ใครจะได้เป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อไป? เปิด 7 ตัวเต็งผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากโป๊ปฟรานซิส

27 เม.ย. 2568 - 00:00

  • ใครจะเป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อไป? การตัดสินใจครั้งนี้จะส่งผลอย่างมากต่อคริสตจักรนิกายโรมันคาธอลิก 1.4 พันล้านคนทั่วโลก

  • SPACEBAR พาไปดูรายชื่อพระคาร์ดินัลบางส่วนที่เป็น ‘ตัวเต็ง’ อาจได้เป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อไป

who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Hero.jpg

ใครจะเป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อไป?

การตัดสินใจครั้งนี้จะส่งผลอย่างมากต่อคริสตจักรนิกายโรมันคาธอลิก (ที่รับศีลล้างบาปมาแล้ว) 1.4 พันล้านคนทั่วโลก อีกทั้งการคาดเดาผลของการประชุมลับสุดยอดก็แทบจะคาดเดาไม่ได้  

ตามธรรมเนียมแล้ว ชายโรมันคาธอลิกทุกคนสามารถถูกรับเลือกเป็นพระสันตะปาปาได้โดยที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุในการดำรงตำแหน่ง แต่ตั้งแต่ปี 1379 เป็นต้นมา ก็เริ่มมีการเลือกพระคาร์ดินัลให้ดำรงตำแหน่งนี้  

SPACEBAR พาไปดูรายชื่อพระคาร์ดินัลบางส่วนที่เป็น ‘ตัวเต็ง’ อาจได้เป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อไป 

1. เปียโตร ปาโรลิน, อิตาลี, วัย 70 ปี

who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: Shutterstock / Marco Iacobucci Epp

‘เปียโตร ปาโรลิน’ พระคาร์ดินัลเลขาธิการรัฐที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของวาติกันตั้งแต่ปี 2013 ถูกมองว่าเป็น ‘ผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อเนื่อง’ ที่ค่อนข้างเป็นกลาง และสนิทสนมกับพระสันตะปาปาฟรานซิส พระคาร์ดินัลปาโรลินมีบทบาทสำคัญในกิจการการทูต รวมถึงการเจรจาประเด็นละเอียดอ่อนกับจีนและรัฐบาลในตะวันออกกลาง 

พระคาร์ดินัลปาโรลินได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ตัวแทนของพระสันตะปาปา’ ที่เชื่อถือได้และเป็นที่ไว้วางใจจากนักการทูตฆราวาส นักวิจารณ์ของพระคาร์ดินัลปาโรลินมองว่าท่านเป็นคนทันสมัยและเป็นนักปฏิบัตินิยมที่ให้ความสำคัญกับอุดมการณ์และแนวทางแก้ปัญหาทางการทูตมากกว่าความจริงอันโหดร้ายของศาสนา ขณะที่ผู้สนับสนุนของพระคาร์ดินัลปาโรลินต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าท่านเป็นผู้มีอุดมการณ์ที่กล้าหาญและเป็นนักสันติภาพตัวยง  

2. หลุยส์ อันโตนิโอ โกคิม ทาเกล, ฟิลิปปินส์, วัย 67 ปี

who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: Shutterstock / Marco Iacobucci Epp

‘หลุยส์ อันโตนิโอ โกคิม ทาเกล’ อดีตอาร์ชบิชอปแห่งมะนิลา พระคาร์ดินัลผู้เป็นหัวหน้าคณะเผยแผ่ศาสนาแห่งประชาชน เป็นผู้มีความเป็นกลางตามนิยามของนิกายคาธอลิกจนได้ชื่อว่าเป็น ‘ฟรานซิสแห่งเอเชีย’  

ครั้งหนึ่ง พระคาร์ดินัลทาเกลเคยถูกมองว่าเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งที่พระสันตะปาปาฟรานซิสโปรดปรานและเป็นผู้ท้าชิงที่แข็งแกร่งในการสานต่อวาระแห่งความก้าวหน้าของพระสันตะปาปาผู้ล่วงลับ 

