เลือกตั้งยังไงไม่ต้อง ‘กา’ เครื่องไฮเทคที่ไทยไม่เอามาใช้

12 พ.ค. 2566 - 06:59

  • เลือกตั้งแบบ Electronic Voting Machines (EVM) คืออะไร? ไฮเทคยังไง?

  • ส่องข้อดี VS ข้อเสียของระบบเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ที่บางประเทศก็บอกว่าดี แต่หลายๆ ประเทศก็แบนห้ามใช้ไปเลย

What-is-electronic-voting-machine-evm-election-voter-SPACEBAR-Thumbnail
เคยสงสัยไหมว่าประเทศอื่นๆ หลายประเทศไม่ต้องมาเสียเวลากากบาทบนบัตรเลือกตั้งอีกต่อไปแล้วไม่ว่าจะเป็นบราซิล เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา เบลเยียม แคนาดา อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้จะใช้ระบบเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Voting Machines (EVM)) แทน ซึ่งเป็นเครื่องที่ช่วยทั้งการลงคะแนนและนับคะแนนอีกด้วย 

แต่ถึงจะทันสมัยขนาดนั้น EVM ก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้ทุกประเทศ ประเทศที่ไม่ใช้ เช่น ไทย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐฯ  

แล้ว EVM ที่ว่านี้มันคืออะไรและใช้ยังไง และมีข้อดีข้อเสียยังไง? ทำไมหลายๆ ประเทศก็ไม่เลือกที่จะนำมาใช้ในการเลือกตั้ง 

ระบบลงคะแนน ‘EVM’ คืออะไร?

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2Srfh1dk4QohwRDkpwqAfO/d509c6cd5ee94b191b6ee47f1e8fe0fe/What-is-electronic-voting-machine-evm-election-voter-SPACEBAR-Photo01
เครื่องลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์ (EVM) เป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม มีชื่อเสียงอย่างมากจากการใช้งานในประเทศอินเดียที่เริ่มใช้สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นปี 1977 ซึ่งเป็นระบบที่เข้ามาแทนที่บัตรลงคะแนนแบบเก่า 

เครื่อง EVM จะช่วยให้ผู้ลงคะแนนเสียงลงคะแนนให้กับผู้สมัครที่ตัวเองเลือกหรือจะเลือก ‘NOTA’ (ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีแคนดิเดตคนไหนเหมาะสม) ก็ได้ แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนจำเป็นต้องรู้ว่า EVM ทำงานอย่างไร 

ทั้งนี้ เครื่อง EVM จะระบุสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งในท้องถิ่นที่เป็นตัวแทนในเครื่อง EVM ซึ่งมันไม่เหมือนกับกระบวนการลงคะแนนเสียงในอดีตตรงที่ไม่ต้องใช้กล่องลงคะแนน แต่เสนอทางเลือกให้เพียงแค่ ‘กดปุ่ม’ เท่านั้น 

EVM มี 2 หน่วยคือ หน่วยควบคุมและหน่วยลงคะแนน ในขณะที่หน่วยควบคุมจะอยู่กับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยลงคะแนน ส่วนหน่วยลงคะแนนจะอยู่ภายในช่องลงคะแนน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3LOUlk5QEHKLlTEWgHA8ay/c8c5a447f91e88952ee262a5499d838a/What-is-electronic-voting-machine-evm-election-voter-SPACEBAR-Photo02
Photo: หน่วยลงคะแนน (ซ้าย) หน่วยควบคุม (ขวา) (Wikipedia / Jayeshj)
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งที่รับผิดชอบหน่วยควบคุมจะกดปุ่มบัตรลงคะแนนที่จัดเตรียมไว้บนหน่วยควบคุมเพื่อออกบัตรลงคะแนนให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งช่วยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนได้ด้วยการกดปุ่ม ‘ผู้สมัคร’ (ปุ่มสีน้ำเงิน) บนหน่วยลงคะแนนเสียง 

อย่างไรก็ดี การลงคะแนนเสียงด้วยเครื่อง EVM ได้กลายเป็นพื้นที่การต่อสู้ทางการเมืองด้วยข้อกล่าวหาว่าเครื่องกลดังกล่าวนั้นถูกดัดแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงในหมู่พรรคการเมือง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5xg9yxL69RMvgfjAg0cuXl/fa9f7ea5ee2211a1d93bb86c5f9b7386/What-is-electronic-voting-machine-evm-election-voter-SPACEBAR-Photo03
Photo: NARINDER NANU / AFP
เขตเลือกตั้งบางแห่งจึงใช้การยืนยันความโปร่งใสด้วยเครื่อง ‘VVPAT’ ซึ่งใช้พิมพ์ผลการเลือกตั้งเป็นกระดาษเพื่อตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยวิธีนี้ช่วยให้ผู้ลงคะแนนตรวจสอบว่าผลโหวตของพวกเขาถูกต้องหรือไม่ 

เมื่อทำการโหวตแล้ว ไฟสีแดงดวงเล็กๆ ของเครื่อง EVM จะส่องกระทบกับชื่อและสัญลักษณ์ของผู้สมัครที่ได้รับการลงคะแนนเสียง ในขณะเดียวกันเราจะได้ยินเสียงบี๊บยาวเพื่อยืนยันการลงคะแนนเสียงด้วย ซึ่งเป็นอันว่าเสร็จกระบวนการโหวต 

