สหรัฐฯ VS จีน
กลายเป็นประเด็นเดือดท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดอยู่แล้วก็พานตึงกันเข้าไปใหญ่ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ทั้งจีนและสหรัฐฯ ก็ออกมาตอบโต้กันผ่านแถลงการณ์กันอย่างดุเดือดที่อาจทำให้สถานการณ์ในไต้หวันทวีความรุนแรงขึ้นได้เริ่มต้นด้วยเหตุการณ์ที่เครื่องบินรบ J-16 ของจีนบินตัดหน้าเฉียดจมูกเครื่องบินสอดแนม RC-135 ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมขณะที่กำลังบินลาดตะเวนในน่านฟ้าสากลเหนือทะเลจีนใต้ส่งผลให้เครื่องบินสหรัฐฯ ต้องบินฝ่ากระแสลมวนที่เกิดบริเวณปลายปีกเครื่องบิน
กองทัพสหรัฐฯ ระบุในถ้อยแถลงว่า “เครื่องบินขับไล่ของจีนลำหนึ่งได้ทำการ ‘ซ้อมรบที่ก้าวร้าวโดยไม่จำเป็น’ ระหว่างการสกัดกั้นเครื่องบินสอดแนมของสหรัฐฯ ในน่านฟ้าสากลเหนือทะเลจีนใต้”
“RC-135 กำลังดำเนินการที่ปลอดภัยและปฏิบัติการเป็นประจำ…สหรัฐฯ จะยังคงบิน แล่นเรือ โดยจะปฏิบัติการอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบในทุกที่ที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาต อีกทั้งกองกำลังร่วมภาคพื้นอินโดแปซิฟิกของสหรัฐฯ จะยังคงบินในน่านฟ้าสากลโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเรือและอากาศยานทุกลำภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ”
ด้านกองทัพจีนออกมาโต้ตอบว่า “เครื่องบินสอดแนมของสหรัฐฯ ‘จงใจบุกรุก’ ในพื้นที่ฝึกของจีน” โดยความคิดเห็นดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อการยืนยันพฤติกรรมก้าวร้าวของสหรัฐฯ ขณะที่กระทรวงต่างประเทศของจีนปฏิเสธคำยืนยันดังกล่าวและกล่าวหาว่า “สหรัฐฯ กำลังก่อตัวเป็น ‘อันตรายร้ายแรง’ ต่อจีน เพราะส่งเครื่องบินและเรือลาดตระเวนในจีนบ่อยครั้ง
“ความเคลื่อนไหวที่ยั่วยุและอันตรายของสหรัฐฯ เป็นสาเหตุหลักของปัญหาความมั่นคงทางทะเล จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยุติการยั่วยุที่เป็นอันตรายเช่นนี้…จีนจะใช้มาตรการที่จำเป็นต่อไปเพื่อปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของเราอย่างเด็ดเดี่ยว” เหมา หนิง โฆษกของจีนกล่าว
และเหตุการณ์ล่าสุดกับการเผชิญหน้ากันอย่างใกล้ชิดระหว่างเรือรบจีนและเรือพิฆาตอเมริกันในช่องแคบไต้หวันเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อสหรัฐฯ เผยวิดีโอที่แสดงให้เห็นเรือรบจีนกำลังแล่นแซงหน้าเรือพิฆาต USS Chung-Hoon ทำให้เรือของสหรัฐฯ ต้องชะลอเพื่อหลีกเลี่ยงการชน ซึ่งสหรัฐฯ มองว่าเป็นการ ‘ละเมิดกฎทางทะเล’
“RC-135 กำลังดำเนินการที่ปลอดภัยและปฏิบัติการเป็นประจำ…สหรัฐฯ จะยังคงบิน แล่นเรือ โดยจะปฏิบัติการอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบในทุกที่ที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาต อีกทั้งกองกำลังร่วมภาคพื้นอินโดแปซิฟิกของสหรัฐฯ จะยังคงบินในน่านฟ้าสากลโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเรือและอากาศยานทุกลำภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ”
ด้านกองทัพจีนออกมาโต้ตอบว่า “เครื่องบินสอดแนมของสหรัฐฯ ‘จงใจบุกรุก’ ในพื้นที่ฝึกของจีน” โดยความคิดเห็นดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อการยืนยันพฤติกรรมก้าวร้าวของสหรัฐฯ ขณะที่กระทรวงต่างประเทศของจีนปฏิเสธคำยืนยันดังกล่าวและกล่าวหาว่า “สหรัฐฯ กำลังก่อตัวเป็น ‘อันตรายร้ายแรง’ ต่อจีน เพราะส่งเครื่องบินและเรือลาดตระเวนในจีนบ่อยครั้ง
