีเป้าหมายอย่างหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้พลเมืองว่าทุกคนสามารถไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงได้ โดยไม่คำนึงว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ที่ไหน เพศอะไร สถานะทางสังคมแบบไหน หรือเชื้อชาติใด  

ทว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับการจัดเลือกตั้งในบางพื้นที่เนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ความหนาแน่นของประชากร ความขัดแย้ง และสถานการณ์ชั่วขณะอื่นๆ อีกหลายร้อยสถานการณ์ ซึ่งแสดงถึงอุปสรรคบางประการที่รัฐบาลต้องจัดการเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งที่ยุติธรรมนั่นเอง 

‘อินเดีย’ กับการเลือกตั้งที่ยาวนานที่สุดในโลก

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1QpFePQd02L4SxRZZSZMVU/200bbe043f38cccbc7e10bdcbf8cbc3b/Unusual-ways-voting-around-the-world-election-SPACEBAR-Photo01
Photo: SAM PANTHAKY / AFP
ด้วยจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 900 ล้านคน จึงส่งผลให้อินเดียมีการจัดเลือกตั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งถือว่าค่อนข้างท้าทายเลยทีเดียว ไม่ใช่เพราะมีผู้ลงคะแนนจำนวนมากเท่านั้น แต่อินเดียมีภาษาราชการถึง 22 ภาษาและดินแดนที่หลากหลายรวมถึงพื้นที่ห่างไกลที่ไม่ได้รับการบริการทุกประเภทตั้งแต่ยอดเขาหิมาลัยไปจนถึงเกาะเขตร้อนและเขตชายแดนป่า

เจ้าหน้าที่รัฐจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเข้าถึงพลเมืองได้มากที่สุดแม้ในสถานที่ห่างไกลที่สุด ซึ่งในอินเดียมีกฎหมายว่าหน่วยลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะต้องตั้งไว้ภายในระยะ 2 กิโลเมตรตามดินแดนของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทุกคน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1PV7adtdR97dTqYdnfBocv/a9b14e15eb5737a49892095b90a681a2/Unusual-ways-voting-around-the-world-election-SPACEBAR-Photo02
Photo: SAM PANTHAKY / AFP
ในขณะที่ประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ มักจะรวมการลงคะแนนเสียงให้จบภายใน 1 วัน แต่ในอินเดียอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ เมื่อปี 2019 การเลือกตั้งก็ใช้เวลานานถึง 39 วัน ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐกว่า 10 ล้านคนต้องเดินทางเป็นเวลาหลายวันทั้งทางถนน เรือ และบางครั้งใช้ช้างก็มีเพื่อข้ามภูมิประเทศที่เป็นอุปสรรคในการติดตั้งหน่วยเลือกตั้ง 1 ล้านหน่วย  

ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา การลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ค่อยๆ เข้ามาแทนที่บัตรลงคะแนนแบบกระดาษแทนเพื่อป้องกันการฉ้อโกงและประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย อย่างไรก็ตาม เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เจ้าหน้าที่จึงต้องบรรจุในกระเป๋าพกพาพิเศษเมื่อการลงคะแนนเสร็จสิ้น ซึ่งก็สร้างภาระหนักให้กับเจ้าหน้าที่รัฐที่เดินทางอยู่ดี 

ใน ‘ออสเตรเลีย’ ถ้าไม่ไปลงคะแนนเสียง…โดนปรับ!

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1UqSwZwAmle5Vet3WwSB4e/9cd846fba664cabd8967a667c9a283ed/Unusual-ways-voting-around-the-world-election-SPACEBAR-Photo03
“เราหวังว่าคุณจะมีเหตุผลที่ดีที่จะไม่เข้าร่วมการเลือกตั้ง!”  สำหรับชาวออสซี่ การเมินเฉยต่อการเลือกตั้งหรือลงประชามติ อาจเสี่ยงถูกปรับ 20 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 460 บาท)  

หลายๆ ประเทศอาจพบว่าสิ่งนี้ยากที่จะเชื่อ แต่ในออสเตรเลีย การลงคะแนนเสียงถือเป็นเรื่องบังคับ หากว่าพลาดลงคะแนนเสียง จะได้รับอีเมลหรือข้อความจากรัฐบาลเพื่อขอคำอธิบาย และค่าปรับจะเพิ่มขึ้นด้วยหากไม่ชำระเงินดังกล่าว 

