ทรัมป์จะจัดการยังไงหากปูตินเล่นตุกติกปฏิเสธดีล ‘หยุดยิง’ กับยูเครน

13 มี.ค. 2568 - 10:01

  • สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ดำเนินเข้าสู่ปีที่ 3 จะได้ดำเนินการ ‘หยุดยิง’ ตามที่สหรัฐฯ และยูเครนตกลงกันไว้หรือไม่นั้น ทั้งหมดนี้็ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูตินแล้วล่ะ

  • แน่นอนว่าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ยกหูคุยกับปูตินในสัปดาห์นี้ ทรัมป์จะต้องพูดถึงความเสี่ยงที่ปูตินจะต้องเผชิญ หากปูตินปฏิเสธที่จะ ‘หยุดยิง’

what-will-trump-do-if-russia-says-no-to-a-ceasefire-SPACEBAR-Hero.jpg

“ตอนนี้ลูกบอลอยู่ในมือของปูตินแล้ว”

สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ดำเนินเข้าสู่ปีที่ 3 จะได้ดำเนินการ ‘หยุดยิง’ ตามที่สหรัฐฯ และยูเครนตกลงกันไว้หรือไม่นั้น ทั้งหมดนี้็ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูตินแล้วล่ะ 

เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา คณะผู้แทนจากยูเครน และรัฐมนตรีจากสหรัฐฯ ได้เจรจาต่อรองกันถึงข้อตกลง ‘สันติภาพ’ ที่สุดท้ายแล้วจบลงที่ยูเครนยอม ‘หยุดยิง 30 วัน’ รวมถึงปล่อยตัวนักโทษชาวยูเครน และส่งตัวเด็กๆ ชาวยูเครนกลับคืนมา ทว่าจนถึงขณะนี้ ปูตินก็ยังไม่ได้แสดงสัญญาณใดๆ ว่าเขาเต็มใจที่จะตกลงหยุดยิง ทั้งยังสั่งให้กองกำลังของเขาเดินหน้าทิ้งระเบิดในยูเครนต่ออีกด้วย 

ในเวลานี้ ปูตินกำลังเผชิญกับสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ดังเช่นที่ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เคยกล่าวไว้ว่า “หากรัสเซียไม่ตกลงตามข้อตกลงหยุดยิง เราจะรู้ว่าใครคือ ‘อุปสรรคต่อสันติภาพ’” 

แน่นอนว่าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ยกหูคุยกับปูตินในสัปดาห์นี้ ทรัมป์จะต้องพูดถึงความเสี่ยงที่ปูตินจะต้องเผชิญ หากปูตินปฏิเสธที่จะ ‘หยุดยิง’ 

ความสัมพันธ์ทางการทูตที่ปูตินใฝ่หาจะ ‘หยุดชะงัก’ ต่อไป

what-will-trump-do-if-russia-says-no-to-a-ceasefire-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: (Photo by Brendan Smialowski / AFP)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในสิ่งที่ปูตินอยากได้กลับมาก็คือ ‘ความสัมพันธ์ทางการทูต’ ซึ่งทรัมป์เองก็แสดงความเต็มใจที่จะช่วยให้รัสเซียได้กลับมาสานสัมพันธ์ทางการทูต และมีส่วนร่วมในโครงการเศรษฐกิจร่วมกันมากมาย แต่มีเงื่อนไขว่า ‘ต้องหยุดยิง 30 วัน’ 

ที่ผ่านมา ปูตินเคยมองว่าการมีทหารนาโตอยู่บริเวณชายแดนรัสเซียเป็นการดูหมิ่นที่เขายอมรับไม่ได้ จึงมีข้อเสนอแนะในข้อตกลงสันติภาพว่า ทรัมป์อาจถอนทหารสหรัฐฯ จำนวน 30,000 นายออกจากยุโรป ซึ่งจะทำให้รัสเซียได้มีพื้นที่หายใจมากขึ้น และแน่นอนว่าทรัมป์จะทำ หากปูตินเต็มใจที่จะเดินหน้า ‘เพื่อสันติภาพ’   