พระคาร์ดินัลทาเกลเคยคัดค้านสิทธิในการทำแท้ง โดยบอกว่าสิทธิดังกล่าวเป็น ‘รูปแบบหนึ่งของการฆาตกรรม’ ซึ่งสอดคล้องกับจุดยืนของคริสตจักรที่ว่า “ชีวิตเริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิ” นอกจากนี้ ท่านยังเรียกร้องคริสตจักรว่าจุดยืนต่อกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน คนหย่าร้าง และคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวนั้น ‘เข้มงวด’ มากเกินไป  

3. ปีเตอร์ โคดโว อัปเปียห์ เติร์กสัน, กานา, วัย 76 ปี

who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo: Wikipedia / Richter Frank-Jurgen

พระคาร์ดินัลชาวกานาแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาธอลิก ‘ปีเตอร์ โคดโว อัปเปียห์ เติร์กสัน’ เป็นอธิการบดีของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ปี 2022 และเป็นชาวกานาคนแรกที่ได้เป็นพระคาร์ดินัลในปี 2003 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 

พระคาร์ดินัลเติร์กสันแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในประเด็นต่างๆ เช่น วิกฤตสภาพอากาศ ความยากจน และความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในปี 2023 พระคาร์ดินัลเติร์กสันได้ย้ำจุดยืนถึงประเด็น ‘คนรักเพศเดียวกัน’ ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้แปลกแยกไปจากสังคมกานา 

หากพระคาร์ดินัลเติร์กสันได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาองค์ใหม่ ท่านจะเป็นพระสันตะปาปาผิวสีพระองค์แรกในรอบหลายศตวรรษ และเป็นพระสันตะปาปาชาวแอฟริกันคนแรกในรอบ 1,500 ปี 

4. ปีเตอร์ เออร์โด, ฮังการี, วัย 72 ปี

who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Photo04.jpg
Photo: Wikipedia / Thaler Tamás - Thaler Tamás

พระคาร์ดินัลชาวฮังการีแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาธอลิก ‘ปีเตอร์ เออร์โด’ ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งเอสซ์เตอร์กอม-บูดาเปสต์และเจ้าคณะแห่งฮังการีตั้งแต่ปี 2003  

เป็นที่เลื่องลือกันว่าพระคาร์ดินัลเออร์โดเป็นผู้ที่มีความศรัทธาในพระแม่มารีเป็นพิเศษ และเป็นผู้เปลี่ยนแปลงแนวทางของพระสันตะปาปาฟรานซิสครั้งใหญ่ ทั้งยังได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็น ‘ผู้มีปัญญาชนผู้ยิ่งใหญ่’ และเป็น ‘ผู้รอบรู้ด้านวัฒนธรรม’ 

พระคาร์ดินัลเออร์โดเติบโตมาภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์ มีชื่อเสียงในเรื่องความกระตือรือร้นในการเผยแผ่ศาสนา เป็นคนหัวอนุรักษนิยมในประเด็นต่างๆ มักจะคัดค้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน และคนหย่าร้างที่แต่งงานใหม่ 

5. ฟรีโดลิน อัมบงโก เบซุงกู, คองโก, วัย 65 ปี

who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Photo05.jpg
Photo: Wikipedia / François-Régis Salefran

‘ฟรีโดลิน อัมบงโก เบซุงกู’ พระราชาคณะคาธอลิกแห่งคองโกที่ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งกินชาซาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และประธานสมาคมบิชอปคาธอลิกแห่งแอฟริกา เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกล่าวถึงว่าอาจเป็นพระสันตะปาปาผิวสีพระองค์แรก 

พระคาร์ดินัลเบซุงกูมีความเชื่อมั่นอย่างมั่นคง รวมถึงมีศรัทธาอันแรงกล้าในแอฟริกาและสิ่งที่ทวีปนี้สามารถมอบให้กับคริสตจักรและโลกได้    

