ออมรี มอร์เกนสเติร์น (Omri Morgenshtern) ซีอีโอของอโกด้า เขียนบทความลงในแพลตฟอร์ม Linkedin เกี่ยวกับการตั้งสำนักงานของอโกด้าในกรุงเทพฯ ว่า ตอนที่สตาร์ตอัพของเขาติดต่องานกับอโกด้าเมื่อปี 2013 ตัวเขาถามอโกด้าว่า “ศูนย์พัฒนาหลักของคุณอยู่ที่ไทยเหรอ แล้ววทำไมคนเราต้องทำงานในช่วงวันหยุดยาวด้วยล่ะ” แต่มอร์เกนสเติร์นก็ค้นพบในภายหลังว่า อโกด้ากลับค้นพบกับเพชรในตม และจนถึงวันนี้ ประเทศไทยคือหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อโกด้าประสบความสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา
มอร์เกนสเติร์นเล่าอีกว่า ตอนที่ โรเบิร์ต โรเซนสไตน์ (Robert Rosenstein) และไมเคิล เคนนี (Michael Kenny) ตั้งฮับของอโกด้าที่กรุงเทพฯ นั้นพวกเขาเดิมพันว่าการผสมผสานคนเก่งๆ ในท้องถิ่นกับความดึงดูดทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยจะทำให้พวกเขาเหนือกว่าคนอื่น อย่างน้อยก็ในช่วงเริ่มต้นของบริษัท
กลับมาที่ปี 2023 ซึ่งตอนนี้อโกด้าทีพนักงานราว 3,000 คนในประเทศไทย รวมถึงวิศวกรและฝ่ายผลิตภัณฑ์กว่า 1,500 คนในฮับด้านการปฏิบัติการที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดของเรา
มอร์เกนสเติร์นระบุว่า สิ่งที่ทำให้อโกด้าแตกต่างจากบริษัทเทคเจ้าอื่นๆ คือ ความมุ่งมั่นที่จะก้าวล้ำในเรื่องเทคโนโลยี คำว่า “ซิลิคอนวัลเลย์ในกรุงเทพฯ” ไม่ใช่คำที่ใช้กันบ่อยจนเฝือ นักพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และฝ่ายผลิตภัณฑ์ มาจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งบริษัทใหญ่ที่และมีชื่อเสียงอย่าง กูเกิล เมตา หรือแม้แต่โอเพนเอไอ
นอกจากนี้การอยู่ห่างไกลจากฮับด้านเทคโนโลยีหลักของซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก เทลอาวีฟ ลอนดอน และเบอร์ลินทำให้เกิดความรู้สึก ‘กลัวตกขบวน’ ที่ผลักดันให้พวกเราต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอด เราคือผู้ที่นำเทคโนโลยีฐานข้อมูลและเอไอมาใช้เป็นรายแรกๆ
มอร์เกนสเติร์นบอกว่า เคล็ดลับความสำเร็จของอโกด้าคือ กรุงเทพฯ และไม่มีที่ไหนเหมือนกรุงเทพฯ โดยให้เหตุผลไว้ว่า
1. ความสามารถพิเศษของคนไทยยอดเยี่ยมมาก กรุงเทพฯ ผลิตบัณฑิตที่ฉลาด กระตือรือร้น ต้องการเรียนรู้อยู่เสมอ ทั้งยังเต็มไปด้วยพลังและทำงานหนักเพื่อความสำเร็จซึ่งเราให้คุณค่าอย่างมาก เมื่อรวมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากทั่วทุกมุมโลกก็ยิ่งดีมากสำหรับอโกด้า ผลลัพธ์สุดท้ายคือ ทีมที่มีไดนามิกซึ่งเรียนรู้และพัฒนาอย่างรวดเร็ว
2. เบ้าหลอมรวมคนเก่งจากตะวันตกและตะวันออก ความหลากหลายทำให้เกิดความรู้และไอเดียที่ดีขึ้น และยิ่งหากคุณฉลาดมากพอที่จะจัดการได้อย่างถูกต้อง การปฏิบัติและผลลัพธ์ก็จะยิ่งดีขึ้น
3. ระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุน มอร์เกนสเติร์นได้ทำงานร่วมกับหลายองค์กรและหน่วยงานรัฐบาลที่อุทิศตัวเพื่อทำให้ประเทศไทยมั่งคั่งขึ้นและเป็นฮับด้านเทคโนโลยี การสร้างแรงจูงใจ การดึงดูด และการรักษาคนเก่งไปพร้อมๆ กับการสร้างโปรแกรมเพื่อพัฒนาทักษะและขับเคลื่อนนวัตกรรม