นอกจากนี้ ทรัมป์ยังสามารถช่วยให้รัสเซียได้รับการยอมรับอีกครั้งในการเข้าร่วม ‘G7’ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก และฟอรัมการทูตอื่นๆ โดยมีเงื่อนไขว่า ‘ต้องหยุดยิงโดยเร็ว’ 

สำหรับปูติน การหยุดการสู้รบเป็นเวลา 30 วัน อาจเป็นช่วงเวลาที่เขาไม่น่าจะปรับทิศทางสนามรบได้อย่างแท้จริง เรียกได้ว่าอาจเป็นยาขมที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเพราะต้องแลกกับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย-สหรัฐฯ ซึ่งเราอาจจินตนาการได้ว่าทรัมป์จะเสนอโครงการทางการทูตและเศรษฐกิจทั้งหมดแก่ผู้นำรัสเซีย รวมถึงการพัฒนาอาร์กติกร่วมกัน  

มาตรการคว่ำบาตรจะ ‘เข้มงวด’ มากขึ้นกว่าเดิม

‘มาตรการคว่ำบาตร’ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ปูตินต้องการผ่อนปรน แน่นอนว่าทรัมป์จะต้องเสนอเงื่อนไขนี้ให้เขา แต่ต้องแลกกับการหยุดยิง 

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทรัมป์ได้แสดงความผิดหวังครั้งแรกต่อรัสเซีย พร้อมขู่ว่าสหรัฐฯ พร้อมที่จะคว่ำบาตรรัสเซียอีกครั้ง หากยังคง ‘โจมตี’ ยูเครนต่อไปในขณะที่สหรัฐฯ พยายามแสวงหาสันติภาพ 

แม้สหรัฐฯ จะเพิ่มมาตรการอย่างเข้มงวดต่ออุตสาหกรรมของรัสเซีย ทว่านั่นกลับทำให้ดุลการค้าของสหรัฐฯ ลดลงมากกว่าครึ่งจาก 337,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 11 ล้านล้านบาท) เป็น 151,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.1 ล้านล้านบาท) เนื่องจากข้อจำกัดที่มีอยู่ต่ออุตสาหกรรมพลังงาน เหมืองแร่ และสินค้าฟุ่มเฟือย แต่สหรัฐฯ อาจใช้มาตรการคว่ำบาตรทางอ้อมกับประเทศต่างๆ ที่ช่วยให้รัสเซียหลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าวได้จนถึงขณะนี้ เช่น อินเดีย ซึ่งซื้อน้ำมันจากรัสเซียไปแล้ว 

ในทางกลับกัน ทรัมป์อาจกำหนดเงื่อนไข ‘ยกเลิก’ การคว่ำบาตรพลังงานของรัสเซีย ซึ่งเป็นความต้องการหลักของปูติน โดยต้องแลกกับการหยุดยิง 30 วัน “หากหยุดสู้รบ เราก็สามารถเริ่มพูดคุยกันได้ทันที” ทรัมป์ กล่าว  

ยูเครนอาจได้รับการสนับสนุนทางทหารแข็งแกร่งกว่าเดิม

what-will-trump-do-if-russia-says-no-to-a-ceasefire-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: (Photo by Handout / 65th Mechanized Brigade of Ukrainian Armed Forces / AFP)

แหล่งประโยชน์สุดท้ายของสหรัฐฯ คือ ‘อาวุธและการสนับสนุนทางทหารสำหรับยูเครน’ ทั้งนี้ พบว่า หลังจากที่ทรัมป์ตัดสินใจระงับการช่วยเหลือยูเครน และระงับข่าวกรองเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม กองกำลังของปูตินก็เคลื่อนพลอย่างรวดเร็วในแคว้นคูสค์ แต่ภายหลังการเจรจาที่เมืองเจดดาห์เมื่อวันที่ 11 มี.ค. สหรัฐฯ ก็กลับมาดักฟังอีกครั้ง 

ทรัมป์อาจพูดว่า “นี่คือโอกาสของคุณ คว้าเอาไว้ ไม่เช่นนั้น คุณจะไม่มีวันได้โอกาสที่ดีกว่านี้”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์