สรุปขั้นตอนการลงคะแนนเสียงแบบ EVM ง่ายๆ ดังนี้ 
    ขั้นที่ 1: ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าไปในคูหาเลือกตั้ง จากนั้นเจ้าหน้าที่ควบคุมจะเปิดใช้งานหน่วยลงคะแนน 
     ขั้นที่ 2: ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องกดปุ่มสีน้ำเงินที่ตนเลือกให้ตรงกับสัญลักษณ์และชื่อผู้สมัคร 
     ขั้นที่ 3: หลังจากกดปุ่ม ไฟสีแดงจะสว่างขึ้น และจะมีเสียงบี๊บยาว 
     ขั้นที่ 4: ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเห็นใบลงคะแนนที่พิมพ์ออกมาซึ่งแสดงผลโหวตที่เลือกและยืนยันการลงคะแนนเสียง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7HALn9yvkLLKhsSuf7ThIO/9e7747110b5c403f4bac099efb77e2f2/What-is-electronic-voting-machine-evm-election-voter-SPACEBAR-Photo04
Photo: Facebook: เครื่องลงคะแนนเลือกตั้ง
ถ้าถามว่าประเทศไทยมีเครื่อง EVM ไหม? ตอบเลยว่า ‘มี’ แต่แค่ยังไม่ได้เอาออกมาใช้กับการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองและศึกษาการใช้ระบบอยู่นั่นเอง 

ปัจจุบันยังคงมีการนำไปสาธิตและทดลองใช้จริง ซึ่งมีทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ขอยืมไปใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้งจริงแล้ว เช่น การเลือกตั้งนายกองค์กรนิสิตนักศึกษา การเลือกตั้งประธานนักเรียน หรือแม้แต่การเลือกตั้งกรรมการสหกรณ์ 

ข้อดี VS ข้อเสียของ ‘EVM’

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/25QPiTQY9ezu6AyTHdC4ic/794a516488079668af97f02d153ad8c0/What-is-electronic-voting-machine-evm-election-voter-SPACEBAR-Photo05
ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบ EVM ซึ่งพวกเขาเองก็มองว่าประหยัดเวลาและสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยแก้ปัญหาในอินเดียที่ต้องใช้เวลาในการจัดการเลือกตั้งหลายวันอีกด้วย 

ข้อดี:
  • EVM เหล่านี้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน เนื่องจากมีระบบสำรองแบตเตอรี่อยู่แล้ว การเลือกตั้งจึงสามารถทำได้ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 
  • รักษ์โลก ลดการใช้กระดาษ 
  • ไม่มีบัตรเสีย 
  • ประหยัดเวลาช่วยทำให้การลงคะแนนและนับคะแนนรวดเร็วแม่นยำ 
  • ลดขั้นตอนความยุ่งยาก 
  • ใน 1 นาที มีเพียง 5 คนเท่านั้นที่สามารถลงคะแนนใน EVM 
  • ผู้พิการทางสายตาสามารถลงคะแนนได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ 
  • มีปุ่ม NOTA ใน EVM ที่ใครๆ ก็สามารถกดลงคะแนนเสียง ‘ไม่ตรงกับข้อใดเลย’ ที่แสดงว่าไม่มีผู้สมัครที่เหมาะสม 
  • ทราบผลเลือกตั้งได้ทันทีเมื่อปิดการลงคะแนน 
  • สามารถพกพาและขนส่งเครื่อง EVM จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ง่ายกว่าโดยไม่ยุ่งยาก
ข้อเสีย:
เป็นที่น่าแปลกใจมากว่าความทันสมัยของเทคโนโลยี EVM กลับไม่ได้รับความนิยมในหลายประเทศเช่นเดียวกันด้วยเหตุผลในเรื่องของความปลอดภัย ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือ แม้แต่บางประเทศที่พัฒนาแล้วก็ไม่พึ่งพาเทคโนโลยีของ EVM 

และอาจด้วยเหตุผลที่ประเทศส่วนใหญ่ก็คิดว่ามันมีข้อเสียมากกว่าข้อดีเสียอีก 
  • ค่าใช้จ่ายสูง 
  • มีความเสี่ยงในการเชื่อมอินเทอร์เน็ต หากอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร 
  • เครื่องขัดข้องได้ง่าย 
  • เครื่องลงคะแนนในปัจจุบันมีกลไกล้าสมัยและมีราคาแพงมากในการซ่อมหรือเปลี่ยน 
  • บางประเทศอย่างเนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ระบุว่า ‘ขาดความโปร่งใส’ 
  • ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเสี่ยงต่อการโจมตีของแฮ็กเกอร์ และอาจแก้ไขการนับคะแนนได้อย่างง่ายดาย 
  • หากเครื่องมีไวรัสแค่เพียงตัวเดียวก็สามารถทำลายที่จัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้  
แล้วคุณล่ะคิดยังไง? คุณคิดว่าเครื่อง EVM มีประสิทธิภาพมากพอที่จะนำมาใช้เลือกตั้งในประเทศไทยไหม? และคุณอยากเลือกตั้งแบบนี้หรือเปล่า? 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์