“ความเคลื่อนไหวที่ยั่วยุและอันตรายของสหรัฐฯ เป็นสาเหตุหลักของปัญหาความมั่นคงทางทะเล จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยุติการยั่วยุที่เป็นอันตรายเช่นนี้…จีนจะใช้มาตรการที่จำเป็นต่อไปเพื่อปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของเราอย่างเด็ดเดี่ยว” เหมา หนิง โฆษกของจีนกล่าว
และเหตุการณ์ล่าสุดกับการเผชิญหน้ากันอย่างใกล้ชิดระหว่างเรือรบจีนและเรือพิฆาตอเมริกันในช่องแคบไต้หวันเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อสหรัฐฯ เผยวิดีโอที่แสดงให้เห็นเรือรบจีนกำลังแล่นแซงหน้าเรือพิฆาต USS Chung-Hoon ทำให้เรือของสหรัฐฯ ต้องชะลอเพื่อหลีกเลี่ยงการชน ซึ่งสหรัฐฯ มองว่าเป็นการ ‘ละเมิดกฎทางทะเล’

สหรัฐฯ ระบุว่า เรือรบจีนเข้ามาในระยะ 150 หลา (137 เมตร) ของเรือ USS Chung-Hoon ขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในช่องแคบระหว่างจีนกับไต้หวัน
แต่ หวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวว่า “การกระทำของจีนถูกต้องตามกฎหมาย และสหรัฐฯ จำเป็นต้องไตร่ตรองถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น…ผมต้องการเน้นย้ำว่าจีนเคารพสิทธิ์ในการเดินเรือเสมอ และทุกประเทศมีสิทธิภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เราทำการตอบสนองที่สมเหตุสมผล ถูกกฎหมาย ปลอดภัย และเป็นมืออาชีพ”
แต่ หวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวว่า “การกระทำของจีนถูกต้องตามกฎหมาย และสหรัฐฯ จำเป็นต้องไตร่ตรองถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น…ผมต้องการเน้นย้ำว่าจีนเคารพสิทธิ์ในการเดินเรือเสมอ และทุกประเทศมีสิทธิภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เราทำการตอบสนองที่สมเหตุสมผล ถูกกฎหมาย ปลอดภัย และเป็นมืออาชีพ”
ณ การประชุมสุดยอดความมั่นคงแห่งเอเชีย : การเสวนาแชงกรี-ลา


ในการปราศรัย ‘Shangri-La Dialogue 2023’ ที่ประเทศสิงคโปร์ต่อสาธารณะระหว่างประเทศครั้งแรกนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม พล.อ.หลี่ซั่งฝู กล่าวถึงทั้ง 2 เหตุการณ์ที่ถูกสหรัฐฯ กล่าวหาว่าจีนละเมิดกฎและซ้อมรบที่ก้าวร้าว
“จีนไม่มีปัญหาใดๆ กับ ‘การผ่านโดยสุจริต’ (innocent passage) แต่เราต้องป้องกันความพยายามที่จะใช้เสรีภาพเหล่านั้นในการนำทาง (การลาดตระเวน) …สหรัฐฯ ไม่ใช่ผู้อ้างสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ แต่สหรัฐฯ ดำเนินการลาดตระเวนเพื่อเสรีภาพในการเดินเรือที่นั่นบ่อยครั้ง”
“สหรัฐฯ และพันธมิตรได้สร้างอันตรายขึ้น และควรให้ความสำคัญกับ ‘การดูแลน่านฟ้าและน่านน้ำในดินแดนของคุณเองให้ดี’ ”
“วิธีที่ดีที่สุดสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเรือของกองทัพเรือและเครื่องบินรบประเทศต่างๆ ไม่ควรที่จะดำเนินการปิดล้อมดินแดนของประเทศอื่น…จะไปที่นั่นเพื่ออะไร? เรามักจะพูดเสมอว่า ‘หยุดยุ่งกับเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเองเถอะ’ ”
ขณะที่ ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า “วอชิงตันจะไม่ตกใจเมื่อเผชิญกับการกลั่นแกล้งหรือการบีบบังคับจากจีน และจะยังคงแล่นและบินผ่านช่องแคบไต้หวัน รวมถึงทะเลจีนใต้เป็นประจำอีกด้วย เพื่อย้ำว่าพื้นที่เหล่านี้เป็นน่านน้ำสากล”
