ทางการอินโดนีเซียผ่านกฎหมายใหม่ห้ามไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานและนอกสมรส และห้ามอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน โดยหลายฝ่ายมองว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลองสำหรับประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก และเป็นการนำประเทศก้าวถอยหลังไปสู่ระบอบที่ยึดความเชื่อตามศาสนาอย่างเคร่งครัด
ภายใต้กฎหมายใหม่นี้ คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กันก่อนแต่งงานมีโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี และคู่รักที่ใช้ชีวิตอยู่กินด้วยกันก่อนแต่งงานมีโทษจำคุกสูงสุด 6 เดือน
กฎหมายสุดเข้มงวดนี้ไม่เพียงแต่สร้างความตกใจในกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่ยังส่งแรงกระเพื่อมไปถึงภาคการท่องเที่ยวของอินโดนีเซียที่เป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศด้วย เพราะนอกจากจะมีผลกับชาวอินโดนีเซียทุกคนแล้ว ประมวลกฎหมายใหม่ยังบังคับใช้กับชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในอินโดนีเซีย รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย
สำนักข่าว BBC รายงานว่า นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียบางคนบอกว่าพวกเขาจะเดินทางพร้อมกับทะเบียนสมรส ขณะที่อีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่แต่งงานบอกว่าจะไปท่องเที่ยวที่อื่นหากกฎหมายห้ามไม่ให้พวกเขาพักอยู่ในห้องเดียวกับคนรัก
ผู้ใช้โซเชียลมีเดียรายหนึ่งคอมเม้นต์ในกลุ่ม Bali Travel Community ว่า “ก็ติดสินบนไปเลยสิ” อีกรายหนึ่งบอกว่า “เป็นวิธีทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบาหลีที่ดีที่สุด”
อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวได้รับการบอกกล่าวว่าไม่ต้องกังวลมากเกินไป เนื่องจากตำรวจจะสอบสวนคดีก็ต่อเมื่อคนในครอบครัว อาทิ ผู้ปกครอง บุตร หรือคู่สมรสของผู้กระทำผิด แจ้งความเท่านั้น
ทว่า อันเดียส ฮาร์โซโน นักวิจัยอาวุโสจาก Human Rights Watch เผยกับสำนักข่าว ABC ของออสเตรเลียว่า นั่นก็มีอันตรายในตัวของมันเอง เนื่องจากเป็นการเปิดทางให้เกิดการเลือกบังคับใช้กฎหมาย “หมายความว่าจะบังคับใช้เฉพาะเป้าหมายบางคนเท่านั้น อาจจะเป็นโรงแรม อาจเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ...ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ตำรวจบางคนเรียกรับสินบน หรือเปิดโอกาสนักการเมืองบางคนใช้กฎหมายดูหมิ่นศาสนาจำคุกฝ่ายตรงข้าม”
ท่ามกลางความตกตะลึงของชาวต่างชาตินี้ อัลเบิร์ต แอรีส โฆษกกระทรวงยุติธรรมอินโดนีเซียพยายามคลายความกังวลโดยบอกว่านักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะคนที่จะแจ้งความต่อตำรวจส่วนใหญ่น่าจะเป็นคนอินโดนีเซีย
ขณะที่คำแนะนำการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยของกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของนิวซีแลนด์ในขณะนี้ออกคำแนะนำนักท่องเที่ยวชาวนิวซีแลนด์ว่าให้ทราบว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ของวัฒนธรรมและศาสนา “บางพื้นที่โดยเฉพาะอาเจะห์มีความอนุรักษนิยมสูงมาก และต้องประพฤติตามจริยธรรมสูงสุด มีการบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ในอาเจะห์ โดยนักท่องเที่ยวทุกคนที่เดินทางไปที่นั่นต้องประพฤติตนให้เหมาะสมและเคารพประเพณีของท้องถิ่น”
นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของนิวซีแลนด์ยังกำลังจับตาขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายใหม่ของอินโดนีเซีย และจะประเมินว่าควรจะเพิ่มคำแนะนำนักท่องเที่ยวชาวนิวซีแลนด์เพิ่มเติมหรือไม่