นอกจากนี้ ยังมีหลายประเทศที่กฎหมายกำหนดให้มีการลงคะแนนเสียง แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่บังคับให้พลเมืองออกไปเลือกตั้ง  

อย่างในในอาร์เจนตินาก็เก็บค่าปรับเช่นเดียวกันหากว่าพลเมืองไม่ไปใช้สิทธิ ขณะที่บราซิลก็จำเป็นต้องมีหลักฐานยืนยันการลงคะแนนเสียงหรือเหตุผลอันสมควรในการขอหนังสือเดินทางหรือเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐ ส่วนอีกฟากฝั่งทางเอเชียอย่างสิงคโปร์นั้น ถ้าไม่ออกไปเลือกตั้งนั่นหมายความว่าคุณจะถูกลบออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปโดยปริยาย 

แม้ว่าจะยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าการบังคับลงคะแนนเสียงเป็นวิธีที่มีความหมายในการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่? แต่ก็น่าสังเกตว่าออสเตรเลียกลับมีอัตราการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่สูงที่สุดในโลกถึง 89% ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2022 

ลงคะแนนเสียงจากนอกโลกยังไง?

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2yJqo4PkpxhsWXNRMU7hKa/67979553ce4c5953a8b2fd5f1b8d44e3/vote_1
Photo: ดร.เคท รูบินส์ นักบินอวกาศของ NASA ขณะลงคะแนนเสียงบนอวกาศปี 2020 Photo: Wikipedia / NASA
เคยสงสัยไหมว่าหากผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็น ‘นักบินอวกาศ’ ที่กำลังปฏิบัติภารกิจนอกโลกอยู่ล่ะ พวกเขาจะเลือกตั้งได้ไหม? แล้วจะเลือกยังไง?  

ทุกวันนี้ โอกาสในการมีส่วนร่วมสำหรับการเลือกตั้งระหว่างปฏิบัติภารกิจมีมากขึ้น เนื่องจากนักบินอวกาศใช้เวลาถึง 6 เดือนในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แต่การลงคะแนนจากอวกาศทำงานอย่างไร? คำตอบก็คือ นักบินอวกาศสามารถลงคะแนนเสียงได้ด้วยบัตรลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์แบบพิเศษ 

กระบวนการลงคะแนนเสียงนี้เริ่มขึ้นในปี 1997 เมื่อกฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติแห่งรัฐเท็กซัสระบุว่า “บุคคลที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงภายใต้ประมวลกฎหมายการเลือกตั้งเท็กซัสหมวดที่ 101 แต่จะต้องเดินทางในอวกาศระหว่างช่วงการลงคะแนนล่วงหน้าและในวันเลือกตั้งก็มีสิทธิลงคะแนนเสียงได้” (ทำไมต้องเป็นเท็กซัส เพราะว่าที่นั่นเป็นที่ตั้งของศูนย์อวกาศจอห์นสัน (JSC) ของ NASA ซึ่งนักบินอวกาศส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองฮิวสตัน) 

ก่อนปฏิบัติภารกิจ นักบินอวกาศจะต้องระบุว่าตนจะโคจรในอวกาศเมื่อใดซึ่งมันตรงกับการเลือกตั้งครั้งใด จากนั้น ก่อนวันเลือกตั้ง บัตรลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ารหัสจะถูกเชื่อมโยงไปยังนักบินอวกาศโดย Mission Control ของ JSC  

ทั้งนี้ ชุดข้อมูลประจำตัวจะส่งถึงลูกเรือแต่ละคนทางอีเมล ซึ่งนักบินอวกาศสามารถเข้าถึงบัตรลงคะแนน ลงคะแนนเสียง และส่งสัญญาณกลับลงมายังพื้นโลกที่สำนักงานเทศมณฑล ถึงกระนั้นสมาชิกลูกเรือก็จำเป็นต้องลงคะแนนเสียงให้ตรงตามเวลาที่บัตรเดินกลับมาบนโลกด้วย 

ชมคลิปการลงคะแนนเสียงจากอวกาศที่นี่
สำหรับนักบินอวกาศคนแรกที่ได้ลงคะแนนเสียงในอวกาศก็คือ เดวิด วูลฟ์ จาก NASA ขณะที่เขาอยู่บนสถานีอวกาศรัสเซียมีร์ (Mir) ในปี 1997  