“เครื่องบินขับไล่ J-16 ของจีนเมื่อปลายเดือนที่แล้วก็ทำการซ้อมรบที่ก้าวร้าวโดยไม่จำเป็น ซึ่งบินตรงไปข้างหน้าจมูกเครื่องบินลาดตระเวนของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เหนือทะเลจีนใต้”
นอกจากนี้ หลี่ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาว่าถึง ‘จุดต่ำเป็นประวัติการณ์’ นับตั้งแต่ปี 1979 ครั้นเมื่อทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
“ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความขัดแย้งหรือการเผชิญหน้าที่รุนแรงระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะเป็นหายนะที่ยากจะทนสำหรับโลก…จีนเชื่อว่ามหาอำนาจควรประพฤติตนเหมือนกันแทนที่จะยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้ากันเป็นกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน”
“สหรัฐฯจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความจริงใจและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมกับจีนเพื่อสร้างเสถียรภาพและป้องกันไม่ให้ความสัมพันธ์แย่ลงไปอีก”
ในกรณีไต้หวันก็เหมือนกัน หลี่ได้ย้ำจุดยืนของปักกิ่งต่อไต้หวันว่า “ไต้หวันก็คือไต้หวันของจีน และวิธีแก้ปัญหากรณีไต้หวันนั้นเป็นเรื่องที่ชาวจีนต้องตัดสินใจ…หลักการจีนเดียวของปักกิ่งที่ว่ามีเพียงจีนเดียวและไต้หวันเป็นของจีนได้กลายเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว”
“ถ้าใครกล้าแยกไต้หวันออกจากจีน กองทัพจีนจะไม่ลังเลแม้แต่วินาทีเดียว เราจะไม่กลัวฝ่ายตรงข้าม อีกทั้งจะปกป้องอธิปไตยของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดนอย่างเด็ดเดี่ยวโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายใดๆ”
“จีนไม่มีปัญหาใดๆ กับ ‘การผ่านโดยสุจริต’ (innocent passage) แต่เราต้องป้องกันความพยายามที่จะใช้เสรีภาพเหล่านั้นในการนำทาง (การลาดตระเวน) …สหรัฐฯ ไม่ใช่ผู้อ้างสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ แต่สหรัฐฯ ดำเนินการลาดตระเวนเพื่อเสรีภาพในการเดินเรือที่นั่นบ่อยครั้ง”
“สหรัฐฯ และพันธมิตรได้สร้างอันตรายขึ้น และควรให้ความสำคัญกับ ‘การดูแลน่านฟ้าและน่านน้ำในดินแดนของคุณเองให้ดี’ ”
“วิธีที่ดีที่สุดสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเรือของกองทัพเรือและเครื่องบินรบประเทศต่างๆ ไม่ควรที่จะดำเนินการปิดล้อมดินแดนของประเทศอื่น…จะไปที่นั่นเพื่ออะไร? เรามักจะพูดเสมอว่า ‘หยุดยุ่งกับเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเองเถอะ’ ”
ขณะที่ ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า “วอชิงตันจะไม่ตกใจเมื่อเผชิญกับการกลั่นแกล้งหรือการบีบบังคับจากจีน และจะยังคงแล่นและบินผ่านช่องแคบไต้หวัน รวมถึงทะเลจีนใต้เป็นประจำอีกด้วย เพื่อย้ำว่าพื้นที่เหล่านี้เป็นน่านน้ำสากล”
“เครื่องบินขับไล่ J-16 ของจีนเมื่อปลายเดือนที่แล้วก็ทำการซ้อมรบที่ก้าวร้าวโดยไม่จำเป็น ซึ่งบินตรงไปข้างหน้าจมูกเครื่องบินลาดตระเวนของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เหนือทะเลจีนใต้”
เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ…
หลี่ก็กล่าวว่า “บางประเทศก็ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น ชอบที่จะบังคับใช้กฎของตนกับผู้อื่นใน ‘ระเบียบระหว่างประเทศที่อิงตามกฎเกณฑ์’…สิ่งที่เรียกว่าระเบียบระหว่างประเทศตามกฎนั้นไม่เคยบอกคุณว่ากฎคืออะไร และใครเป็นคนตั้งกฎเหล่านี้”นอกจากนี้ หลี่ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาว่าถึง ‘จุดต่ำเป็นประวัติการณ์’ นับตั้งแต่ปี 1979 ครั้นเมื่อทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
“ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความขัดแย้งหรือการเผชิญหน้าที่รุนแรงระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะเป็นหายนะที่ยากจะทนสำหรับโลก…จีนเชื่อว่ามหาอำนาจควรประพฤติตนเหมือนกันแทนที่จะยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้ากันเป็นกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน”
“สหรัฐฯจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความจริงใจและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมกับจีนเพื่อสร้างเสถียรภาพและป้องกันไม่ให้ความสัมพันธ์แย่ลงไปอีก”
ในกรณีไต้หวันก็เหมือนกัน หลี่ได้ย้ำจุดยืนของปักกิ่งต่อไต้หวันว่า “ไต้หวันก็คือไต้หวันของจีน และวิธีแก้ปัญหากรณีไต้หวันนั้นเป็นเรื่องที่ชาวจีนต้องตัดสินใจ…หลักการจีนเดียวของปักกิ่งที่ว่ามีเพียงจีนเดียวและไต้หวันเป็นของจีนได้กลายเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว”
“ถ้าใครกล้าแยกไต้หวันออกจากจีน กองทัพจีนจะไม่ลังเลแม้แต่วินาทีเดียว เราจะไม่กลัวฝ่ายตรงข้าม อีกทั้งจะปกป้องอธิปไตยของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดนอย่างเด็ดเดี่ยวโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายใดๆ”

ขณะที่ออสตินเตือนว่า “สงครามเหนือไต้หวันจะ ‘ทำลายล้าง’ และ ‘ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก’ ในแบบที่เราคาดไม่ถึง…ความขัดแย้งไม่ได้อยู่ใกล้แค่เอื้อมหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกวันนี้การป้องปรามมีความแข็งแกร่งขึ้น และเป็นหน้าที่ของเราที่จะรักษาไว้เช่นนั้น”
“ทั่วโลกมีส่วนได้เสียในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ความปลอดภัยของช่องทางเดินเรือเชิงพาณิชย์และห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขึ้นอยู่กับสิ่งนี้ รวมถึงเสรีภาพในการเดินเรือทั่วโลกก็เช่นกัน…”
นอกจากนี้ ออสตินยังกล่าวว่า เขากังวลอย่างยิ่งที่สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เต็มใจที่จะมีส่วนร่วมอย่างจริงจังเกี่ยวกับกลไกที่ดีกว่าสำหรับการจัดการวิกฤต และตัวเขาเองก็ยืนยันว่า “สหรัฐฯ จะยืนหยัดเคียงข้างพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราต่อไป”
“สหรัฐฯ จะเตรียมพร้อมไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น…” ออสตินกล่าวทิ้งท้าย
“ทั่วโลกมีส่วนได้เสียในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน ความปลอดภัยของช่องทางเดินเรือเชิงพาณิชย์และห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขึ้นอยู่กับสิ่งนี้ รวมถึงเสรีภาพในการเดินเรือทั่วโลกก็เช่นกัน…”
นอกจากนี้ ออสตินยังกล่าวว่า เขากังวลอย่างยิ่งที่สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เต็มใจที่จะมีส่วนร่วมอย่างจริงจังเกี่ยวกับกลไกที่ดีกว่าสำหรับการจัดการวิกฤต และตัวเขาเองก็ยืนยันว่า “สหรัฐฯ จะยืนหยัดเคียงข้างพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราต่อไป”
“สหรัฐฯ จะเตรียมพร้อมไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น…” ออสตินกล่าวทิ้งท้าย