พระคาร์ดินัลเบซุงกูได้ชื่อว่าเป็นผู้อนุรักษนิยมที่ ‘คัดค้าน’ การให้พรแก่ ‘คู่รักเพศเดียวกัน’ แม้ว่าพระสันตะปาปาฟรานซิสจะทรงรับรองก็ตาม “สหภาพแรงงานของเพศเดียวกันนั้นขัดต่อบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและเป็นความชั่วร้าย” พระคาร์ดินัลเบซุงกู กล่าว 

6. แมตเตโอ ซุปปี, อิตาลี, วัย 69 ปี

who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Photo06.jpg
Photo: Shutterstock / GIO_LE

‘แมตเตโอ ซุปปี’ บาทหลวงชาวอิตาลีผู้ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งโบโลญญาตั้งแต่ปี 2015 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลโดยพระสันตะปาปาฟรานซิสในปี 2019 ถือเป็น ‘กลุ่มหัวก้าวหน้า’ ของคริสตจักร และคาดว่าจะสืบสานมรดกของพระสันตะปาปาฟรานซิสได้ด้วยแนวคิดการแบ่งปันความห่วงใยต่อผู้ยากไร้และผู้ถูกละเลย 

พระคาร์ดินัลซุปปีเป็นที่รู้จักจากการขี่จักรยานไปรอบๆ เมืองโบโลญญา เป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมจากการทำงานเพื่อผู้ยากไร้มาหลายทศวรรษ ค่อนข้างมีแนวคิดเสรีนิยมและเปิดกว้างต้อนรับคู่รักเพศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการต้อนรับผู้อพยพและชาวคาทอลิกที่เป็นเกย์เข้าสู่คริสตจักรอีกด้วย 

พระสันตะปาปาฟรานซิสเคยแต่งตั้งให้เป็น ‘ทูตสันติภาพของวาติกัน’ มานานกว่า 3 ทศวรรษ รวมถึงทำหน้าที่เป็นทูตสันติภาพพิเศษสำหรับยูเครน และเคยเดินทางไปเยือนรัสเซียในฐานะ ‘ผู้ส่งเสริมการแสดงออกถึงมนุษยธรรม’  

7. มาริโอ เกรช, มอลตา, วัย 68 ปี

who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Photo08.jpg
Photo: Shutterstock / Simon Roughneen

‘มาริโอ เกรช’ พระราชาคณะคาทอลิกแห่งมอลตาที่ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของสภาสังฆราช ตั้งแต่ปี 2020 ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งโกโซตั้งแต่ปี 2005-2019 และเป็นรองเลขาธิการของสภาสังฆราชตั้งแต่ปี 2019-2020 กระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลโดยพระสันตะปาปาฟรานซิสในปี 2020 

พระคาร์ดินัลเกรซถูกมองว่าเป็น ‘ผู้ยึดถือประเพณี’ แต่ก็เปิดรับมุมมองที่ก้าวหน้ามากขึ้น ท่านเป็นหนึ่งในผู้ที่เรียกร้องให้คริสตจักรนิกายโรมันคาธอลิกยอมรับคู่สามีภรรยาที่หย่าร้างและคู่รักที่เป็นเกย์  

นอกจากนี้ พระคาร์ดินัลเกรซแสดงออกอย่างเปิดเผยในการสนับสนุนผู้อพยพ และเรียกร้องให้ยุโรปจัดการกับปัญหาด้านมนุษยธรรม ทั้งยังวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำทางการเมืองในยุโรปที่พยายามจำกัดกิจกรรมขององค์กรนอกภาครัฐด้วย

info-who-will-be-the-next-pope-some-potential-candidates-to-succeed-francis-SPACEBAR-Hero.jpg
Photo: อินโฟกราฟฟิกโดย : พิชชิตา ธนภัทร์นพ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์