มอร์เกนสเติร์นสรุปว่า ด้วยการลงทุนอย่างแข็งแกร่งในยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านดิจิทัล 4.0 และชุมชนสตาร์ตอัพที่เติบโตสูง เงื่อนไขนี้จึงเหมาะสมที่สุดสำหรับการสร้างคลัสเตอร์ของนวัตกรรมและการเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศในด้านวิจัยและพัฒนา “ผมเชื่อว่าในอีกไม่กี่ปีกรุงทพฯ อาจได้รับการพูดถึงช่นเดียวกับซานฟรานซิสโก เทลอาวีฟ และเซี่ยงไฮ้ และผมก็แทบรอไม่ไหวแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น”
มอร์เกนสเติร์นเล่าอีกว่า ตอนที่ โรเบิร์ต โรเซนสไตน์ (Robert Rosenstein) และไมเคิล เคนนี (Michael Kenny) ตั้งฮับของอโกด้าที่กรุงเทพฯ นั้นพวกเขาเดิมพันว่าการผสมผสานคนเก่งๆ ในท้องถิ่นกับความดึงดูดทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยจะทำให้พวกเขาเหนือกว่าคนอื่น อย่างน้อยก็ในช่วงเริ่มต้นของบริษัท
กลับมาที่ปี 2023 ซึ่งตอนนี้อโกด้าทีพนักงานราว 3,000 คนในประเทศไทย รวมถึงวิศวกรและฝ่ายผลิตภัณฑ์กว่า 1,500 คนในฮับด้านการปฏิบัติการที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดของเรา
มอร์เกนสเติร์นระบุว่า สิ่งที่ทำให้อโกด้าแตกต่างจากบริษัทเทคเจ้าอื่นๆ คือ ความมุ่งมั่นที่จะก้าวล้ำในเรื่องเทคโนโลยี คำว่า “ซิลิคอนวัลเลย์ในกรุงเทพฯ” ไม่ใช่คำที่ใช้กันบ่อยจนเฝือ นักพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และฝ่ายผลิตภัณฑ์ มาจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งบริษัทใหญ่ที่และมีชื่อเสียงอย่าง กูเกิล เมตา หรือแม้แต่โอเพนเอไอ
นอกจากนี้การอยู่ห่างไกลจากฮับด้านเทคโนโลยีหลักของซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก เทลอาวีฟ ลอนดอน และเบอร์ลินทำให้เกิดความรู้สึก ‘กลัวตกขบวน’ ที่ผลักดันให้พวกเราต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอด เราคือผู้ที่นำเทคโนโลยีฐานข้อมูลและเอไอมาใช้เป็นรายแรกๆ
มอร์เกนสเติร์นบอกว่า เคล็ดลับความสำเร็จของอโกด้าคือ กรุงเทพฯ และไม่มีที่ไหนเหมือนกรุงเทพฯ โดยให้เหตุผลไว้ว่า
1. ความสามารถพิเศษของคนไทยยอดเยี่ยมมาก กรุงเทพฯ ผลิตบัณฑิตที่ฉลาด กระตือรือร้น ต้องการเรียนรู้อยู่เสมอ ทั้งยังเต็มไปด้วยพลังและทำงานหนักเพื่อความสำเร็จซึ่งเราให้คุณค่าอย่างมาก เมื่อรวมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากทั่วทุกมุมโลกก็ยิ่งดีมากสำหรับอโกด้า ผลลัพธ์สุดท้ายคือ ทีมที่มีไดนามิกซึ่งเรียนรู้และพัฒนาอย่างรวดเร็ว
2. เบ้าหลอมรวมคนเก่งจากตะวันตกและตะวันออก ความหลากหลายทำให้เกิดความรู้และไอเดียที่ดีขึ้น และยิ่งหากคุณฉลาดมากพอที่จะจัดการได้อย่างถูกต้อง การปฏิบัติและผลลัพธ์ก็จะยิ่งดีขึ้น
3. ระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุน มอร์เกนสเติร์นได้ทำงานร่วมกับหลายองค์กรและหน่วยงานรัฐบาลที่อุทิศตัวเพื่อทำให้ประเทศไทยมั่งคั่งขึ้นและเป็นฮับด้านเทคโนโลยี การสร้างแรงจูงใจ การดึงดูด และการรักษาคนเก่งไปพร้อมๆ กับการสร้างโปรแกรมเพื่อพัฒนาทักษะและขับเคลื่อนนวัตกรรม
มอร์เกนสเติร์นสรุปว่า ด้วยการลงทุนอย่างแข็งแกร่งในยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านดิจิทัล 4.0 และชุมชนสตาร์ตอัพที่เติบโตสูง เงื่อนไขนี้จึงเหมาะสมที่สุดสำหรับการสร้างคลัสเตอร์ของนวัตกรรมและการเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศในด้านวิจัยและพัฒนา “ผมเชื่อว่าในอีกไม่กี่ปีกรุงทพฯ อาจได้รับการพูดถึงช่นเดียวกับซานฟรานซิสโก เทลอาวีฟ และเซี่ยงไฮ้ และผมก็แทบรอไม่ไหวแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น”