ด้าน ปูตู วินาสตรา ประธานสมาคมบริษัททัวร์และตัวแทนการท่องเที่ยวในบาหลี เผยกับ CNN ว่า “เราควรถาม (นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่แต่งงาน) ว่าพวกเขาแต่งงานหรือยังไหม คู่รักนักท่องเที่ยวต้องพิสูจน์ยืนยันการแต่งงานไหม”
ส่วนเมาลานา ยูสรัน รองประธานคณะกรรมการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอินโดนีเซียเผยว่า กฎหมายใหม่ขัดขวางความพยายามของอินโดนีเซียในการส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังการระบาดของโควิด-19 และการดึงดูดดิจิทัลนอแมดโดยสิ้นเชิง
บรรดากลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนมองว่า การแก้ไขกฎหมายนี้เน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การยึดมั่นคำสอนดั้งเดิม พยายามตีความคำสอนดั้งเดิมให้ตรงตามคำสอน มากขึ้นในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ซึ่งได้รับการยกย่องมาอย่างยาวนานในเรื่องการยอมรับความต่างทางศาสนา ซึ่งมีการนำแนวคิดโลกิยะนิยมมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ผู้ที่สนับสนุนกฎหมายใหม่นี้บอกว่าแม้จะมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 6 เดือน หรือ 1 ปี แต่ผู้ที่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีมีเพียงคู่สมรส ผู้ปกครอง หรือบุตรเท่านั้น แต่ เตาฟิก บาซารี สมาชิกสภานิติบัญญัติขงอินโดนีเซียเผยกับ The Guardian ว่า หากนักท่องเที่ยวในบาหลีมีเพศสัมพันธ์แบบยินยอมทั้งสองฝ่ายกับคนอินโดนีเซีย แล้วผู้ปกครองหรือบุตรชาวอินโดนีเซียแจ้งความต่อตำรวจ นักท่องเที่ยวคนนั้นจะถูกจับกุม
“ผมรู้ว่ามันจะกระทบกับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรอธิบายต่อสาธารณชนว่าการแจ้งความต่อตำรวจควรถูกจำกัดเฉพาะเรื่องที่ครอบครัวรู้สึกว่ามีความสำคัญจริงๆ ในฐานะสมาชิกสภาฯ ผมจะพยายามทำข้อจำกัดของการยังคับใช้กฎหมายมาตรานี้”
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายอินโดนีเซียอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการบังคับใช้
ภายใต้กฎหมายใหม่นี้ คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กันก่อนแต่งงานมีโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี และคู่รักที่ใช้ชีวิตอยู่กินด้วยกันก่อนแต่งงานมีโทษจำคุกสูงสุด 6 เดือน
กฎหมายสุดเข้มงวดนี้ไม่เพียงแต่สร้างความตกใจในกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่ยังส่งแรงกระเพื่อมไปถึงภาคการท่องเที่ยวของอินโดนีเซียที่เป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศด้วย เพราะนอกจากจะมีผลกับชาวอินโดนีเซียทุกคนแล้ว ประมวลกฎหมายใหม่ยังบังคับใช้กับชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในอินโดนีเซีย รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย
สำนักข่าว BBC รายงานว่า นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียบางคนบอกว่าพวกเขาจะเดินทางพร้อมกับทะเบียนสมรส ขณะที่อีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่แต่งงานบอกว่าจะไปท่องเที่ยวที่อื่นหากกฎหมายห้ามไม่ให้พวกเขาพักอยู่ในห้องเดียวกับคนรัก
ผู้ใช้โซเชียลมีเดียรายหนึ่งคอมเม้นต์ในกลุ่ม Bali Travel Community ว่า “ก็ติดสินบนไปเลยสิ” อีกรายหนึ่งบอกว่า “เป็นวิธีทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบาหลีที่ดีที่สุด”
อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวได้รับการบอกกล่าวว่าไม่ต้องกังวลมากเกินไป เนื่องจากตำรวจจะสอบสวนคดีก็ต่อเมื่อคนในครอบครัว อาทิ ผู้ปกครอง บุตร หรือคู่สมรสของผู้กระทำผิด แจ้งความเท่านั้น