และล่าสุดกับ ดร.เคท รูบินส์ นักบินอวกาศของ NASA ก็ได้ลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีจากสถานี ISS ถึง 2 ครั้งด้วยกันในปี 2016 และ ในปี 2020  ที่รูบินส์ลงคะแนนจากระยะทางกว่า 200 ไมล์ขึ้นไปซึ่งโคจรรอบโลกด้วยความเร็ว 17,500 ไมล์ต่อชั่วโมงบนสถานีอวกาศ ISS 

อย่างไรก็ดี กระบวนการนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้ว่าตอนนี้บัตรลงคะแนนจะถูกส่งไปยังสถานี ISS แทน ซึ่งภารกิจของนักบินอวกาศโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน 

โดยรวมแล้วการลงคะแนนเสียงของนักบินอวกาศก็ไม่แตกต่างจากการลงคะแนนเสียงโดยไม่ต้องไปที่หน่วยเลือกตั้ง (absentee voting)  ซึ่งมีข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือ เมื่อนักบินอวกาศกรอกบัตรลงคะแนน พวกเขาจะระบุที่อยู่เป็น ‘วงโคจรต่ำของโลก’ (low-Earth orbit) หรือวงโคจรที่อยู่ระหว่างความสูง 160-2000 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก 

‘ปาปัวนิวกินี’ กับปัญหาชนเผ่าที่ก่อกวนการเลือกตั้ง 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3h0YxunhR71CbTgRLwehJX/050eebc45f2b5d211efa042cc032f060/Unusual-ways-voting-around-the-world-election-SPACEBAR-Photo04
Photo: TORSTEN BLACKWOOD / AFP
ย้อนกลับไปในปี 1975 ที่ออสเตรเลียให้อิสระแก่ปาปัวนิวกินี ประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชแห่งนี้จึงตัดสินใจที่จะรักษาระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ด้วยการจัดเลือกตั้งระดับชาติซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำตั้งแต่นั้นมา สิ่งที่ปาปัวนิวกินีทำนั้นมันกลายเป็นหนึ่งในไม่กี่รัฐที่เคยตกเป็นอาณานิคมประสบความสำเร็จ  

ปาปัวนิวกินีน่าจะเป็นสังคมที่มีการแยกส่วนมากที่สุดในโลก และมีภาษามากกว่า 800 ภาษา รวมถึงมีชนเผ่าเล็กๆ ที่มีการแข่งขันกันหลายพันเผ่าอีกต่างหาก 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2W1jcIQckKbhN0EWPlU4v/31e8cd81467a2409758bd1001fa7b8ad/Unusual-ways-voting-around-the-world-election-SPACEBAR-Photo05
Photo: TORSTEN BLACKWOOD / AFP
และการผสมปนเประหว่างลัทธิชนเผ่ากับประชาธิปไตยนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องจบลงด้วยบาดแผลเสมอไป อย่างในดินแดนที่ห่างไกลที่สุดของประเทศ ชนเผ่า (Clans) จะใช้เวลาและพลังงานมากมายไปกับการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทำให้ผู้สมัครไม่ลังเลที่จะซื้อคะแนนเสียงด้วยเงิน หมู หรือแอลกอฮอล์  

อย่างไรก็ตาม เมื่อทุกอย่างกลับตาลปัตรในระหว่างการเลือกตั้งปี 2002 ซึ่งถือว่าโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศพบว่า พลเมืองในจังหวัดเอนกากลับหันไปใช้ความรุนแรงและเผาบัตรเลือกตั้ง โดยหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เลือกตั้งก็ยังนับคะแนนจากซากที่ไหม้เกรียม นอกจากนี้ยังพบว่ามีบัตรลงคะแนนมากกว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกกว่า 200,000 ใบด้วย 

กระทั่งในปี 2022 เหตุรุนแรงในการเลือกตั้งยังคงมีอยู่ และเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขเสียที ขณะที่ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งประเมินว่าในบางแห่งผู้มีสิทธิเƒลือกตั้งมากถึงครึ่งหนึ่งไม่สามารถลงคะแนนได้เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการลงคะแนนก็หยุดชะงักและหีบบัตรลงคะแนนก็ถูกแย่งชิงในสถานที่ต่างๆ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์