ทว่า อันเดียส ฮาร์โซโน นักวิจัยอาวุโสจาก Human Rights Watch เผยกับสำนักข่าว ABC ของออสเตรเลียว่า นั่นก็มีอันตรายในตัวของมันเอง เนื่องจากเป็นการเปิดทางให้เกิดการเลือกบังคับใช้กฎหมาย “หมายความว่าจะบังคับใช้เฉพาะเป้าหมายบางคนเท่านั้น อาจจะเป็นโรงแรม อาจเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ...ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ตำรวจบางคนเรียกรับสินบน หรือเปิดโอกาสนักการเมืองบางคนใช้กฎหมายดูหมิ่นศาสนาจำคุกฝ่ายตรงข้าม”
ท่ามกลางความตกตะลึงของชาวต่างชาตินี้ อัลเบิร์ต แอรีส โฆษกกระทรวงยุติธรรมอินโดนีเซียพยายามคลายความกังวลโดยบอกว่านักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะคนที่จะแจ้งความต่อตำรวจส่วนใหญ่น่าจะเป็นคนอินโดนีเซีย
ขณะที่คำแนะนำการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยของกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของนิวซีแลนด์ในขณะนี้ออกคำแนะนำนักท่องเที่ยวชาวนิวซีแลนด์ว่าให้ทราบว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ของวัฒนธรรมและศาสนา “บางพื้นที่โดยเฉพาะอาเจะห์มีความอนุรักษนิยมสูงมาก และต้องประพฤติตามจริยธรรมสูงสุด มีการบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ในอาเจะห์ โดยนักท่องเที่ยวทุกคนที่เดินทางไปที่นั่นต้องประพฤติตนให้เหมาะสมและเคารพประเพณีของท้องถิ่น”
นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของนิวซีแลนด์ยังกำลังจับตาขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายใหม่ของอินโดนีเซีย และจะประเมินว่าควรจะเพิ่มคำแนะนำนักท่องเที่ยวชาวนิวซีแลนด์เพิ่มเติมหรือไม่
ด้าน ปูตู วินาสตรา ประธานสมาคมบริษัททัวร์และตัวแทนการท่องเที่ยวในบาหลี เผยกับ CNN ว่า “เราควรถาม (นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่แต่งงาน) ว่าพวกเขาแต่งงานหรือยังไหม คู่รักนักท่องเที่ยวต้องพิสูจน์ยืนยันการแต่งงานไหม”
ส่วนเมาลานา ยูสรัน รองประธานคณะกรรมการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอินโดนีเซียเผยว่า กฎหมายใหม่ขัดขวางความพยายามของอินโดนีเซียในการส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังการระบาดของโควิด-19 และการดึงดูดดิจิทัลนอแมดโดยสิ้นเชิง
บรรดากลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนมองว่า การแก้ไขกฎหมายนี้เน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การยึดมั่นคำสอนดั้งเดิม พยายามตีความคำสอนดั้งเดิมให้ตรงตามคำสอน มากขึ้นในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ซึ่งได้รับการยกย่องมาอย่างยาวนานในเรื่องการยอมรับความต่างทางศาสนา ซึ่งมีการนำแนวคิดโลกิยะนิยมมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ผู้ที่สนับสนุนกฎหมายใหม่นี้บอกว่าแม้จะมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 6 เดือน หรือ 1 ปี แต่ผู้ที่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีมีเพียงคู่สมรส ผู้ปกครอง หรือบุตรเท่านั้น แต่ เตาฟิก บาซารี สมาชิกสภานิติบัญญัติขงอินโดนีเซียเผยกับ The Guardian ว่า หากนักท่องเที่ยวในบาหลีมีเพศสัมพันธ์แบบยินยอมทั้งสองฝ่ายกับคนอินโดนีเซีย แล้วผู้ปกครองหรือบุตรชาวอินโดนีเซียแจ้งความต่อตำรวจ นักท่องเที่ยวคนนั้นจะถูกจับกุม
“ผมรู้ว่ามันจะกระทบกับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรอธิบายต่อสาธารณชนว่าการแจ้งความต่อตำรวจควรถูกจำกัดเฉพาะเรื่องที่ครอบครัวรู้สึกว่ามีความสำคัญจริงๆ ในฐานะสมาชิกสภาฯ ผมจะพยายามทำข้อจำกัดของการยังคับใช้กฎหมายมาตรานี้”
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายอินโดนีเซียอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการบังคับใช้